การสร้างความแข็งแรงของเนื้อเยื่อพังผืดในนักวิ่ง

หลายๆคนคงเคยได้ยินคำว่าพังผืด แล้วจะนึกไปถึงภาวะพังผืดในกล้ามเนื้อที่หนาตัวขึ้น จริงๆแล้ว พังผืด แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Fascia ซึ่งเป็นโครงสร้างหนึ่งที่ปกติในร่างกายค่ะ ส่วนเรื่องความผิดปกติของพังผืดและกล้ามเนื้อ ก็จะขอพูดในโอกาสอื่นต่อไปนะคะ
13-6 การสร้างความแข็งแรงของเนื้อเยื่อพังผืดในนักวิ่ง-2
เรามาทำความรู้จัดกับพังผืดตัวจริงกันนะคะ เพื่อนๆลองนึกภาพว่ามีแมงมุมที่มีพลังเหนือธรรมชาติอาศัยอยู่ในตัวเพื่อนๆดูสิคะ และจินตนาการว่าแมงมุมเหล่านี้ใช้เวลาทั้งวันถักทอเส้นใยเชื่อมกันอย่างต่อเนื่องห่อหุ้มตัวเพื่อนๆอยู่ภายใต้ผิวหนังทั้งตัว ร่างแหนี้จะขยายลึกเข้าไปในตัว เข้าไปห่อหุ้มและแทรกตัวอยู่ในทุกกล้ามเนื้อ ทุกเส้นประสาท ทุกอวัยวะ และกระดูกทุกชิ้น แทรกซึมเข้าไปในทุกๆโครงสร้าง ทุกช่องว่าง ทุกเนื้อเยื่อในร่างกายของเพื่อนๆ เรียกได้ว่าทั้งร่างกายของเพื่อนๆเป็นร่างแหเส้นใยอันเดียวกันค่ะ เอาล่ะค่ะ คราวนี้ลองตัดแมงมุมทิ้งไป ร่างแหนั้นเป็นร่างแหต่อเนื่องของเส้นใยคอลลาเจนและเส้นใยอีลาสติน (Elastin) ซึ่งสามารถโตต่อไป ไม่ว่าจะหนาขึ้น หรือบางลง จนทำให้เกิดเป็นเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มอวัยวะ เส้นใยต่างๆ หรือแม้กระทั่งกระดูกอ่อน โดยรวมแล้ว โครงสร้างทั้งหมดนี้ล้วนมาจากพังผืดนั่นเองค่ะ

พังผืดได้ถูกรับการเสนอชื่อให้ยกระดับสถานะดีขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ค่ะ เหล่านักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าพังผืดเป็นเนื้อเยื่อที่ทำงานได้ พวกเขาเชื่อว่ามันหดตัวและคลายตัวได้เหมือนกล้ามเนื้อ (ถึงแม้ว่าจะเป็นอัตราที่ช้าก็ตาม) สามารถหดตัวกลับได้เหมือนเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ มีการตอบสนองการรับรู้ความรู้สึกได้เหมือนเส้นประสาท และเชื่อมกล้ามเนื้อทั้งหมด 650 มัดให้ทำงานเหมือนเป็นหน่วยเดียวกัน และก็ยังถูกมองว่าเป็นสาเหตุหลักของอาการปวดเรื้อรังและการบาดเจ็บของนักวิ่งด้วยค่ะ

13-6 การสร้างความแข็งแรงของเนื้อเยื่อพังผืดในนักวิ่ง-3 โรเบิร์ต เชลพ์ (Robert Schleip) หัวหน้าโครงการวิจัยพังผืดได้ให้สัมภาษณ์นิตยสาร “Men’s Health” ไว้ในปี 2009 ว่า พังผืดเป็นเหมือนเครื่องมือสำหรับ “การชดเชยทางโครงสร้างร่างกาย”  พังผืดเป็นตัวรับผิดชอบการทรงท่า เมื่อพวกเราปีนบันได หรืออยู่ในท่านั่งห่อตัวหน้าโต๊ะทำงาน เรากำลังอยู่ในการทรงท่าที่หลากหลาย และเมื่อนานเข้าก็จะกลายเป็นท่าทางเฉพาะถาวรของแต่ละคนไปค่ะ ในแนวคิดนี้ พังผืดก็เหมือนกับเสื้อสเวตเตอร์ เมื่อดึงด้านหนึ่งของเสื้อสเวตเตอร์ แต่เส้นใยผ้าอีกด้านทั้งหมดก็มีการเคลื่อนไหวตามไปด้วยค่ะ ดังนั้นแรงตึงตัวที่พื้นที่หนึ่งสามารถส่งผลถึงทุกๆส่วนของร่างกาย และส่งผลถึงการทรงท่าได้ค่ะ การหดรั้งที่ถูกสร้างขึ้นระหว่างพังผืดส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บที่สร้างอาการปวดเรื้อรัง และแผ่ไปถึงตลอดทั่วทั้งร่างกายได้ เมื่อมองในแบบนี้ ภาวะเส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบจึงไม่ใช่การบาดเจ็บที่เท้าอีกต่อไป แต่สามารถมีสาเหตุมาจากข้อสะโพก หลัง หรือไหล่ได้ง่ายๆ เชลพ์ และผู้อื่นที่ศึกษาทางด้านนี้เชื่อว่าการออกกำลังกายเพื่อคลายกล้ามเนื้อและพังผืด (Myofascial release exercises) และการยืดแบบเฉพาะเจาะจงสามารถพัฒนาการทรงท่า ลดอาการปวด และแก้การบาดเจ็บได้

13-6 การสร้างความแข็งแรงของเนื้อเยื่อพังผืดในนักวิ่ง-4

คำแนะนำการฝึกซ้อมสำหรับพังผืด

เพื่อนๆไม่จำเป็นต้องเชื่ออย่างแท้จริงเหมือนกับเชลพ์และเห็นถึงคุณค่าของการยืดกล้ามเนื้อ การใช้โฟมโรลเลอร์ในการยืด และการออกกำลังเพื่อเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อก็ได้นะคะ อย่างไรก็ตาม การยืดก็ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายโดยรวมค่ะ การออกกำลังกายเหล่านี้สามารถทำได้ตั้งแต่การฝึกซ้อมด้วยแรงต้าน ไปจนถึงการฝึกซ้อมแบบพลัยโอเมตริก (Plyometrics) และการฝึกฟอร์มการวิ่งค่ะ

ขอให้เพื่อนนักวิ่งมีพังผืดทั้งร่างกายที่ไม่หดรั้งกันนะคะ

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: