VO2max คืออะไร

ในฐานะนักวิ่ง เราได้ยินคำว่า VO2max บ่อยมากใช่ไหมคะ มันเป็นคำที่นักสรีรวิทยาการออกกำลังกาย โค้ช  หรือคนที่บ้าการออกกำลังกายนั้นชื่นชอบมาก ว่าแต่มันหมายความว่ายังไงกันแน่

ก่อนอื่น มาดูความหมายของคำมันเองนะคะ ตัว “V” ย่อมาจาก “Volume” หรือปริมาตรส่วน “O2” ย่อมาจาก “Oxygen” หรือออกซิเจน และคำว่า “max” มาจาก “Maximum” เมื่อนำมารวมกันจึงได้ความหมายว่า “ปริมาตรสูงสุดของออกซิเจนที่ร่างกายเพื่อนๆบริโภคไปในหนึ่งนาที”

ในขณะพัก เพื่อนๆไม่ได้ใช้ออกซิเจนใกล้เคียงกับ VO2max เลย นั่นเป็นเพราะว่าความต้องการพลังงานที่ต้องสร้างจากออกซิเจนต่ำมาก แต่เมื่อเพื่อนๆเริ่มต้นออกกำลังกาย ความต้องการพลังงานของจึงเพิ่มมากขึ้น ระบบหัวใจและหลอดเลือดนำส่งเลือดที่เต็มไปด้วยออกซิเจนไปที่หลอดเลือดฝอยมากขึ้น เส้นใยกล้ามเนื้อของเพื่อนๆดึงออกซิเจนไปใช้มากขึ้นและไมโตคอนเดรียของเพื่อนๆก็ใช้ออกซิเจนเหล่านั้นไปเป็นวัตถุดิบในการสร้างพลังงานมากขึ้น แต่กระบวนการเหล่านี้มีข้อจำกัดสูงสุด มีออกซิเจนปริมาณสูงระดับหนึ่งที่ถูกนำส่งและถูกนำไปใช้ในการสร้างพลังงานเท่านั้น เมื่อร่างกายของเพื่อนๆไม่สามารถใช้ออกซิเจนมากไปกว่านั้นแล้ว นั่นคือเวลาที่เพื่อนๆได้ไปถึงจุดของ VO2max แล้วล่ะค่ะ

นักวิ่งส่วนใหญ่ (ขึ้นอยู่กับความฟิตของร่างกายแต่ละคน) จะไปถึง VO2max ของตนเองได้ด้วยการออกแรงด้วยความพยายามสูงสุดที่พวกเขาสามารถคงความหนักไว้ได้ในเวลา 5 – 7 รอบบนลู่วิ่ง นั่นหมายความว่าที่ความเร็วใดก็ตามที่เร็วกว่า VO2max (เช่น 800 เมตร ถึง 1ไมล์) จะต้องการพลังงานมากกว่าที่เพื่อนๆจะสร้างได้จากออกซิเจน ความต้องการพลังงานที่มากขึ้นของเพื่อนๆจะไปกระตุ้นการสร้างพลังงานจากแหล่งที่ไม่ต้องใช้ออกซิเจน ในอีกแง่หนึ่งที่ความเร็วใดก็ตามที่ช้ากว่า VO2max (การวิ่ง 10 กิโลเมตร หรือมาราธอน) สามารถใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานที่สร้างจากออกซิเจนได้เกือบทั้งหมด จริงๆแล้ว นักวิ่งมาราธอนใช้พลังงานจากออกซิเจนถึง 99% เลยล่ะค่ะ

การวัดค่า VO2max ทำได้ 2 วิธี

  1. คำนวณปริมาณการบริโภคออกซิเจนจากน้ำหนักตัว:วิธีนี้จะวัดออกซิเจนเป็นหน่วยมิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อนาที (mL/kg/min) นักกีฬาจักรยานที่ชนะรายการตูร์เดอฟร็องส์ เกรก เลอมอนด์ (Greg LeMond) มี VO2max 92.5 mL/kg/min ในขณะที่ ผู้ชายที่ไม่ได้ออกกำลังกายมีค่า VO2max อยู่ที่ 40 – 45 mL/kg/min
  2. คำนวณปริมาณบริโภคออกซิเจนจากอัตราใช้สูงสุดจริง:นี่คือค่าปริมาณออกซิเจนที่บริโภคทั้งหมดต่อนาที นักพายเรือชาวอังกฤษนามว่า เซอร์ แมทธิว พินเซนต์ (Sir Matthew Pinsent) ผู้ชนะเหรียญทองโอลิมปิคติดต่อกัน 4 ครั้ง ได้รับการบันทึกว่ามี VO2max เท่ากับ 5 ลิตรต่อนาที มากกว่านักปั่นจักรยาน นักวิ่ง หรือนักสกีข้ามเมืองคนใดในประวัติศาสตร์แม้ว่าเมื่อเทียบกับน้ำหนักของเขาแล้วจะได้ 68 mL/kg/min  ที่น้ำหนักร่างกายมากกว่า 109 กิโลกรัม พินเซนต์ตัองการระดับการบริโภคออกซิเจนที่ระดับสูงสุดเพื่อแข่งขันพายเรือระยะทางไกล ค่าบริโภคออกซิเจนเฉลี่ยในผู้ชายที่ไม่ได้ออกกำลังกายคือ 3 ลิตรต่อนาทีค่ะ

การฝึกซ้อมตามปกติแล้ว ช่วยเพิ่ม VO2max ในนักวิ่งที่ก่อนหน้านี้ไม่ได้ฝึกซ้อมมาก่อนได้มากถึง 20 – 25% ถึงแม้ว่าช่วงที่ถูกต้องจริงๆนั้นอาจหลากหลายได้จากค่าติดลบไปจนถึงดีเกินกว่า 50%

ในนักวิ่งที่ได้มีการฝึกซ้อมมาก VO2max จะไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากการฝึกซ้อมมากนัก เพราะมันได้ปรับตัวมาแล้วเรียบร้อย ในฐานะผู้คาดการณ์สมรรถนะจากค่า VO2max นั้น VO2max เปรียบเหมือนกองหลังของปัจจัยอื่นๆมากมาย (เช่น Running economy – วิ่งเหนื่อยน้อยลงที่ความเร็วเท่าเดิม) แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม มันก็ยังคงมีคุณค่าต่อการตัดสินศักยภาพของการวิ่งอยู่ค่ะ

ขอให้เพื่อนนักวิ่งมี VO2max เพิ่มขึ้นได้มากจากการฝึกซ้อมกันนะคะ

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: