Explore the Knowledge for Runner
หัวข้อต่อไปที่จะนำเสนอคือ ประวัติศาสตร์การวิ่ง อ่านแล้วดู วิชาการเหลือเกินนะคะ แต่จริงๆแล้วไม่น่าเบื่ออย่างที่คิดนะคะ จอยขอเสนอแบบมุมมองกว้างๆเท่านั้นแหละค่ะ เพื่อให้ได้ทราบกันคร่าวๆว่า การวิ่งนั้นไปยังไงมายังไง มีพัฒนาการมาแบบไหนบ้าง และ ณ ปัจจุบันนี้ เราวิ่งมาไกลกันขนาดไหนแล้ว และเรายืนอยู่ ณ จุดใดในปัจจุบันค่ะ
การวิ่งนับได้ว่าเป็นกีฬาที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีมาในมวลหมู่มนุษยชาติเลยนะคะ และการวิ่งระยะไกลเป็นหนึ่งในกิจกรรมทางกาย 2-3 อย่างที่พวกเราชาวมนุษย์สามารถทำได้ดีในระดับต้นของประเภทสัตว์ที่ต้องหากินอยู่บนผืนโลกนี้ ความจริงแล้ว ระหว่างเพื่อนๆสัตว์โลกที่ใช้ 2 ขาได้ มีแค่นกกระจอกเทศเท่านั้นที่วิ่งมาราธอนได้เร็วกว่ามนุษย์ คือ 45 นาที เมื่อเทียบกับสถิติสูงสุดของมนุษย์ที่ทำได้ที่เวลามากกว่า 2 ชั่วโมง และการแข่งขันระหว่างเพื่อนๆสัตว์ 4 เท้า จะมีแค่สุนัขลากเลื่อน อูฐ และละมั่งพรองฮอร์น (มันคืออะไรเนี่ย?!?) ที่วิ่งได้เร็วพอๆกันค่ะ
นักวิจัยบางคนถึงกับบอกว่าการวิ่งระยะไกลนี้เป็นตัวขับเคลื่อนวิวัฒนาการของมนุษย์เลยทีเดียว โดยดูจากการวิ่งสองขาเท้าเปล่าของมนุษย์ยุคออสตราโลพิเธคัสที่พบในทุ่งหญ้าสะวันน่า
และในป่าแอฟริกาเมื่อ 4 ล้านปีมาแล้ว ที่ใช้การวิ่งในเกมการล่าอาหารเพื่อประทังความหิวด้วยน้ำผลไม้ นก และปลวก!! เดี๋ยวนี้หาทานไม่ยากเลยนะคะ แต่จะทานมั๊ย?
แต่ด้วยความสัตย์จริงค่ะ ถึงแม้ว่าความเชี่ยวชาญในการวิ่งระยะไกลจะน่าชื่นชมเพียงไรก็ตาม แต่มันไม่ได้เป็นไปโดยธรรมชาติ เราสามารถแกะ
สมัยอียิปต์โบราณได้ ที่นั่นมีการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์โดยส่วนใหญ่ และเกิดขึ้นเมื่อ 100 ปีที่ผ่านมานี้เองที่นักวิ่งใช้การเดิน และการวิ่งเหยาะๆเป็นส่วนหนึ่งในการฝึก นักวิทยาศาสตร์ในยุคศตวรรษที่ 20 ได้หันความสนใจมาที่วิชาสรีระวิทยาการวิ่ง และการค้นพบของพวกเขาได้เปลี่ยนแปลงวงการกีฬาไปตลอดกาลค่ะ
ความรู้ในเรื่องประวัติของการวิ่งนั้นเป็นกุญแจสำคัญที่จะไขความเข้าใจโปรแกรมการฝึกวิ่งทั้งหมดที่คุณได้รู้จักมาค่ะ เพราะว่าอะไรก็ตามที่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการวิ่งจากสัตว์ชนิดอื่นที่ไม่ใช่มนุษย์ไม่สามารถนำมาใช้ได้ค่ะ เพราะอย่างไรก็ไม่ใช่วิวัฒนาการของมนุษย์ แต่ความรู้เหล่านั้นสามารถนำมาใช้สร้างความเชี่ยวชาญในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆเกี่ยวกับการวิ่งได้ต่างหากล่ะคะ
ในขณะที่มนุษย์เราถูกสร้างมาให้วิ่งได้ แต่เราไม่ได้เกิดมาเพื่อที่จะวิ่งได้ดีหรอกนะคะ และเราต้องมาเรียนรู้เพิ่มเติมต่างหากอีกว่า เราจะวิ่งให้ดีได้อย่างไร
จริงอยู่ว่าการรู้ประวัติของการวิ่งนั้นอาจเป็นความรู้เก่าๆ เรื่องเก่าๆ เรียนรู้ไปก็เท่านั้น แต่มันก็จะเป็นแผนที่บอกเราได้นะคะว่ามีเรื่องราวอะไรใหม่บ้าง อะไรเก่าบ้าง อะไรที่ยังใช้ได้ดีอยู่ และอะไรที่ใช้ไม่ได้แล้ว เราจะได้เลือกสรรสิ่งที่ยังใช้ได้ และมีประโยชน์จนถึงปัจจุบันมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุดยังไงล่ะคะ
ประวัติศาสตร์การวิ่งคืออะไร
ประวัติศาสตร์การวิ่งคือส่วนผสมของ 3 สิ่งต่อไปนี้ค่ะ
1. วิวัฒนาการ
2. นวัตกรรม
3. แรงบันดาลใจ
“วิวัฒนาการ” ของร่างกายมนุษย์ที่มีการปรับตัวเพื่อส่งเสริมให้วิ่งระยะไกลได้นั้นเป็นที่รู้กันมานานแล้ว และไม่มีข้อโต้แย้งใดๆถึงความสามารถนี้นะคะ แต่ไม่ได้หมายความว่าการปรับตัวนี้ดีพอที่จะสร้างสัตว์สายพันธุ์เดียวที่วิ่งระยะไกลได้ค่ะ โดยส่วนใหญ่แล้ว มนุษย์นั้นออกจะสูงเกินไปด้วยซ้ำ แถมยังมีกล้ามเนื้อมากเกินไป มีกระดูกใหญ่เกินไป ต้วมเตี้ยมเกินไป อ้วนเกินไป หรืออย่างที่ง่ายที่สุดนะคะ เราไม่สามารถทำงานหลายอย่างพร้อมกันได้ในเวลาเดียวกันมากเกินไป ซึ่งไม่ใช่การปรับตัวที่ดีพอที่จะนำไปสู่การวิ่งระยะไกลให้ประสบความสำเร็จได้สูงสุดโดยปราศจากการฝึกสอนที่ดี และการฝึกฝนที่ต้องฝึกเป็นจำนวนมากได้ค่ะ
และนี่ก็มาถึงช่วงเวลาที่ “นวัตกรรม” จะเข้ามามีบทบาทสำคัญที่ช่วยส่งเสริมศักยภาพการวิ่งของมนุษย์ค่ะ
การวิ่งแ
มย้อนรอยถึ
ปี
r>น
ะ แต่
างนั้นการพัฒนาสมรรถนะการวิ่งที่มากที่สุดเพิ่งจะเกิดขึ้นไม่นานมานี้เองค่ะ ด้วยสถิติโลกในการวิ่ง 1 ไมล์ และมาราธอน ที่ลดลงอย่างน่าประหลาดใจถึง 20% และ 30% ตามลำดับในช่วงศตวรรษที่ 20 นี้เอง วิวัฒนาการไม่ใช่ตัวสร้างการพัฒนาที่ดีขึ้นนี้หรอกนะคะ แต่เป็นเพราะนวัตกรรมการฝึกแบบใหม่ที่ช่วยต่างหาก และส่วนใหญ่ก็จะเป็นการฝึกใหม่ๆที่ทำให้ความสามารถในการวิ่งของมนุษย์นั้นดีขึ้นเรื่อยๆค่ะ และคงจะได้กล่าวถึงในต่อไปค่ะ
และสุดท้ายนี้ หากปราศจาก “แรงบันดาลใจ” แล้ว การวิ่งคงไม่ได้รับความสนใจมากพอที่จะรวมเข้าไปกับประวัติการวิ่งได้นะคะ
จะมีใครได้วิ่งมาราธอนไหมคะ ถ้าฟิดิปปิดีส ไม่ได้วิ่งข้ามเมืองมาราธอนซึ่งเป็นสนามรบในขณะนั้น เพื่อไปแจ้งข่าวความพ่ายแพ้ของกองทัพเปอร์เซียที่มีต่อกรีก และตัวเองต้องลมลงสิ้นใจตาย
ฟิดิปปิดีสนั้นเป็นทหารส่งข่าวของกองทัพกรีก ซึ่งคนในสมัยนั้นใช้การจำข้อความที่ต้องส่ง และให้วิ่งไปบอกข่าว แทนการเขียนเพื่อป้องกันข่าวรั่วไหลค่ะ และจะใช้ในกรณีที่พื้นที่รบนั้นไม่เหมาะกับการส่งพลม้าเร็วไปค่ะ ในช่วงแรกฟิดิปปิดีสที่มี
เ
าญใกิโ
ร เขาล้มลงด้วยแข้งขาไร้กำลัง แจ้งข่าวดีแก่ชาวเมืองว่าขณะนี้กองทัพกรีกมีชัยเหนือกองทัพเปอร์เซีย แต่ให้ประชาชนระวังเตรียมตัวหนีไว้เพราะเกรงว่าเปอร์เซียอาจยกทัพบุกเอเธนส์ในไม่ช้า เมื่อสิ้นความฟิดิปปิดีสก็สิ้นใจ
ฝ่ายทัพเปอร์เซียนั้น เมื่อเห็นความกล้าแกร่งของกองทัพกรีก ก็ยังลังเลใจที่จะเข้าโจมตีเอเธนส์ แม้กรีกจะมีกำลังพลน้อยกว่าแต่ก็เคยชนะมาได้ครั้งหนึ่ง และครั้งนี้หากเปอร์เซียบุกเอเธนส์ผลีผลาม อาจทำให้เปอร์เชียสูญเสียกำลังพล เปอร์เชียจึงเบนเป้าหมายออกจากกรีก เพราะเห็นว่ากรีกไม่ได้เข้าโจมตีง่ายอย่างที่คิดค่ะ
ด้วยเหตุนี้ การวิ่งครั้งสุดท้ายของ ฟิดิปปิดีสจึงทำให้เขาเป็นฮีโร่ของชาวกรีก และกลายมาเป็นประวัติศาสตร์ของการวิ่งมาราธอน วิ่งระยะไกลที่ต้องใช้ความอดทนสูงนั่นเอง
เรียกได้ว่าฟิดิปปิดีส เป็นแรงจูงใจสำคัญของนักวิ่งได้เลยนะคะ
นอกจากนี้ ถ้าโรเจอร์ แบนิสเตอร์ไม่ได้ทำลายสถิติวิ่งได้ 4 นาทีใน 1 ไมล์ ในปี 2497 แล้วจะมีนักวิ่งอีก 1,300 คนสามารถทำตามได้หรือไม่
หากไม่มีแรงบันดาลใจ ก็คงจะไม่มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค งานแข่งวิ่งมาราธอนที่บอสตัน หรืองานแข่งวิ่ง 5 กิโลเมตรตามเมืองต่างๆ มากไปกว่านั้น ในปี 2555 แค่ในอเมริกาประเทศเดียวมีนักวิ่งมากถึง 50 ล้านคนที่วิ่งฮาล์ฟมาราธอนได้ในเวลาที่แม้แต่ฟิดิปปิดีสเองก็ไม่สามารถทำได้ แถมพวกเขาเหล่านั้นยังสามารถเอาตัวรอดได้ในการวิ่งมาราธอนอีกด้วย
พอมองภาพออกแล้วใช่ไหมคะว่า คงไม่ใช่แค่ลำพังร่างกายของมนุษย์เองที่สามารถวิ่งได้เท่านั้น แต่ยังต้องรวมถึงการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้าช่วย และแรงบันดาลใจดีๆในการวิ่งด้วย จึงจะทำให้มนุษย์สามารถวิ่งได้ดีขึ้นจริงๆค่ะ
ต่อจากนี้มารู้จักรายละเอียดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของร่างกายมนุษย์กับการวิ่งสักเล็กน้อยนะคะ
4 ล้านปีที่แล้วโดยประมาณ บรรพบุรุษที่คล้ายเราที่สุดในยุคออสทราโลพิเทคัส ได้ปีนลงจากต้นไม้แห่งวิวัฒนาการ และเริ่มต้นเดินบนขาสองข้าง เหตุผลของการเปลี่ยนแปลงนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดค่ะ
อีก 2 ล้านปีต่อมา โฮโมแฮบิลิส และ โฮโมอีเร็กตัสได้มีวิวัฒนาการให้มีคุณสมบัติพอที่จะเร่งความเร็วจากการเดิน เป็นวิ่งเหยาะๆได้
การศึกษาในปี 2547 ของด็อกเตอร์แดเนียล อี ไลเบอร์แมน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านชีววิทยาการวิวัฒนาการของมนุษย์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และเดนนิส เอ็ม แบรมเบิล นักชีววิทยาแห่งมหาวิทยาลัยยูทาห์ ได้ระบุถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลงดังนี้
1. มีเส้นเอ็นกล้ามเนื้อที่ดีขึ้น ทำให้ใช้พลังงานในการเคลื่อนไหวน้อยลง โดยอาศัยการทำงานที่คล้ายกับสปริง คือเมื่อกล้ามเนื้อมีการหดตัว จะดึงผ่านเส้นเอ็นกล้ามเนื้อที่ยึดติดกับกระดูก และทำให้เกิดการเคลื่อนไหว หลังจากนั้นเมื่อกล้ามเนื้อคลายตัวแล้วมีการถูกยืดจากการเคลื่อนไหวไปในทิศทางตรงกันข้าม เอ็นกล้ามเนื้อจะถูกกระตุกยืดออก ซึ่งจะกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อให้เกิดการหดตัวครั้งต่อไปได้ง่ายขึ้น
2. โค้งของฝ่าเท้าที่ได้รูปโค้งดีขึ้นโค้งของฝ่าเท้าสามารถดูดซับแรงกระแทกจากร่างกายขณะเหยียบลงน้ำหนัก ทำให้เส้นเอ็นฝ่าเท้าที่ขึงระหว่างส้นเท้ากับนิ้วเท้าถูกยืดออกแล้วสะสมพลังงานเอาไว้ เมื่อน้ำหนักที่กดลดน้อยลงจากการถีบปลายเท้าของกล้ามเนื้อน่อง พลังงานนั้นจะเปลี่ยนไปเป็นพลังงานที่ช่วยในการดีดตัวย้อนกลับขึ้นไป คล้ายกับการทำงานของสปริง 3. ช่วงความยาวของการก้าวเท้ามากขึ้น วัดความยาวจากส้นเท้าข้างหนึ่งสัมผัสพื้น ถึงจนส้นเท้าข้างเดียวสัมผัสพื้นในครั้งต่อไป เมื่อระยะนี้เพิ่มขึ้น จะทำให้ความเร็วในการวิ่งเพิ่มขึ้น 4. มีกล้ามเนื้อบั้นท้ายที่ใหญ่ขึ้นกล้ามเนื้อบั้นท้ายเป็นกล้ามเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย หน้าที่หลักคือเตะขาไปด้านหลังขณะยืนด้วยขาอีกข้าง และถ้ายืนด้วยขาข้างนั้น เมื่อกล้ามเนื้อนี้ทำงานจะดันให้ตัวเราเคลื่อนไปข้างหน้า และยังช่วยยึดให้หลังส่วนล่างมั่นคงขึ้น ขณะออกกำลังกายด้วย
5. หัวไหล่แขนและสะโพกสามารถหมุนบิดเข้าออกได้ดีขึ้นซึ่งช่วยให้มีการถ่วงสมดุลระหว่างข้างซ้ายกับข้างขวา ขณะมีการเคลื่อนไหวแบบบิดตัวไปมาขณะวิ่ง
6. มีเหงื่อมากขึ้น เพิ่มการระบายความร้อน ผ่านทางการระเหยของเหงื่อ ทำให้ตัวไม่ร้อนมากเกินไป ร่างกายที่ร้อนเกินไป จะทำให้ระบบการเผาผลาญทำงานไม่ดีค่ะ
7. มีขนน้อยลง เพิ่มอัตราการระบายความร้อนจากร่างกายออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก ร่างกายจะได้ระบายความร้อนได้เร็วขึ้นค่ะ
ไลเบอร์แมนและแบรมเบิลสรุปว่า “มีความสมเหตุผลที่จะตั้งสมมติฐานว่า การวิวัฒนาการของมนุษย์กลุ่ม โฮโม เกิดขึ้นเพื่อการเดินทางในระยะไกล ทั้งโดยการเดินและการวิ่ง” นั่นอาจจะจริง แต่ในปี 2551 การศึกษาโดย คาเรน แอล สตูดอล นัมเบอร์ส นักสัตววิทยาที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน รวมทั้งคารา เอ็ม วอลล์เชฟเฟลอร์ นักชีววิทยา แห่งมหาวิทยาลัยซีแอตเทิล แปซิฟิค พยายามที่จะหาความเร็วของการเคลื่อนที่สำหรับบรรพบุรุษที่วิ่งระยะทางไกล และสรุปว่า โดยส่วนใหญ่แล้ว มนุษย์กลุ่มโฮโมมีความจำกัดต่อการเดินสลับกับวิ่งช้าๆเป็นระยะเวลานาน จึงทำให้เกิดคำถามต่อไปว่า แล้วอะไรล่ะที่ทำให้สัตว์ประเภทที่เป็นแค่นักเดิน หรือวิ่งเหยาะๆ ให้กลายเป็นสัตว์ประเภทที่วิ่งมาราธอนได้เร็วเป็นที่ 5 ของโลก?
คงหนีไม่พ้นความช่วยเหลือจากนวัตกรรมใหม่ๆบนโลกใบนี้นะคะ
ก่อนอื่นมาดูกันค่ะว่าทำไมนวัตกรรมจึงมีบทบาทสำคัญมากกว่าแค่สรีระร่างกายของมนุษย์เราค่ะ ถ้าเพื่อนๆอยากทราบว่าสมรรถนะของการวิ่งที่ได้พัฒนาให้เร็วขึ้นนั้นมีมากเท่าไรในช่วงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เรามาลองดูสถิติแค่เวลาการวิ่งในระยะทาง 1 ไมล์หรือ 1.609 กิโลเมตรกันนะคะ
ในปี 2398 ชาร์ลส เวสต์ฮอลล์ ของเกาะอังกฤษสามารถทำสถิติโลกอย่างเป็นทางการครั้งแรกที่ 4.28 นาที
99 ปีต่อมา โรเจอร์ แบนนิสเตอร์ แห่งเกาะอังกฤษ วิ่งได้ที่ 3.59.4 ซึ่งทำลายกำแพงสถิติ 4 นาทีได้เป็นครั้งแรกค่ะ อีก 35 ปีหลังจากนั้น อีชาม เอล เกร์รูจ แห่งโมรอคโค ทำสถิติโลกได้ที่ 3.43.12 และระยะทาง 1 ไมล์ ก็ไม่ใช่ระยะทางเดียวที่สถิติได้ถูกทำลายลงอย่างรวดเร็วนะคะ เมื่อปี 2443 สถิติโลกของผู้ชายในระยะวิ่ง 5000 เมตร หรือ 5 กิโลเมตร ได้ลดลงเช่นกัน โดยลดลงจาก 15.29.8 เป็น 12.37.35 ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าเวลาได้ลดลงไปอย่างมากค่ะ ในปี 2451 สถิติโลกมาราธอนชาย (42.195 กิโลเมตร) ลดลงจาก 2.55.18 มาเป็น 2.03.23 ในปัจจุบัน
สถิติของผู้หญิงก็ตกลงอย่างฮวบฮาบเช่นกัน แต่เนื่องจากผู้หญิงไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันจนกระทั่งช่วงหลังของศตวรรษที่ 20 จึงทำให้สถิติไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ชัดเจนค่ะ
เอ๊ะ! แล้วพวกเราวิ่งเร็วขึ้นได้อย่างไรคะ พวกเราไม่เหมือนกับนักวิ่งสมัยก่อนปี 2443 ที่ถึงแม้ว่าสมัยนั้นนักวิ่งยังไม่รู้จักการฝึกซ้อมเลยหรือไม่มีการฝึกวิ่งแบบเร็วระยะสั้น (sprint) หรือวิ่งเท้าเปล่า หรือการควบคุมการทานอาหาร แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ผลการแข่งขันที่เห็นในช่วงเวลานั้นไม่มีความสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น ในยุคอียิปต์โบราณ ในประเพณีเฮปเซด (Heb Sed Festival) ฟาร์โรห์จะวิ่งแข่งรอบๆขอบเขตพิธีกรรมที่ทำเครื่องหมายไว้ เพื่อพิสูจน์สมรรถภาพทางกายที่แข็งแรงพอที่จะปกครองต่อไป
หรืออย่างในยุคกรีกโบราณ ชื่อผู้ที่ชนะโอลิมปิคในการแข่งขันที่เรียกว่า stade (เกมการแข่งขันแบบดั้งเดิมที่วิ่งประมาณ 200 เมตร) จะได้รับการใส่ชื่อเข้าไปในปฏิทิน 4 ปี จนกว่าจะถึงการแข่งขันโอลิมปิคครั้งต่อไป
และในช่วงศตวรรษที่ 17 ในอังกฤษ คนชั้นสูงจะพนันเงินจำนวนมากในการแข่งขันระหว่างคนส่งของของพวกเขา ที่ใช้การวิ่งในการส่งของ
เราจึงเห็นได้ว่า การแข่งขันลักษณะนี้มีความสำคัญมากขึ้นตั้งแต่สมัยของฟาร์โรห์ จนมาถึงยุคที่เด็กนักเรียนมัธยมปลายที่เก่งๆในวันนี้สามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วเกินกว่าสถิติโลกเมื่อ 100 ปีที่ผ่านมาได้นะคะ
ถ้าคุณมองหาคำอธิบายว่าทำไมคนในยุคหลังสามารถวิ่งได้เร็วขึ้นเรื่อยๆ ก็ไม่ต้องมองหาคำตอบไปไกลเกินศตวรรษที่ 20 เลยค่ะ เพราะในศตวรรษที่ 20 นี้ได้มีการนำเอาความรู้เรื่องสรีระวิทยาการออกกำลังกายมาใช้ในการวางแผนการฝึกซ้อมค่ะ
ดังนั้น เราก็พอสรุปได้นะคะว่ามากกว่า 1 ศตวรรษที่ผ่านมา การฝึกฝนที่เป็นขั้นตอนและเป็นชุดๆได้แปลงร่างมนุษย์ที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน
ช้าไปเป็นเครื่องจักรที่เคลื่อนไหวได้ด้วยสองเท้าที่ทนทานมากขึ้นเรื่อยๆค่ะ
นวัตกรรมทางการกีฬาในยุคแรกเริ่มที่เริ่มมาจากคนนี้ค่ะ
อาร์คิบัลด์วิเวียนฮิลล์ (Archibald Vivian Hill)กับความรู้ครั้งแรกของกรดแลคติก และวีโอทูแมกซ์ (VO2 max)
ฮิลล์เป็นนักวิ่งที่ผันตัวเองมาเป็นนักสรีระวิทยาค่ะ เขาเป็นคนแรกๆในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ที่ทำการทดลองและประกาศเรื่องของการออกกำลังแบบที่ใช้ออกซิเจน (Aerobic exercise) และแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic exercise) ค่ะ การทดลองของฮิลล์ได้เชื่อมกรดแลคติกให้สัมพันธ์กับการสร้างพลังงานแบบไม่ใช้ออกซิเจน และเขายังแสดงถึงความสำคัญของวีโอทูแมกซ์ (VO2 max) ต่อสมรรถนะการออกกำลังกายด้วยนะคะ เขาพิสูจน์ว่านักกีฬาจะประสบความสำเร็จได้ ต้องได้รับการฝึกซ้อมที่จริงจังค่ะ
ขออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำว่า VO2 max นะคะ
วีโอทูแมกซ์ (VO2 max) เป็นคำย่อมาจากคำว่า Maximal Oxygen sumption ซึ่งก็คือ อัตราการใช้ออกซิเจนของร่างกายสูงสุดใน 1 นาทีค่ะ โดย V นั้นมาจาก
V
e ส่วน O2 ก็คือออกซิเจน ซึ่งเลขสองต้องห้อยอยู่ข้างล่างถึงจะถูกนะคะ และ max ก็มาจาก maximum ค่ะ คือมากที่สุดนั่นเอง
เมื่อมีการออกกำลังที่ความหนักค่อยๆมากขึ้นร่างกายจะยิ่งต้องการออกซิเจนมาเป็นวัตถุดิบในการเผ
ญพลังงานมากขึ้น และเมื่อถึงความหนักที่ระดับหนึ่ง อัตราการใช้ออกซิเจนจะคงที่ และนั่นแหละค่ะคืออัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุดของนักกีฬาคนนั้น ดังนั้น ยิ่งค่าวีโอทูแมกซ์นี้มากเท่าไร แสดงว่าสมรรถภาพของนักกีฬาดียิ่งขึ้นเท่านั้น โดยทั่วไปมักใช้ลู่วิ่ง หรือจักรยานวัดงานเป็นตัวทดสอบกันค่ะ ซึ่งจะมีวิธีการทดสอบเป็นชุดๆไปค่ะ และต้องใช้โดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นนะคะ เพราะต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการวัดออกซิเจน ต้องมีการจัดการเรื่องความปลอดภัย มีการแปลผล และตีค่าทางวิทยาศาสตร์ค่อนข้างมากค่ะ
หน่วยของ วีโอทูแมกซ์ที่นิยมใช้คือ mL/(kg·min)) หมายถึงอัตราการใช้ออกซิเจนต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อนาทีค่ะ งงๆไหมคะ ขอแปลอีกต่อหนึ่งว่า ใน 1 นาที ในคนน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะใช้ออกซิเจนจำนวนมิลลิลิตรเท่านั้นค่ะ ยกตัวอย่างเช่น ค่าวีโอทูแมกซ์เท่ากับ 5 mL/(kg·min)) ในคนน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม ที่การเดินเร็วระดับหนึ่ง หมายความว่าใน 1 นาที คนคนนี้จะใช้ออกซิเจนไป 60×5=300 mL ค่ะ
ถ้าคนคนนี้เปลี่ยนไปเป็นวิ่งเหยาะๆ และมีค่าวีโอทูแมกซ์เท่ากับ 8 mL/(kg·min)) ดังนั้นในเวลา 1 นาที เขาจะใช้ออกซิเจนเท่ากับ 60×8=480 mL ค่ะ และถ้าวิ่งไป 5 นาที ก็เท่ากับใช้ออกซิเจนไป 480×5=2400 mL หรือ 2.4 ลิตรเลยล่ะค่ะ และถ้าคนคนนี้ฝึกไปเรื่อยๆจนสามารถวิ่งเร็วได้มากขึ้น อัตราการใช้ออกซิเจนก็จะมากขึ้นไปด้วยค่ะ จะเห็นได้ว่ายิ่งสมรรถภาพร่างกายดีขึ้น ค่าวีโอทูแมกซ์ก็จะมากขึ้นไปด้วย ในทางการกีฬาจึงนิยมใช้ค่านี้เปรียบเทียบสมรรถภาพร่างกายระหว่างนักกีฬาแต่ละคนค่ะ
ดังนั้น การค้นพบค่าวีโอทูแมกซ์นี้ จึงเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ในวงการการกีฬาค่ะ
คนต่อไปที่มีส่วนส่งเสริมนวัตกรรมการวิ่งที่อยากจะแนะนำคือ
พาโวนูรมิ (Paavo Nurmi)กับการวิ่งแข่งแบบความเร็วคงที่ (Even-paced running) และ การซ้อมวิ่งด้วยระยะทางที่หลากหลาย (Terrace training) ค่ะ นูรมิ ผู้ได้รับฉายาว่า “ฟินน์ผู้โบยบิน” (Flying Finn) ได้ระเบิดความสามารถขึ้นในเหตุการณ์วิ่งแข่งระดับนานาชาติในปี 1920/2463 ในท้ายที่สุด เขาสามารถทำสถิติโลกได้ถึง 22 ครั้ง (จากระยะ 1500 เมตรถึงระยะ 20 กิโลเมตร) ได้รับเหรียญทองโอลิมปิกถึง 9 เหรียญ และชนะการแข่งขันถึง 121 ครั้งในรวดเดียว นูรมิได้ค้นพบด้วยตนเองถึงประโยชน์ของการวิ่งแข่งที่ความเร็วสม่ำเสมอ และพกนาฬิกาจับเวลาไว้กับตัวตลอดเวลาทั้งในขณะฝึกซ้อมและขณะแข่งเพื่อควบคุมความเร็วของการวิ่งค่ะ นอกจากนี้เขายังคงฝึกซ้อมการวิ่งแบบ Terraced training โดยวิ่งที่ระยะทางหลากหลาย สั้นบ้าง ยาวบ้าง รวมถึงการวิ่งแบบ Sprint คือวิ่งระยะทางสั้นๆด้วยความเร็วสูงๆด้วย และเขายังสลับกับช่วงพักที่หลากหลายด้วยเช่นกัน การฝึกซ้อมวิ่งของนูรมิเป็นจุดเริ่มต้นการฝึกควบคุมความเร็วในการวิ่งค่ะ เราได้รู้จักบุคคลสำคัญในวงการวิ่งไป 2 คนแล้วนะคะ ยังมีอีกหลายคนที่อยากแนะนำต่อค่
กอสต้าโฮลเมอร์ (Gosta Holmer) และการวิ่งฟาร์ทเล็ต (Fartlek)
ในปี 1930 กอสต้า โฮลเมอร์ ได้ผสมการฝึกซ้อมวิ่งแบบ Surge กับ Sprint เข้าด้วยกัน โดยใช้ความหนักที่น้อยกว่าการวิ่งแบบต่อเนื่อง แล้วเรียกว่า Fartlek อ่านว่า ฟาร์ทเล็ต หรือ การวิ่งเร่งค่ะ
ขออธิบายความหมา
>
e และ Sprint สักเล็กน้อยนะคะ
การวิ่งแบบ Surge อ่านว่า “เซอร์จ” แปลว่า เคลื่อนไหวเป็นคลื่นขึ้นๆลงๆเปลี่ยนกลับไปกลับมา แต่ความหมาย ในวงการวิ่งระยะไกล หมายถึง เป็นการเร่งจังหวะวิ่งให้เร็วขึ้นกว่าเดิมหรือเร็วกว่าความเร็วปกติเล็กน้อย เพื่อประโยชน์ต่อผลการแข่งขัน เช่น ใช้ในช่วงออกตัวจากจุดสตาร์ท ช่วงกลับตัวที่ต้องหนีคู่แข่ง ช่วงเร่งเข้าเส้นชัย เป็นต้นค่ะ
ส่วนการวิ่งแบบ Sprint อ่านว่า “สปริ๊นท์” คือการวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดเท่าที่จะทำได้ในระยะทางที่สั้นที่สุด มักใช้ในการฝึกซ้อมในหลายๆกีฬาที่ต้องใช้การวิ่งเร็วเป็นส่วนประกอบในเกม เช่น ฟุตบอล อเมริกันฟุตบอล โดยเฉพาะกีฬาที่ต้องเข้าหาเป้าหมายหรือทำประตูอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิ่งหลบหรือการเข้าจับฝ่ายตรงข้าม ส่วนในนักวิ่งระยะไกล จะใช้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างกำลังกล้ามเนื้อแบบหดตัวเร็ว (Fast-twitch fiber) แต่สำหรับนักวิ่งระยะสั้น อย่าง 100 เมตร การสปริ๊นท์เป็นเรื่องถนัดของพวกเขาเลยล่ะค่ะ
การวิ่งแบบฟาร์ทเล็ตนั้นเน้นการซ้อมวิ่งผสมระหว่างองค์ประกอบของการเผาผลาญแบบใช้และไม่ใช้ออกซิเจนค่ะ ในปี 1920ในฐานะที่เป็นโค้ชทีมคอร์สครันทรีชาวสวีเดน โฮลเมอร์ได้สร้างโปรแกรมการฝึกใหม่นี้ หลังจากที่ใช้เทคนิคของนูรมิแล้วไม่ค่อยได้ผลค่ะ (Cross country คือการแข่งขันไปตามเส้นทางในชนบท ในป่า หรือบนเขา โดยวิธีการต่างๆ เช่น การวิ่ง สกี รถแข่ง)
ขออธิบายการฝึกวิ่งแบบ Fartlek เพิ่มเติมเล็กน้อยนะคะ
Fartlek เป็นคำจากภาษาสวีเดนแปลว่า “Speed play” หรือวิ่งแบบเร็วค่ะ โดยมีวิธีการคร่าวๆดังนี้ค่ะ
หลังจากอบอุ่นร่างกายและยืดกล้ามเนื้อแล้ว ให้วิ่งปกติสัก 5 นาที หลังจากนั้นก็วิ่งเร็ว ประมาณ 85-90% ของชีพจรสูงสุด อาจใช้เวลา 15 วินาทีถึง 3 นาที แล้วพักด้วยการวิ่งช้าลง ให้อัตราเต้นของหัวใจลดลงมาที่ 100-110 ครั้งต่อนาทีหรือจนหายเหนื่อย ส่วนมากเวลาที่พักจะใช้ประมาณ 2/3 ของเวลาที่ใช้วิ่งเร็ว แล้วค่อยเริ่มวิ่งเร็วใหม่ การเริ่มฝึกก็เริ่มจากความเร็วไม่มากนักและใช้ระยะเวลาสั้นๆ แล้วค่อยๆเพิ่มความเร็วและระยะเวลา ใช้เวลาฝึกรวมแล้วประมาณ 20-30 นาทีก็พอค่ะ
จริงๆแล้วยังมีรายละเอียดในการฝึกวิ่งแบบฟาร์ทเลตอีกมากค่ะ หากใครสนใจลองหาอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้นะคะ หรือติดตามต่อไปค่ะ จะนำมาเล่าให้ฟังแน่ๆ
ต่อไปมารู้จักผู้สร้างนวัตกรรมคนที่ 4 และ 5 กันค่ะ เขาก็คือ
โวด์มาร์เจอร์เชลอร์ (Woldemar Gerschler) และแฮนส์เรนเดล (Hans Reindell) กับ การฝึกวิ่งแบบหนักสลับเบา หรือที่รู้จักกันในชื่อ Interval training ค่ะ ฮิตกันมาจนถึงปัจจุบันเลยล่ะค่ะ
ในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 1930 โค้ชชาวเยอรมันชื่อ โวด์มาร์ เจอร์เชลอร์ ได้ร่วมมือกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหัวใจ ชื่อ แฮนส์ เรนเดล ได้นำเสนอการออกกำลังกาย แบบสลับความหนักเป็นชุดๆซ้ำๆหลายๆครั้งที่ระยะทางสั้นๆซึ่งออกแบบมาเพื่อเพิ่มระดับอัตราการเต้นของหัวใจให้ถึง 180 ครั้งต่อนาที ด้วยการสลับกับการพักเป็นช่วงๆ ซึ่งในช่วงของการพัก แรงดันภายในหัวใจจะเพิ่มขึ้นช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยแรงดันนั้นมาจากเลือดที่ไหลย้อนกลับมาจากร่างกายที่มีปริมาณมากขึ้น และแรงดันนั้นจะยืดผนังหัวใจห้องล่างมากขึ้น เป็นการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหัวใจหดตัวได้ดีขึ้นในการบีบตัวครั้งต่อไปค่ะ
การทดลองในผู้เข้าร่วมทดลอง 3000 คน เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์พบว่า สามารถเพิ่มปริมาตรของห้องหัวใจได้ถึง 20% พร้อมกับการเพิ่มขึ้นของ Cardiac output (ปริมาตรของเลือดที่ถูกปั๊มออกจากหัวใจใน 1 นาที) การที่เลือดถูกปั๊มออกไปมากขึ้นนี้ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น จึงออกกำลังได้มากขึ้นนั่นเองค่ะ การฝึกแบบ Interval นี้ ทำให้สถิติโลกจากการวิ่งระยะ 400 เมตร และ 800 เมตร ลดลงอย่างทันทีค่ะ ในช่วง 10 ปีต่อมา อีมิล ซาโตเปค (Emil Zatopek) ได้ฝึกวิ่งระยะ 400 เมตร ซ้ำๆถึง 60 รอบ และฮิมาลี่ อิกลอย (Himaly Igloi) ได้นำเสนอการวิ่งอย่างหนักเป็นรอบๆซ้ำๆหลายๆครั้ง และมีช่วงพักแค่สั้นๆ ทั้งสองคนนี้ได้ประยุกต์การใช้การฝึกแบบหนักสลับเบาเป็นช่วงๆนี้ เพื่อสร้างสถิติโลก และได้เป็นเจ้าของสถิติโลกเองซะด้วยค่ะ
คนที่ 6 คือ
อาร์เธอร์ไลเดียรด์ (Arthur Lydiard) และ Periodization
อาร์เธอร์ ไลเดียรด์ ได้นำเสนอการทดลองที่เป็นที่รู้จักงานหนึ่งโดยมีตัวเขาเองเป็นหนูทดลอง ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดระบบที่เน้นการฝึกแบบใช้ออกซิเจน และใช้ความหนักที่โซน 2 เป็นเวลานาน
หลักการของ Periodization ก็คือการแบ่งการฝึกซ้อมออกเป็นช่วงๆ (หรือเรียกว่า Phase หรือว่า Block) ซึ่งแต่ละ Phase ก็จะมีวัตถุประสงค์ต่างกัน และกินเวลาไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นเหตุให้ลักษณะในการฝึกซ้อมของแต่ละช่วงนั้น แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทั้งในแง่ของความหนัก (Intensity) ระยะเวลาในการซ้อมในแต่ละครั้ง (Duration) และก็ความถี่ในการซ้อม (Frequency)
การแบ่ง Phase หลักๆ แบ่งเป็น 4 ช่วงค่ะ
ช่วงที่ 1 เรียกว่า Prep หรือ Preparation คือช่วงเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับ Phase ต่อไป เช่น การฝึก Drill หรือ Strength
ช่วงที่ 2 เรียกว่า Base เป็นช่วงฝึกเพื่อเพิ่มความทนทานโดยใช้ระบบเผาผลาญแบบใช้ออกซิเจน
ช่วงที่ 3 เรียกว่า Build เป็นช่วงฝึกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการวิ่ง ซึ่งก็คือความเร็วนั่นเอง ดังนั้นโปรแกรมการฝึกจะหนักขึ้นอีกค่ะ
ช่วงที่ 4 เรียกว่า Peak หรือ Race จะเป็นช่วงที่ร่างกายฟิตมากที่สุด พร้อมที่จะลงแข่งขันได้ จำนวนชั่วโมงในการซ้อมจะลดลง เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนก่อนแข่งค่ะ เรียกการพักแบบนี้ว่า Taper แต่วันซ้อมแต่ละครั้งจะให้หนักเหมือนวันแข่งเลยค่ะการฝึกแบบ Periodization นี้สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมได้ตามเวลาที่นักวิ่งแต่ละคนมีก่อนแข่งนะคะ
คนที่ 7 ต่อไปที่ขอกล่าวถึงคือบิลล์โบเวอร์แมน (Bill Bowerman)และการฝึกแบบ Hard-easy approach”ถ้านำสิ่งมีชีวิตแบบดั้งเดิม สิ่งมีชีวิตอะไรก็ได้ที่อ่อนแอ และน่าสงสาร จับมันมาฝึก หรือกระโดด หรือวิ่ง แล้วให้มันพัก คุณคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น คุณจะพบปาฏิหารย์เล็กๆ การฝึกนั้นจะทำได้ดีขึ้นทีละน้อย” บิล โบเวอร์แมน กล่าวเป็นประโยคอ้างอิงในหนังสือของเคนนี่ มัวร์ (Kenny Moore) ที่ชื่อว่า “โบเวอร์แมนและผู้ชายของโอเรกอน” ความเครียดของร่างกาย การฟื้นตัวของร่างกาย และร่างกายที่สมรรถนะดีขึ้นที่เพื่อนๆจะได้พบนั้น เพื่อนๆอาจคิดว่าคนที่ไม่มีความรู้ใดๆก็สามารถทำได้ มีเพียงแค่นักวิ่งที่ไม่คิดเช่นนั้น ด้วยวิธีการฝึกแบบ Hard-easy approach ของโบเวอร์แมน
การฝึกแบบ Hard-easy approach นั้นได้ถูกนำมาใช้ที่มหาวิทยาลัยโอเรกอนโดยบิล โบเวอร์แมน และบิล เดลินเจอร์ พวกเขาค้นพบว่าโปรแกรมการฝึกซ้อมที่ปล่อยให้มีช่วงพักอย่างเพียงพอในช่วงการฝึกหนักนั้น ทำให้สมรรถนะของนักวิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นการฝึกของนักกีฬาจะหลากหลายออกไปในแต่ละวัน ทั้งความหนัก และระยะเวลา ซึ่งมักจะเป็นการฝึกหนัก 2-3 วันต่อสัปดาห์ โดยจะถูกคั่นด้วยวันหยุดพักหรือวันฝึกเบาๆในวันที่เหลือโบเวอร์แมนเป็นโค้ชให้กับนักกีฬาโอลิมปิคจำนวน 31 คน และแชมป์ NCAA จำนวน 24 คน ที่ชนะการแข่งขัน NCAA ทั้งลู่และลาน 4 ครั้ง ซึ่งทำให้การวิ่งกลับคืนสู่ความนิยมในสหรัฐอเมริกาอีกครั้ง เขายังทำรองเท้าด้วยมือ (ใช้เครื่องทำวัฟเฟิลของภรรยาทำแผ่นรองเท้า) ซึ่งเขาได้ทำการตลาดกับฟิล ไนท์ (Phil Knight) และกลายมาเป็นผู้ก่อตั้งรองเท้ากีฬาแบรนด์ “ไนกี้” (Nike) ที่เรารู้จักกันดีร่วมกันค่ะ
และแล้วก็มาถึงคนสุดท้ายคนที่ 8 ที่จะแนะนำในแง่การสร้างนวัตกรรมใหม่ให้กับนักวิ่งนะคะ
แจ็คแดเนียล (Jack Daniels)และ การฝึกแบบ Tempo ค่ะ แจ็ค แดเนียล ไม่ได้เป็นผู้ประดิษฐ์การวิ่งแบบ Tempo แต่เขาเขียนหนังสือเกี่ยวกับมันในปี 1998 หรืออย่างน้อยก็เป็นหนังสือที่เป็นที่นิยมค่ะ หนังสือชื่อว่า สูตรการวิ่งของแดเนียล (Daniel’s Running Formula) ในหนังสือเขาได้นำเสนอคำว่า “ความเร็วระดับเริ่มเปลี่ยนสู่ระบบไม่ใช้ออกซิเจน” (Threshold pace) ซึ่งเป็นความหนักที่เริ่มมีระดับแลคเตทเพิ่มขึ้นหรือ Lactate threshold ถ้ามีมากกว่านี้จะเกิดผลเสียต่อร่างกาย โดยเฉพาะจะเกิดความล้าขึ้น และความเร็วจะตกลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นนักวิ่งจะต้องควบคุมความเร็วของการวิ่งไว้ที่ระดับนี้ เพื่อให้ร่างกายได้เคยชินกับภาวะนี้ค่ะ เรามีวิธีการสังเกตได้ง่ายๆว่าถึงจุดนี้หรือยัง คือใช้หลักการ Talk test ค่ะ ลองคุยกับคนอื่นดูขณะวิ่ง แล้วเราสามารถสนทนาได้เล็กน้อย แต่ไม่คล่อง นั่นแหละค่ะ คือระดับ Lactate threshold แล้วล่ะค่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การฝึกแบบนี้ไม่ต้องฝึกนานนะคะสำหรับคนเริ่มต้น เริ่มจาก 20 นาทีก็พอค่ะ และให้นำไปใส่ผสมผสานกับการฝึกวิ่งแบบอื่นได้นะคะเราพูดเกี่ยวกับ วิวัฒนาการ และนวัตกรรมอันเป็นประวัติศาสตร์การวิ่งจบกันไปแล้วนะคะ เหลือหัวข้อสุดท้ายในเรื่องประวัติก็คือ แรงบันดาลใจในการวิ่งค่ะถึงแม้ว่านวัตกรรมการฝึกวิ่งจะเป็นการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ที่ทำให้สมรรถนะร่างกายดีขึ้นจนอยู่ในระดับที่สามารถสร้างสถิติใหม่ๆได้มากมาย แต่แรงบันดาลใจต่างหากล่ะคะ ที่รวบรวมกลุ่มนักวิ่งที่มีพรสวรรค์และหิวโหยการแบ่งสรรผลไม้แห่งแรงบันดาลใจเหล่านั้นให้มาอยู่รวมกันได้ นักวิ่งที่เป็นดาวเด่นและมีอิทธิพลอย่าง นูรมิ, ซาโตเป๊ก, แบนิสเตอร์, รอน คลาร์ก (Ron Clarke) แห่งออสเตรเลีย, ปีเตอร์ สเนล (Peter Snell) แห่งนิวซีแลนด์, อะเบเบ บิคิล่า (Abebe Bikila) แห่งเอธิโอเปีย, คิป ไคโน (Kip Keino) แห่งเคนยา และ จิม ไรอุน (Jim Ryun) แห่งสหรัฐอเมริกา ทำให้เรามั่นใจได้ว่า เราจะไม่ขาดดวงดาวดวงใหม่ๆในอนาคตจากทุกมุมของโลกใบนี้ค่ะ เมื่อแฟรงค์ ช็อตเตอร์ ชนะการแข่งขันมาราธอนโอลิมปิกที่มิวนิกในปี 1972 เขาเริ่มทำให้การวิ่งเป็นที่รู้จักมากขึ้น ซึ่งต่อมาได้เกิดชุมชนนักวิ่งขนาดเล็ก ซึ่งเป็นทางนำไปสู่กลุ่มกีฬาที่มีคนเข้าร่วมเป็นล้านคน โดยคนทั้งหมดนี้ล้วนแต่กระตือรือร้นที่จะมีประสบการณ์ในแต่ละระดับของสมรรถภาพทางกายที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อนในประวัติศาสตร์มนุษยชาติค่ะ ชัยชนะของโจน เบนอต (Joan Benoit) ในปี 1984 ในการแข่งขันมาราธอนหญิงโอลิมปิคคนแรกอย่างเป็นทางการ ทำให้ผู้คนได้รู้จักการแข่งขันวิ่งระยะไกลที่มีผู้หญิงเข้าร่วมเป็นครั้งแรก เหมือนกับว่าผู้หญิงได้ก้าวออกมาจากเงามืดจากเมื่อ 20 ปีก่อนหน้านั้นค่ะ ซึ่งเป็นปี 1967 แคธรีน สวิซเซอร์ (Kathrine Switzer) เป็นผู้หญิงคนแรกที่วิ่งเข้าเส้นชัยในมาราธอนที่บอสตันอย่างเป็นทางการ ทั้งหมดนี้ช่วยยืนยันได้ว่าผู้หญิงไม่ถูกทิ้งอยู่เบื้องหลังของการปฏิวัติทางสมรร
ะ
แรงบันดาลใจนั้นอาจไม่ได้สร้างนักวิ่งโอลิมปิคจากกลุ่มพวกเราได้หมด แต่มันสามารถสร้างนักวิ่งที่ดีขึ้นจากตัวเพื่อนๆได้นะคะ ตราบใดที่เพื่อนๆมีความเต็มใจที่จะเรียนรู้การวิ่งจากประวัติศาสตร์ และนำทั้งวิวัฒนาการที่สร้างรูปร่างของร่างกายมนุษย์ และนวัตกรรมที่ปลดปล่อยศักยภาพที่สามารถพัฒนาได้ในตัวคุณมาใช้อย่างเต็มที่
การวิ่งที่ดีขึ้นได้นั้นไม่ใช่การคาดเดา แล้วก็ไม่ได้มีเคล็ดลับพิเศษใดๆ ไม่ใช่แฟชั่นตามยุคสมัย หรือรายการทำร่างกายให้ฟิตได้อย่างรวดเร็วหรอกนะคะ แต่คือการวางแผนการซ้อม การลงมือทำ โดยใช้แรงบันดาลใจเป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อนค่ะขอยืมโวหารของเซอร์ไอแซค นิวตัน มาใช้สักหน่อยนะคะว่า การวิ่งนั้นเป็นเรื่องของ “การยืนอยู่บนไหล่ของยักษ์” หนทางที่จะมุ่งไปสู่ความสำเร็จของความทนทานของมนุษยชาติได้ถูกปูทางเอาไว้แล้ว ในตอนนี้สิ่งที่เพื่อนๆต้องทำคือวิ่งไปบนเส้นทางนั้นค่ะ
ขอให้เพื่อนนักวิ่งมีความสุขกับขาสองข้างที่ถูกสร้างมาให้วิ่งได้กันนะคะ
Recent Comments