Explore the Knowledge for Runner
การวิ่งของเพื่อนๆจะดีได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการสร้างเชื้อเพลิงของร่างกายเพื่อนๆค่ะ การสร้างร่างกายนักวิ่งที่ดีและส่งพลังงานให้กับมันอย่างเพียงพอนั้น เปรียบเทียบได้กับรถเฮนเนสซี่วีโนมจีที (Hennessey Venom GT) ที่สามารถวิ่งได้เร็วที่สุดถึง 260 ไมล์ต่อชั่วโมง (สามารถเร่งความเร็วได้ 0 – 60 ไมล์ต่อชั่วโมงภายใน 2.5 วินาที) พร้อมกับน้ำมันที่เต็มถัง การสร้างระบบพลังงานของเพื่อนๆนั้นต้องเริ่มต้นด้วยอาหาร ซึ่งมีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน และสารอาหารอื่นๆ ที่เพื่อนๆเลือกที่จะทานเข้าไปในแต่ละวัน และจบลงที่ร่างกายของเพื่อนๆนำอาหารเหล่านั้นไปสร้างเป็น ATP ซึ่งก็คือโมเลกุลที่ให้พลังงานกับทุกการเคลื่อนไหวของร่างกายที่เพื่อนๆสร้างขึ้นมา ตั้งแต่การหดตัวของกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็ว ไปจนถึงการกระโดดให้ไกลที่สุด ส่วนที่เพื่อนๆจะชอบมากที่สุดในการฝึกระบบพลังงานคือการเลือกอาหารสุขภาพจากเมนู แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดคือการสอนร่างกายของเพื่อนๆให้เปลี่ยนจากกล้วยหอมและพาสต้าไปเป็นสมรรถนะการวิ่งที่เร็วขึ้น และฟิตขึ้นนั่นเองค่ะ
ระบบพลังงานของร่างกายคืออะไร?
ร่างกายต้องใช้พลังงานในการวิ่ง เปรียบเหมือนกับอุปกรณ์ไฟฟ้าในครัวที่ต้องการกระแสไฟฟ้า รีโมททีวีต้องการถ่านแบตเตอรี่ และรถต้องการน้ำมันเติมเข้าไปในถัง อย่างไรก็ตาม พลังงานที่เพื่อนๆต้องใช้ในฐานะนักวิ่งนั้น ไม่ได้มาในรูปแบบที่พร้อมจะเผาผลาญทันที ไม่เหมือนกับไฟฟ้า ถ่านแบตเตอรี่ หรือน้ำมันค่ะ
แรงการเคลื่อนไหวของร่างกายมนุษย์นั้นได้พลังงานมาจากโมเลกุลหนึ่งที่เรียกว่า ATP (adenosine triphosphate) เพื่อนๆทานอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน (แคลอรี่) แต่อาหารที่ทานนั้นไม่ได้อยู่ในรูปพลังงานที่สามารถนำไปใช้ขณะวิ่งได้โดยตรงในทันที แต่ระบบพลังงานจะย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนให้เล็กลง แล้วจึงนำพลังงานเหล่านั้นไปสร้างเป็น ATP และก็คือ ATP นี่เอง ที่ให้พลังงานกับการวิ่งของเพื่อนๆค่ะ
เพื่อนๆมีระบบพลังงานเพียงระบบเดียว เป็นระบบที่ใช้สร้าง ATP แต่มันจะง่ายกว่านั้นหากเพื่อนๆเข้าใจการทำงานของระบบพลังงาน ถ้าเราแบ่งระบบพลังงานออกเป็นระบบย่อยๆ จะแบ่งได้ 3 ระบบ คือระบบที่สร้างพลังงานโดยใช้ออกซิเจน 1 ระบบ และไม่ใช้ออกซิเจน 2 ระบบ ซึ่งระบบที่ไม่ใช้ออกซิเจนจะมีระยะเวลาที่จำกัด ส่วนระบบที่ใช้ออกซิเจนสามารถให้พลังงานเป็นเวลานานกว่า ระบบทั้ง 3 นี้คือ
ทั้งสามระบบนี้ ทำงานด้วยกันเพื่อให้แน่ใจว่าเพื่อนๆมี ATP อย่างเพียงพอเสมอ ความจริงแล้ว พวกมันสร้างเชื้อเพลิง เอนไซม์ และผลิตผลอื่นๆที่สามารถใช้ได้โดยระบบอื่นๆ ด้วย เช่น ระบบไกลโคไลติกสร้างแลคเตท ซึ่งสามารถใช้ได้โดยระบบแอโรบิคในการผลิต ATP ในอีกแง่มุมหนึ่ง ระบบเหล่านี้คือระบบที่ต้องพึ่งพากันและกัน เมื่อจำไว้อย่างนี้แล้ว เรามารู้จักหลักการของระบบพลังงานหลัก 4 ข้อกันค่ะ
การอธิบายระบบพลังงานทั้งสามเพิ่มเติมนั้น เราจะคุยกันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพลังงานอื่น 2 ชนิดก่อนนั่นก็คือ เอนไซม์แอโรบิค และความร้อนของร่างกาย เอนไซม์แอโรบิคเป็นองค์ประกอบหลักในการสร้างพลังงานจากไมโตคอนเดรีย และความร้อนของร่างกายได้ถูกสร้างขึ้นจากกระบวนการสร้าง ATP และกระบวนการใช้ ATP ค่ะ
เพื่อนๆสามารถฝึกระบบพลังงานของร่างกายได้โดยการฝึกซ้อมที่ท้าทายทั้งเชื้อเพลิง, เอนไซม์ และกระบวนการต่างๆ (เช่น การเคลื่อนย้ายแลคเตท) ที่เกี่ยวข้องกับแต่ละระบบ เพื่อช่วยการตัดสินใจให้กับระบบเชื้อเพลิงว่าจะทำงานในลักษณะใด เราจะแตกความหลากหลายของการฝึกซ้อมไปตามความต้องการใช้แคลอรี่ของร่างกาย เช่นเดียวกันกับการประมาณการสนับสนุนจากคาร์โบไฮเดรต และไขมันที่เราทานเข้าไปค่ะ
ระยะทางในการวิ่ง/การแข่งขัน |
แอโรบิค | ไกลโคไลติค (แอนแอโรบิค) | ฟอสฟาเจน (แอนแรโรบิค) | แอนแอโรบิคทั้งหมด |
100 เมตร |
20.0% | 33.3% | 46.7% | 80.0% |
200 เมตร | 28.0% | 51.3% | 20.7% |
72.0% |
400 เมตร |
41.0% | 49.6% | 9.4% | 59.0% |
800 เมตร | 60.0% | 35.9% | 4.1% |
40.0% |
1500 เมตร |
77.0% | 21.0% | 2.0% | 23.0% |
3 กิโลเมตร | 86.0% | 13.0% | 1.0% |
14.0% |
5 กิโลเมตร |
92.0% | 7.5% | 0.5% | 8.0% |
10 กิโลเมตร | 96.0% | 3.7% | 0.3% |
4.0% |
ฮาล์ฟมาราธอน |
98.0% | 1.9% | 0.1% | 2.0% |
วิ่งเทมโปเร็ว | 98.5% | 1.4% | 0.1% |
1.5% |
วิ่งเทมโปช้า |
99.0% | 1.0% | 0.1% | 1.0% |
มาราธอน | 99.5% | 0.4% | 0.1% |
0.5% |
วิ่งไกล |
99.7% | 0.3% | 0.0% | 0.3% |
วิ่งเก็บระยะปกติ | 99.8% | 0.2% | 0.0% |
0.2% |
วิ่งฟื้นตัว | 99.9% | 0.1% | 0.0% |
0.1% |
ระบบพลังงาน
เพื่อนๆมีระบบพลังงาน 3 ระบบที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมงต่อวันเพื่อจัดหา ATP ให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เป็นที่แน่นอนว่าทั้ง 3 ระบบไม่ได้ทำงานเต็มกำลังความสามารถตลอด 24 ชั่วโมง และก็ไม่ได้ทำการสนับสนุนการสร้างพลังงานอย่างเท่าเทียมกันในทุกกิจกรรมด้วย ระบบพลังงานทำงานเฉพาะเจาะจงมากกว่านั้น แต่ละระบบจะทำงานให้เหมาะสมมากที่สุดต่อความต้องการพลังงานของร่างกายที่แตกต่างกันไป ตารางที่แนบมานี้ เป็นการประมาณการสนับสนุนจากระบบพลังงานที่ระดับความหนักของการวิ่งที่แตกต่างกันไป (ดูจากความเร็ว หน่วยนาทีต่อกิโลเมตร) การวิ่งเร่งต้องการใช้พลังงานแบบไม่ใช้ออกซิเจนเกือบทั้งหมด โดยที่พลังงานประมาณ 50% นั้นได้มาจากระบบฟอสฟาเจนเพียงอย่างเดียว ในขณะที่การวิ่งมาราธอนจะเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม นั่นก็คือ พลังงาน 99% ได้มาจากระบบแอโรบิค เราจะมาดูระบบพลังงานแต่ละระบบกันเพื่อดูว่าจริงๆแล้วพวกมันทำงานอย่างไร (และจะฝึกพวกมันให้ดีขึ้นได้อย่างไร) โดยเริ่มจากการกล่าวถึง ATP โดยรวมอย่างสั้นๆกันก่อน แล้วเราค่อยมาทำความรู้จักกับแต่ละระบบในแต่ละหัวข้อที่แยกออกไปนะคะ
เรามารู้จักพลังงานหลักของร่างกายที่มีชื่อว่า ATP กันนะคะ
ATP ได้ถูกเรียกว่าเป็น “สกุลเงินใช้ร่วมกัน” ของระบบพลังงาน ไม่ว่าเพื่อนๆจะวิ่งเร่ง วิ่งไกล หรือแค่มองออกไปนอกหน้าต่างคิดว่ากำลังจะออกไปวิ่ง ATP ก็จะยังทำหน้าที่ให้พลังงานเพื่อให้เพื่อนๆสามารถทำเรื่องเหล่านี้ได้อย่างราบรื่น ถ้ากล้ามเนื้อหดตัวคือเครื่องหยอดเหรียญเพื่อฟังเพลงแล้วล่ะก็ ATP ก็คือเหรียญที่เพื่อนๆใช้หยอดนั่นเองค่ะ
เพื่อนๆเริ่มต้นแต่ละวันด้วยการใช้ ATP ประมาณ 100 กรัมในร่างกาย แล้วจึงมีการนำกลับมาใช้ใหม่เท่าที่ร่างกายต้องการ แต่ต้องขอเตือนล่วงหน้าไว้ก่อนว่า ATP ปริมาณ 100 กรัมนั้น ไม่ได้ให้พลังงานมากไปกว่าการนั่งอยู่บนโซฟาสัก 2 – 3 นาที หรือการวิ่งเพียงแค่ 2 – 3 วินาทีเท่านั้น ดังนั้น เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการพลังงานของร่างกายในแต่ละวัน ร่างกายเพื่อนๆจะนำโมเลกุล ATP มาใช้ใหม่ประมาณ 500 – 750 ครั้ง ซึ่งจะได้ปริมาตรของ ATP โดยประมาณเท่าๆกับน้ำหนักของเพื่อนๆเอง การฝึกซ้อมความหนักมากจะเพิ่มความต้องการใช้พลังงานได้มากถึง 100% เลยล่ะค่ะ
เพื่อนๆมักจะมีระบบการชดเชย ATP เล็กๆในเส้นใยกล้ามเนื้อของเพื่อนๆเอง ถ้าไม่มีระบบชดเชยเหล่านี้ เพื่อนๆจะได้พบกับภาวะกล้ามเนื้อแข็งตัว (Rigor mortis) เมื่อใช้งานกล้ามเนื้อไปมากๆ และ ATP มีไม่เพียงพอต่อความต้องการได้ แต่ด้วยก้าวแรกของการวิ่ง ร่างกายของเพื่อนๆก็เริ่มสร้าง ATP เหล่านั้นขึ้นทันที เพื่อให้การวิ่งสามารถดำเนินต่อไปได้ ระบบแรกที่ต้องติดเครื่องให้ได้อย่างรวดเร็ว และทันท่วงที นั่นก็คือ ระบบฟอสฟาเจน ระบบที่สองที่จะทำงานต่อคือ ระบบไกลโคไลติค และระบบสุดท้ายที่จะถูกจุดให้เครื่องติดเพื่อการใช้งานนานๆนั่นก็คือ ระบบแอโรบิคค่ะ
เพื่อนๆสามารถอ่านรายละเอียดการทำงานของแต่ละระบบในหัวข้อที่แยกออกไปนะคะ สำหรับหัวข้อนี้จะขอเขียนถึงการทำงานร่วมกันของทั้งสามระบบค่ะ
และแล้วเราก็มาถึงช่วงเวลาเรียนรู้ว่า การทำให้ระบบพลังงานทั้ง 3 ระบบของเพื่อนๆพร้อมสำหรับการแข่งขันนั้นจะต้องทำอย่างไร
นักวิ่งส่วนใหญ่จะแปลกใจที่ค้นพบว่าในช่วง 30 – 50 วินาทีแรกของการแข่งขันสนามใดๆนั้น พลังงานส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากการสร้างแบบไม่ใช้ออกซิเจนเพียงอย่างเดียว เราอาจจะคุ้นเคยกับความคิดว่าตอนเริ่มต้นการแข่งขันจะเป็นการใช้พลังงานที่ไม่ได้สร้างจากออกซิเจน และจะใช้พลังงานจากการสร้างแบบใช้ออกซิเจนมากขึ้นเมื่อการแข่งขันได้ดำเนินต่อไป แต่หลักการกลับไม่เป็นเช่นนั้น ความจริงก็คือระบบพลังงานทั้ง 3 ระบบจะถูกกระตุ้นให้ทำงานพร้อมกันในวินาทีแรกที่เราระเบิดตัวเองออกจากจุดปล่อยตัว เพราะว่าพลังงานที่ต้องการอย่างฉับพลันในช่วงแรกของการแข่งขันนั้นเกินกว่าที่จะสามารถสร้างได้จากการใช้ออกซิเจนอย่างทันทีทันใด จนกว่าจะมีออกซิเจนปริมาณเพียงพอถูกส่งไปที่เส้นใยกล้ามเนื้อของเพื่อนๆ และไพรูเวทได้ถูกนำส่งไปที่ไมโตคอนเดรียแล้วเท่านั้น ดังนั้น ระบบการสร้างพลังงานแบบไม่ใช้ออกซิเจน (ฟอสฟาเจน และไกลโคไลติค) จะต้องรับหน้าที่หลักในช่วงแรกนี้ไปก่อน โดยช่วงเวลาประมาณ 30 วินาที จนเข้าสู่ช่วงการวิ่งที่นานขึ้น (เช่น ที่ระยะทาง 1500 เมตร หรือมากกว่านั้น) ระบบพลังงานที่สร้างจากออกซิเจนจะกลายมาเป็นแหล่งพลังงานหลักแทน แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นการแข่งขันช่วงสั้นๆ เช่น 400 เมตร และ 800 เมตร ระบบพลังงานที่สร้างจากออกซิเจนเริ่มต้นที่จะมีบทบาทหลักต่อการสร้างพลังงานในช่วง 40 – 50 วินาทีแรก ดังการศึกษาของ ดัฟฟิลด์ (Duffield), ดอว์สัน (Dawson) และกู๊ดแมน (Goodman) ในปี 2003 ที่กล่าวว่า ในการแข่งขันวิ่งที่ความหนักน้อยกว่าปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุด (เช่น 5 กิโลเมตร หรือนานกว่านั้น) ระบบพลังงานที่สร้างจากออกซิเจนจะทำหน้าที่ในการสร้างพลังงานเกือบทั้งหมด แต่ในการแข่งวิ่งระยะสั้น ความต้องการพลังงานจะมีมากเกินกว่าระบบพลังงานที่สร้างจากออกซิเจนระบบเดียวจะทำได้ และระบบสร้างพลังงานโดยไม่ใช้ออกซิเจนจะยังคงช่วยเหลือด้วยการทำงานต่อไป จนกว่าจะมีการสร้างภาวะกรดและปัจจัยอาการล้าอื่นๆผลักดันให้เพื่อนๆวิ่งช้าลงจนหยุดเอง แต่ความเจ็บปวดที่เพื่อนๆรู้สึกระหว่างช่วงสุดท้ายของการแข่งขัน หรือความรู้สึกว่ามีหมีตัวใหญ่กระโดดขึ้นขี่คอเพื่อนๆอยู่ ยังไม่ใช่จุดที่เพื่อนๆ “เปลี่ยนระบบพลังงานเป็นระบบสร้างพลังงานที่ไม่ใช้ออกซิเจน” แต่มันเป็นจุดที่มีของเสียจากการใช้พลังงานจากการสร้างที่ไม่ใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นต่างหาก และของเสียเหล่านั้นได้ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการแข่งขันและสะสมมากขึ้นเรื่อยๆจนมากเกินไปที่ร่างกายจะทนได้ค่ะ
เอนไซม์แอโรบิค
เรามาทำความรู้จักกับสารที่มีประโยชน์ต่อการสร้างพลังงานอีกสักตัวกัน นั่นก็คือ “เอ็นไซม์แอโรบิค” ค่ะ
เอ็นไซม์แอโรบิคคือผู้ช่วยตัวเล็กๆของไมโตคอนเดรีย กลุ่มโปรตีนนี้จะพัฒนาความสามารถของไมโตคอนเดรียเพื่อสนับสนุนการสร้างพลังงานแบบใช้ออกซิเจนโดยการเพิ่มประสิทธิภาพของปฏิกิริยาเคมีภายในไมโตคอนเดรีย ระหว่าง 5 วินาทีแรกของการเริ่มต้นออกกำลังกาย เอ็นไซม์เหล่านี้จะทำงาน และระดับกิจกรรมการทำงานของพวกมันจะเพิ่มขึ้นในทุกๆความเร็วที่เพิ่มขึ้นจนถึงความเร็วในการวิ่งมาราธอน ความจริงแล้ว การฝึกซ้อมที่ความเร็วในการวิ่งมาราธอนแบบเทมโปนั้นเป็นทางที่ดีในการกระตุ้นการสร้างเอ็นไซม์แอโรบิคให้มีมากขึ้น หากวิ่งด้วยความเร็วมากกว่าความเร็วมาราธอน ภาวะกรดอาจเกิดขึ้นได้ และมันจะส่งผลลบและแม้กระทั่งทำลายเอ็นไซม์เหล่านี้ได้ค่ะ
คำแนะนำการฝึกซ้อม
เอ็นไซม์แอโรบิคเป็นเครื่องประดับของการวิ่งแบบเทมโป ไม่ว่าจะเป็นเทมโปแบบช้า เทมโปแบบเร็ว และเทมโปแบบเป็นช่วง ในทางกลับกัน การวิ่งความเร็วสูงอาจฆ่าเอ็นไซม์เหล่านี้ทิ้งได้ เพราะฉะนั้นอย่าทำให้ระบบพลังงานที่ใช้สร้างพลังงานโดยไม่ใช้ออกซิเจนต้องทำงานหนักจนเกินไปค่ะ
การจัดการกับพลังงานความร้อนที่เกิดจากการวิ่ง
เมื่อเราได้รู้จักระบบสร้างพลังงานกันไปแล้ว ช่วงนี้ก็มาถึงอีกเรื่องที่สำคัญควบคู่ไปกับพลังงานที่ใช้ในการวิ่ง นั่นก็คือ “พลังงานความร้อน” ค่ะ
การสร้าง ATP จะทำให้เกิดการสร้างความร้อนร่วมด้วยเสมอ ร่างกายมนุษย์ส่วนใหญ่จะมีอุณหภูมิกายประมาณ 98.6 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 37 องศาเซลเซียส เพื่อนๆไม่สามารถเพิ่มพลังงานให้กับระบบโดยไม่เกิดความร้อนขึ้นมาด้วยได้ ในกรณีของร่างกายมนุษย์เราเมื่อมีการสลายคาร์โบไฮเดรตและไขมัน จะมีการปลดปล่อยพลังงานเพื่อการสร้าง ATP และ ATP เหล่านั้นจะถูกใช้ไปเป็นพลังงานการหดตัวของกล้ามเนื้อ พลังงานที่สร้างมานี้แม้จะสร้างได้มากขึ้น แต่ไม่สามารถนำพลังงานไปใช้ได้ทั้งหมด เพื่อให้กล้ามเนื้อต้นขาหรือกล้ามเนื้อน่องหดตัวได้แรงขึ้น แต่ร่างกายกลับใช้พลังงานเพียงแค่ 25% ของพลังงานทั้งหมดที่สร้างมาเท่านั้น ส่วนพลังงานที่เหลือจะถูกปล่อยออกมาในรูปของความร้อน และความร้อนเหล่านั้นคือที่มาของอุณหภูมิร่างกายของเพื่อนๆนั่นเองค่ะ
เพื่อนๆเคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมถึงตัวสั่นเมื่อรู้สึกหนาว นั่นเป็นเพราะว่าอาการตัวสั่นต้องใช้การหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็ว เพื่อการสร้าง ATP และความร้อนมากขึ้น เป็นการแก้หนาวของร่างกายแบบง่ายๆ
เมื่อเพื่อนๆร้อน ร่างกายของเพื่อนๆจะตอบสนอง 2 อย่างคือ
ถึงแม้ว่าจะมีการเพิ่มการไหลเวียนเลือดและการหลั่งเหงื่อดังที่กล่าวมา อุณหภูมิแกนกลางร่างกายของเพื่อนๆก็จะยังคงเพิ่มขึ้นระหว่างการออกกำลังกาย โดยปกติแล้ว นั่นไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดี นักวิ่งทุกคนรู้ว่านั่นคือเครื่องมืออย่างดีในการอบอุ่นร่างกาย แต่เมื่ออากาศภายนอกร่างกายของเพื่อนๆร้อนมากขึ้นเรื่อยๆ (โดยเฉพาะถ้ามีความชื้นมากร่วมด้วย) ปัญหาก็อาจเกิดขึ้นได้
ถ้าอุณหภูมิอากาศสูงกว่า 37 องศาเซลเซียส ร่างกายของเพื่อนๆจะรับความร้อนจากอากาศ ในสถานการณ์นั้น การหลั่งเหงื่อออกจากร่างกายของเพื่อนๆคือหนทางเดียวที่จะทำให้ร่างกายเย็นลงได้บ้าง แต่แล้ว เหงื่อนั้นต้องได้รับการระเหยออกไปจึงจะทำให้กระบวนการนี้ได้ผล ถ้าอากาศชื้น อากาศไม่สามารถดูดซับเหงื่อจากร่างกายได้ และเหงื่อที่หยดลงไปบนพื้นนั้นก็ไม่สามารถช่วยในเรื่องลดความร้อนได้เลย ร่างกายจึงไม่เหลือหนทางไหนที่จะทำให้ตัวเย็นลงได้ เว้นแต่ว่าจะกระโดดลงไปในสระว่ายน้ำ ฉีดน้ำใส่ด้วยสายยาง หรือหยุดการออกกำลังกาย
อุณหภูมิ (องศาเซลเซียส) |
การปรับความเร็ว (นาทีต่อไมล์) โดยขึ้นกับความร้อนของอากาศ | |||||||||||
4:30 | 5:00 | 5:30 | 6:00 | 6:30 | 7:00 | 7:30 | 8:00 | 8:30 | 9:00 | 9:30 |
10:00 |
|
48.9 |
5:23 | 5:59 | 6:34 | 7:10 | 7:46 | 8:22 | 8:58 | 9:34 | 10:10 | 10:45 | 11:21 | 11:57 |
43.3 | 5:07 | 5:41 | 6:15 | 6:49 | 7:32 | 7:57 | 8:31 | 9:05 | 9:40 | 10:13 | 10:48 |
11:22 |
37.8 |
4:55 | 5:27 | 6:00 | 6:33 | 7:05 | 7:38 | 8:11 | 8:44 | 9:17 | 9:49 | 10:22 | 10:55 |
32.2 | 4:45 | 5:17 | 5:49 | 6:20 | 6:52 | 7:24 | 7:55 | 8:27 | 8:59 | 9:30 | 10:02 |
10:34 |
26.7 |
4:38 | 5:09 | 5:40 | 6:11 | 6:42 | 7:13 | 7:44 | 8:15 | 8:46 | 9:17 | 9:48 | 10:19 |
21.1 | 4:34 | 5:04 | 5:34 | 6:05 | 6:35 | 7:06 | 7:36 | 8:06 | 8:37 | 9:07 | 9:38 |
10:08 |
15.6 |
4:31 | 5:01 | 5:31 | 6:01 | 6:31 | 7:01 | 7:31 | 8:02 | 8:32 | 9:02 | 9:32 | 10:02 |
11.4 | 4:30 | 5:00 | 5:30 | 6:00 | 6:30 | 7:00 | 7:30 | 8:00 | 8:30 | 9:00 | 9:30 |
10:00 |
10.0 |
4:30 | 5:00 | 5:30 | 6:00 | 6:30 | 7:00 | 7:30 | 8:00 | 8:30 | 9:00 | 9:30 | 10:00 |
4.4 | 4:31 | 5:01 | 5:31 | 6:01 | 6:31 | 7:01 | 7:31 | 8:02 | 8:32 | 9:02 | 9:32 |
10:02 |
-1.1 |
4:34 | 5:04 | 5:34 | 6:05 | 6:35 | 7:06 | 7:36 | 8:06 | 8:37 | 9:07 | 9:38 | 10:08 |
-6.7 | 4:38 | 5:09 | 5:40 | 6:11 | 6:42 | 7:13 | 7:44 | 8:15 | 8:46 | 9:16 | 9:47 |
10:18 |
-12.2 |
4:45 | 5:17 | 5:48 | 6:20 | 6:52 | 7:23 | 7:55 | 8:27 | 8:58 | 9:30 | 10:02 | 10:33 |
-17.8 | 4:54 | 5:27 | 6:00 | 6:32 | 7:05 | 7:38 | 8:11 | 8:43 | 9:16 | 9:49 | 10:21 |
10:54 |
-23.3 |
5:07 | 5:41 | 6:15 | 6:49 | 7:23 | 7:57 | 8:31 | 9:05 | 9:39 | 10:13 | 10:47 | 11:21 |
