การฝึกซ้อมเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าในนักวิ่ง – การวิ่งเก็บระยะ (Milage)

นักวิ่งมักใช้คำว่า “การวิ่งเก็บระยะ” นี้ เป็นคำเรียกระยะการวิ่งที่วิ่งมาตลอดทั้งสัปดาห์ การวิ่งเหยาะๆ การวิ่งขึ้นเนิน การวิ่งเร่ง การวิ่งรักษาความเร็ว การวิ่งระยะไกล ทั้งหมดนี้ได้ถูกรวมเข้าเป็นคำว่า การวิ่งเก็บระยะทางต่อสัปดาห์ เมื่อกลายเป็นการวิ่งเก็บระยะ จึงไม่มีตัวเลขมหัศจรรย์ ไม่มีระยะเป้าหมายต่อสัปดาห์ที่จะยืนยันความสำเร็จได้ ความจริงแล้วนักวิ่งควรแทนคำว่าการวิ่งเก็บระยะเป็นคำว่าปริมาณแทน เพราะจริงๆแล้วควรเป็นเวลารวมที่เพื่อนๆใช้ไปในการฝึกซ้อมที่ความหนักแตกต่างกันมากกว่า ซึ่งเวลารวมนั้นมีความสำคัญกว่าระยะทางรวม ลองคิดดูสิคะ นักวิ่งจริงจังวิ่ง 100 ไมล์ต่อสัปดาห์ ที่ความเร็ว 6 นาทีต่อไมล์ซึ่งนับรวมแล้วต้องใช้เวลาทั้งหมด 10 ชั่วโมง กับนักวิ่งที่วิ่ง 5 กิโลเมตรในเวลา 27 นาที วิ่ง 100 ไมล์ ต้องใช้เวลาถึง 20 ชั่วโมง นักวิ่งจริงจังจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นในขณะนักวิ่งคนที่ 2 นั้น ร่างกายอาจพังไปก่อนได้ จำไว้นะคะว่า เพื่อนๆจะได้เป็นตามที่เพื่อนๆฝึกซ้อมนั่นแหละค่ะ ไม่ใช่ดูแค่ระยะทางที่วิ่งได้อย่างเดียวนะคะ

มีคนกล่าวว่า “การเพิ่มปริมาณเวลาคือหลักการของการพัฒนาตนเอง” การพัฒนาที่ยืนยาวขึ้นอยู่กับปริมาณเวลาที่ยาวนาน ลองคิดเป็นเดือน หรือปี ไม่ใช่วัน หรือสัปดาห์นะคะ และปริมาณที่สูงขึ้นสามารถพัฒนาความหนาแน่นของไมโตคอนเดรียในเส้นใยกล้ามเนื้อแบบหดตัวช้าระยะสั้นได้ นอกจากนี้ยังเพิ่มความสามารถทาง Running economy (เหนื่อยน้อยลงที่ความเร็วเท่าเดิม) เพิ่มปริมาณเลือด เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และมากกว่านั้นอีกมากมายค่ะ

ขอป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์สมองของเพื่อนๆแบบง่ายๆว่า เพื่อนๆไม่สามารถสร้างร่างกายนักวิ่งให้ดีที่สุดได้ โดยไม่ได้สร้างความต่อเนื่อง และจำนวนระยะทางที่มากขึ้น และคำว่า “ความต่อเนื่อง” และ “จำนวนมากมาย” นั้น จะมีความหมายแตกต่างกันในร่างกายนักวิ่งแต่ละคนค่ะ

ขอให้เพื่อนนักวิ่งค้นพบ “ความต่อเนื่อง” และ “จำนวนมากมาย” ของตนเองกันนะคะ

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: