การสร้างความแข็งแรงของกระดูกอ่อนในนักวิ่ง

กระดูกทุกชิ้นในร่างกายของเพื่อนๆเริ่มต้นมาจากกระดูกอ่อนทั้งหมด ในตอนที่เพื่อนๆยังอยู่ในมดลูก เนื้อเยื่อเกี่ยวพันเหนียวๆนี้จะยอมให้กระดูกมีความยืดหยุ่นมาก การเพิ่มขึ้นของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันนี้เกิดในช่วงเวลา 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ เมื่อเพื่อนๆเติบโตขึ้น จากเด็กวัยหัดเดินไปเป็นวัยรุ่นจนถึงผู้ใหญ่ กระดูกอ่อนส่วนใหญ่จะเปลี่ยนโครงสร้างจนกลายเป็นกระดูกที่แข็งขึ้นๆเรื่อยๆ จนกระทั่งสุดท้ายแล้ว เราจะเหลือกระดูกอ่อนอยู่แค่ที่หู จมูก หลอดลม ซี่โครง และบริเวณที่สำคัญที่สุดสำหรับนักวิ่งคือ ข้อต่อค่ะ

เมื่อนักวิ่งพูดถึงกระดูกอ่อน เรามักจะหมายถึงกระดูกอ่อนที่ผิวข้อต่อค่ะ กระดูกอ่อนผิวข้อต่อจะหุ้มปลายกระดูกและมีลักษณะเรียบลื่น การหุ้มที่มีแรงเสียดทานต่ำนี้จะทำให้กระดูกหนึ่งชิ้นสามารถเคลื่อนไปบนกระดูกอีกชิ้นหนึ่งได้ และสามารถเป็นตัวรองรับแรงกระแทกที่ยืดหยุ่นได้อีกด้วย กระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้ง และกระดูกสะบ้า ล้วนแต่มีกระดูกอ่อนที่ผิวข้อทั้งนั้นค่ะ

13-5 การสร้างความแข็งแรงของกระดูกอ่อนในนักวิ่ง-2

ในขณะที่การศึกษาได้ยืนยันว่าเด็กที่คล่องแคล่วทางกายภาพสามารถเพิ่มความหนาของกระดูกอ่อนได้ ซึ่งเหมือนกับการศึกษาในผู้ใหญ่ที่แสดงว่าไม่มีความแตกต่างในเรื่องความหนาของกระดูกอ่อนในกลุ่มนักกีฬาตลอดชีวิต และกลุ่มที่ไม่ใช่นักกีฬาแต่สุขภาพแข็งแรง ในทางกลับกัน คนที่มีชีวิตอยู่กับเก้าอี้โซฟามาตลอดชีวิต (และคนที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว) แสดงให้เห็นว่ากระดูกอ่อนน้อยลง นักกีฬามีแนวโน้มที่จะมีผิวกระดูกอ่อนที่ข้อต่อขนาดใหญ่กว่าคนที่ไม่ได้เป็นนักกีฬา แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม (เหมือนกับความสูงของนักกีฬาบาสเกตบอล) หรือเป็นการปรับตัวของร่างกายจากการฝึกซ้อมหรือไม่

กระดูกอ่อนถูกทำลาย – อย่าให้เกิดขึ้นนะ!

กระดูกอ่อนผิวข้อที่ถูกทำลายถือว่าเป็นข่าวร้ายค่ะ ในเมื่อกระดูกอ่อนผิวข้อไม่มีเส้นประสาทและเส้นเลือดมาเลี้ยง การทำลายแม้เพียงเล็กน้อยไม่สามารถสังเกตเห็นได้เลย เพราะไม่มีเส้นประสาทคอยบอกว่าปวดจนทำให้เราต้องหยุดวิ่ง และสำคัญมากกว่านั้นคือ มันไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ เพราะไม่มีเส้นเลือดนำสารอาหารมาช่วยหล่อเลี้ยงในกระบวนการหายค่ะ ถ้าการทำลายนั้นมีมากขึ้นเรื่อยๆ สามารถนำไปสู่ภาวะการเคลื่อนไหวผิดปกติได้เลยค่ะ ในคนที่มีข้อต่อเสื่อม ช่องว่างระหว่างข้อต่อจะน้อยลงจนถึงจุดที่กระดูกชนกับกระดูก และเมื่อเสียดสีถึงเนื้อกระดูกที่มีเส้นประสาทมาเลี้ยงแล้วบอกว่าปวด ถึงเวลานั้นก็อาจสายเกินไปค่ะ การชนกันของกระดูกนี้ ทำให้ข้อต่ออักเสบ ปวด เคลื่อนไหวได้น้อยลง และทำให้พิการได้บางส่วนเลยนะคะ

13-5 การสร้างความแข็งแรงของกระดูกอ่อนในนักวิ่ง-3
นักวิ่งส่วนใหญ่มักจะรู้จักใครสักคนที่ต้องทนทรมานกับภาวะกระดูกอ่อนฉีกขาดในข้อเข่า ซึ่งเป็นการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยมากต่อหมอนรองกระดูกในข้อเข่า มากกว่าที่จะเป็นที่กระดูกอ่อนผิวข้อ เราเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า เมนิสคัส (Meniscus) หมอนรองกระดูกที่ข้อเข่ามีทั้งด้านในและด้านนอก และโครงสร้างของมันก็คือเป็นกระดูกอ่อนแบบเส้นใย (Fibrocartilage) ที่ทำหน้าที่รองรับแรงกระแทกและรองรับโครงสร้างของข้อเข่า ในผู้ใหญ่ การรักษาส่วนใหญ่คือการผ่าตัดเพื่อเย็บซ่อม หรือนำกระดูกอ่อนส่วนที่บาดเจ็บออกค่ะ

13-5 การสร้างความแข็งแรงของกระดูกอ่อนในนักวิ่ง-4

คำแนะนำการฝึกซ้อมสำหรับกระดูกอ่อน

ขอขีดเส้นใต้ไว้ก่อนนะคะว่าไม่มีกลไกการฝึกซ้อมใดที่สามารถเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกอ่อนได้ด้วยอัตราเดียวกับเซลล์อื่นๆที่เราสามารถคาดหวังผลการปรับตัวจากการฝึกซ้อมได้ค่ะ ดังนั้นโปรดจำกฎข้อแรกของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันคือ อย่าทำให้มันบาดเจ็บตั้งแต่แรก นักวิ่งเก่าแก่ที่มีอาการปวดเข่าหรืออักเสบควรพิจารณาไปรับการทำเอ็กซเรย์เพื่อดูว่ามีภาวะข้อต่อเสื่อมหรือไม่ค่ะ

ขอให้เพื่อนนักวิ่งมีสุขภาพกระดูกอ่อนที่ดีทุกคนนะคะ

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: