Explore the Knowledge for Runner
ความยาวในการวิ่งซ้ำ (วินาที) |
ปริมาณในการวิ่งซ้ำ
(จำนวนครั้ง) |
ระยะเวลาในการพัก
(นาที) |
30 |
10 – 15 | 1 – 1.5 |
45 |
8 – 12 | 1.5 – 2 |
60 | 6 – 8 |
2 – 3 |
90 | 4 – 6 |
4 – 5 |
120 | 4 – 6 |
4 – 5 |
ความหนักในการวิ่งขึ้นเนินซ้ำเท่ากับ 1500 เมตร ถึง 3 กิโลเมตร เพื่อนๆควรหยุดการฝึกซ้อมโดยที่ยังสามารถทำซ้ำได้อีก 1 – 2 ชุด
การวิ่งขึ้นเนินซ้ำเป็นส่วนผสมของความแข็งแรง กำลัง และความทนทานซึ่งไม่สามารถทดแทนได้ด้วยการฝึกซ้อมอื่นๆค่ะ ลองค้นหาเนินที่ท้าทายแต่ไม่ชันจนเกินไปจนเพื่อนๆไม่สามารถก้าวขาให้ดีได้ดู อย่าดูแต่เวลาที่ใช้ในการวิ่งซ้ำแต่ละรอบ นักวิ่งส่วนใหญ่มักจะจับเวลาตอนเริ่มต้นการวิ่งซ้ำแล้วจึงหยุดอีกครั้งเมื่อการวิ่งซ้ำจบลง แล้วจึงเอาเวลาที่จับได้นั้นมาเป็นเวลาเป้าหมายในการวิ่งซ้ำรอบต่อไป ซึ่งสำหรับการวิ่งขึ้นเนินนี้ไม่ควรใช้เวลาในการวิ่งซ้ำ แต่ให้ใช้ความหนักแทนค่ะ ความหนักที่เหมาะสมคือความหนักที่ใช้ในการแข่ง 1500 เมตรถึง 3 กิโลเมตร (ไม่ใช่ความเร็วนะคะ เพราะการวิ่งขึ้นเนินอาจช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับความชันของเนิน พื้นผิวของเนิน และปัจจัยอื่นๆที่หลากหลาย ทำให้เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้และยากมากที่จะวิ่งไปให้ถึงเป้าหมายความเร็วที่กำหนดไว้) ควรใช้ “กฎของการทำซ้ำ” สำหรับการฝึกซ้อมนี้ ควรจบการฝึกซ้อมที่ความรู้สึกว่าคุณสามารถที่จะวิ่งได้แบบที่ซ้อมนั้นอีกสัก 1 – 2 รอบ ไม่ควรฝึกเกินกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ (2 – 3 ครั้งต่อเดือน) ซึ่งเพียงพอแล้วสำหรับการฝึกซ้อมประเภทนี้ ควรหยุดการซ้อมที่ความรู้สึกเหมือนกับเพื่อนๆยังสามารถวิ่งเพิ่มได้อีก 1 – 2 รอบ การวิ่งขึ้นเนินซ้ำสามารถพัฒนาเรื่องต่อไปนี้
ตัวอย่างการใช้ตาราง
หากเพื่อนๆเป็นนักวิ่งที่ต้องการเพิ่ม Stroke volume และเลือกวิ่งประมาณ 30 วินาทีต่อรอบ คุณสามารถวิ่งซ้ำได้ 10 – 15 รอบ และให้มีช่วงพักระหว่างรอบ 1 – 1.5 นาทีค่ะ
ขอให้เพื่อนนักวิ่งได้ความแข็งแรงของหัวใจและหลอดเลือดที่เพิ่มขึ้นจากการวิ่งขึ้นเนินซ้ำกันนะคะ
Recent Comments