Explore the Knowledge for Runner
คนส่วนใหญ่มักคิดว่า “ความแข็งแรง” มีความหมายเหมือนกับ “กล้ามเนื้อที่ใหญ่ขึ้น” จะเป็นจริงอย่างนั้นหรือเปล่าคะ?
เมื่อเพื่อนๆคิดไปถึงบางคนที่ร่างกายแข็งแรง เพื่อนๆก็มักจะคิดไปถึง ดเวย์น “เดอะ ร็อก” จอห์นสัน (Dwayne “The Rock” Johnson) ที่มีกล้ามใหญ่โตเป็นมัดๆ และเล่นมวยปล้ำ ไม่ใช่ จัสติน บีเบอร์ (Justin Bieber) ที่ดูตัวผอมบาง และเป็นนักร้อง แล้วถ้าเป็นอย่างนั้นจริง นักวิ่งระยะไกลชั้นนำที่ใช้เวลามากมายหมดไปกับการเพิ่มความแข็งแรงของเส้นใยกล้ามเนื้อ ทำไมพวกเขาถึงยังดูผอมอยู่ได้ล่ะ? การวิ่งหลายๆกิโลเมตร การวิ่งขึ้นลงเขา การเร่งวิ่งเร็ว การฝึกความคล่องตัวไม่ช่วยสร้าง “กล้ามเนื้อชายหาด” ให้กับร่างกายเลยหรือ?
ขอตอบได้เลยค่ะว่า “ไม่” นักวิ่งระยะไกลระดับต้นของโลกได้ถูกนิยามโดยกล้ามเนื้อลำตัวด้านบนที่แทบจะไม่มีอยู่เลย กล้ามเนื้อต้นขาที่เรียวบาง และกล้ามเนื้อน่องที่เล็กกว่าปกติ และจริงๆแล้วมันเป็นเรื่องดีซะด้วยนะคะ ดีอย่างไรเรามาดูกันต่อไปค่ะ
เมื่อเพื่อนๆวิ่ง และหลังจากที่เพื่อนๆได้เพิ่มความแข็งแรงให้เส้นใยกล้ามเนื้อโดยรีดเอาไมโอฟิลาเมนท์ออกแล้ว ดีเอ็นเอของเส้นใยกล้ามเนื้อจึงต้องตัดสินใจเลือกระหว่าง
1. ปรับตัวโดยใช้พลังงานที่มีอย่างจำกัดของเส้นใยกล้ามเนื้อ เพื่อสร้างกล้ามเนื้อให้ใหญ่ขึ้น
2. ปรับตัวโดยใช้พลังงานที่มีอย่างจำกัด เพื่อสร้างโรงงานผลิตพลังงาน (mitochondria) แบบใช้ออกซิเจน ที่อยู่ระหว่างเส้นใยกล้ามเนื้อให้มีจำนวนมากขึ้น
ถ้าเพื่อนๆต้องการที่จะเป็นนักวิ่งแข่งขันระยะไกลระดับต้น เพื่อนๆไม่สามารถที่จะทำได้ทั้งสองวิธี การฝึกซ้อมที่มากขึ้นจะกระตุ้นการตอบสนองทางสรีรวิทยา โดยทำให้กล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้าเล็กลงและกระตุ้นการใช้พลังงานแบบใช้ออกซิเจนมากขึ้นแทนค่ะ
สำหรับนักวิ่งแข่งระยะไกล ทางเลือกนี้ง่ายมาก คือการสร้างโรงงานผลิตพลังงานแบบใช้ออกซิเจนขึ้นมาค่ะ การวิ่งระยะไกลมากขึ้นจึงมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยให้มีการเพิ่มจำนวนเส้นเลือดฝอย ซึ่งเป็นเส้นเลือดที่มีขนาดเล็กที่สุดที่อยู่รอบๆเส้นใยกล้ามเนื้อมากขึ้นด้วยค่ะ เส้นเลือดฝอยที่มีจำนวนมากขึ้นนี้หมายถึงการส่งออกซิเจนและสารอาหารให้กับโรงงานได้มากขึ้น และการรวมกันของโรงงานที่มากขึ้นและเชื้อเพลิงที่มากขึ้น หมายความว่าเพื่อนๆสามารถที่จะสร้างพลังงานได้มากขึ้น ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่จะเป็นแรงต้านต่ออาการกล้ามเนื้อล้าได้นั่นเองค่ะ
ขณะที่กล้ามเนื้อของเพื่อนๆมีงบประมาณพลังงานน้อยลงในการที่จะคงมวลกล้ามเนื้อเอาไว้ได้ เส้นใยกล้ามเนื้อแบบหดตัวเร็วในกล้ามเนื้อที่ถูกฝึกความทนทานก็จะเริ่มลดขนาดลง ในเวลาเดียวกัน เส้นใยกล้ามเนื้อแบบหดตัวช้าจะมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ไม่เพียงพอที่จะชดเชยการสูญเสียขนาดของเส้นใยกล้ามเนื้อแบบหดตัวเร็ว ในสนามรบระหว่างการเล็กลงของเส้นใยกล้ามเนื้อแบบหดตัวเร็ว และการใหญ่ขึ้นของเส้นใยกล้ามเนื้อแบบหดตัวช้า การเล็กลงเป็นฝ่ายชนะ เป็นผลทำให้กล้ามเนื้อขนาดเล็กลง แต่ยังคงเป็นกล้ามเนื้อที่มีประสิทธิภาพทางสรีระวิทยาค่ะ
หรือในอีกกรณีหนึ่ง เพื่อนๆอาจไม่ต้องหยุดการฝึกเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพราะช่วยให้ได้เวลาที่เร็วขึ้นเล็กน้อยในการวิ่ง 5 กิโลเมตร หรือมาราธอนครั้งต่อไป ไม่ต้องคอยกลัวว่า การฝึกแบบความหนักสูงๆ เช่น การฝึกยกน้ำหนัก หรือการวิ่งเร่งขึ้นเนิน จะกระตุ้นให้เกิดการเติบโตของขนาดเส้นใยกล้ามเนื้อมากเกินไป ตราบใดที่การฝึกแบบความหนักสูงๆนั้น ยังคงแยกออกจากการฝึกเพื่อความทนทาน ก็จะไม่มีปัญหาแต่อย่างใดค่ะ เช่น แทนที่จะทำการฝึกกล้ามเนื้อโดยใช้แรงต้านหลังจากการวิ่งระยะไกล แต่ให้ทำหลังจากนั้น 2 – 3 ชั่วโมงต่อมา และตราบใดที่ปริมาณการฝึกความทนทานไม่มากจนเกินไป เพื่อนๆก็จะสามารถมีชีวิตอยู่ได้ด้วยบทบาททั้งสองอย่างเหมือนนักรบวิ่งระยะไกล และสมาชิกคลับฟิตเนสผู้ยอดเยี่ยมค่ะ
สรุปแล้ว ไม่ได้หมายความว่านักวิ่งควรยกเว้นการฝึกกล้ามเนื้อด้วยแรงต้านนะคะ การฝึกกล้ามเนื้อด้วยแรงต้านไม่ใช่แค่กีฬาเพื่อให้ได้ร่างกายมีมัดกล้ามแบบโชว์ที่ชายหาดได้ค่ะ แต่ความแข็งแรงส่วนมากที่ได้มาในช่วงการฝึก 2 – 3 สัปดาห์แรก (บางครั้งใช้เวลาเป็นเดือน) มาจากระบบประสาทเป็นหลักค่ะ โดยไม่คำนึงว่ากล้ามเนื้อจะมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือไม่ค่ะ
กลับไปสู่คำถามเริ่มแรกนะคะ “ทำไมกล้ามเนื้อมีขนาดเล็กลงจากการวิ่ง?” กล้ามเนื้อวิ่งของเพื่อนๆมีขนาดเล็กลงจากการวิ่งระยะไกลเป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้มีประสิทธิภาพในการวิ่งมากขึ้น ร่างกายเพื่อนๆฉลาดนะคะ มันจะเป็นในสิ่งที่ถูกฝึกมาเท่านั้นค่ะ
ขอให้เพื่อนนักวิ่งระยะไกล ได้มีกล้ามเนื้อที่มีประสิทธิภาพที่เหมาะกับการวิ่งระยะไกลกันนะคะ
Recent Comments