– 28.9 | 5:22 | 5:58 | 6:34 | 7:10 | 7:46 | 8:21 | 8:57 | 9:33 | 10:09 | 10:45 | 11:20 |
11:56 |
ดังนั้นวิธีการแก้ไขปัญหาความร้อนที่มากเกินไปนี้ จึงสามารถสรุปเป็นข้อๆได้ต่อไปนี้
ยังมีข่าวดีอยู่นะคะ นั่นก็คือ ร่างกายของเราจะปรับตัวกับอากาศร้อนภายใน 2 สัปดาห์ ซึ่งตัวเลขนี้อ้างอิงจากการทบทวนวรรณกรรมโดยชาวออสเตรเลีย นามว่า ซอนเดอรส์ (Saunders) และกลุ่ม เขากล่าวว่า เมื่อร่างกายปรับตัวกับความร้อนได้ จะมีพลาสม่าในเลือดเพิ่มขึ้นมากถึง 12% อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง อัตราการหายใจมากขึ้น ร่างกายจะหลั่งเหงื่อมากขึ้น และความต้องการพลังงานของร่างกายจะลดลง สรุปได้ว่า ถ้าต้องการให้ร่างกายวิ่งได้ดีขึ้นในความร้อน เราก็ต้องฝึกร่างกายโดยการไปวิ่งในสถานที่ที่ร้อนเท่านั้นค่ะ
คำแนะนำการฝึกซ้อม
ร่างกายเราต้องใช้เวลาถึง 2 สัปดาห์ในการปรับตัวกับความร้อน และต้องการการฝึกซ้อมที่ถูกกระตุ้นได้ง่าย ให้เพื่อนๆวิ่งในช่วงเวลาอากาศเย็นที่สุดของวัน คือตอนเช้าหรือตอนเย็น และค่อยๆปรับความหนักและความเร็วให้เหมาะกับความร้อนและความชื้นในตอนนั้นค่ะ
การเติมเชื้อเพลิงให้กับร่างกาย
การเติมเชื้อเพลิงให้กับร่างกาย ก็คือการทานอาหารนั่นเอง เราจะพูดถึงรายละเอียดของอาหารการกินในตอนอื่นอีก ในตอนนี้เราจะไปดูใน 4 เรื่องเบื้องต้นที่เราต้องใส่ใจแบบเร็วๆกันนะคะ
บทสรุปการฝึกซ้อมเพื่อระบบการสร้างพลังงาน
เรากำลังจะแตกความต้องการพลังงาน (แคลอรี่) ตามชนิดการฝึกซ้อมที่แตกต่างไป และจัดทำเป็นตารางประมาณจากคาร์โบไฮเดรตและไขมัน และจะยังคงให้เคล็ดลับในการทานเพื่อเติมเชื้อเพลิงอีกด้วย เพื่อนๆสามารถติดตามการฝึกซ้อมเหล่านี้ได้ในกลุ่มหัวข้อ “การฝึกซ้อมเพื่อการวิ่ง” ค่ะ การฝึกซ้อมเหล่านั้นประกอบด้วย
บทสรุปสำหรับผู้เริ่มต้น
อย่าเริ่มต้นโปรแกรมการฝึกซ้อมใหม่และการควบคุมอาหารในช่วงเวลาเดียวกัน การปรับตัวต่อการฝึกซ้อมต้องการแคลอรี่และสารอาหารมาใช้มาก การที่เพื่อนๆหิวโหยทำให้การฝึกซ้อมให้ได้ผลนั้นมีแต่จะช้านานออกไปอีก การใช้พลังงานไปในการฝึกซ้อมอย่างหมดสิ้นจะลดความสนใจต่อการฝึกซ้อมลง ดังนั้น ในขั้นแรก ให้ฝึกซ้อมจนร่างกายฟิตก่อน แล้วจึงตัดสินใจอีกครั้งว่าเพื่อนๆต้องการที่จะผอมลงหรือเปล่าค่ะ
ขอให้เพื่อนนักวิ่งมีระบบพลังงานที่พร้อมทำงานร่วมกันทั้งสามระบบกันนะคะ
Recent Comments