ความเร็วการหดตัวของกล้ามเนื้อในนักวิ่ง

การฝึกซ้อมที่เหมาะสมสามารถเพิ่มความเร็วการหดตัวของกล้ามเนื้อได้ ความเร็วการหดตัวของกล้ามเนื้อวัดได้โดยจับเวลาที่กล้ามเนื้อใช้ตั้งแต่เริ่มการหดตัวจนถึงการหดตัวสูงสุด (กล้ามเนื้อสั้นที่สุด) ค่าเฉลี่ยความเร็วในการหดตัวในเส้นใยของกล้ามเนื้อชนิดต่างๆ คือ

  1. เส้นใยกล้ามเนื้อแบบหดตัวช้า: 100 – 110มิลลิวินาที
  2. เส้นใยกล้ามเนื้อแบบหดตัวเร็วปานกลาง: 60 – 70มิลลิวินาที
  3. เส้นใยกล้ามเนื้อแบบหดตัวเร็ว: 25 – 50มิลลิวินาที

ความเร็วการหดตัวของกล้ามเนื้อที่มากขึ้น ทำให้เพื่อนๆมีกำลังของกล้ามเนื้อมากขึ้น ซึ่งแปลความได้ว่า เพื่อนๆจะวิ่งได้เร็วขึ้นนั่นเอง การศึกษาในปี 2008 พบว่านักวิ่งระยะไกลที่มีการแข่งขันสูงจะมีความเร็วการหดตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อแบบหดตัวช้ามากกว่าเพื่อนนักวิ่งที่ไม่ค่อยได้วิ่งถึง 70% และเร็วกว่าเพื่อนนักวิ่งระดับกลางที่ 18% การศึกษาก่อนหน้านั้นที่บอลสเตท (Ball State) พบว่าการฝึกซ้อมที่เน้นเพื่อการวิ่งมาราธอนนั้นสามารถเพิ่มความเร็วในการหดตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อแบบหดตัวช้าได้มากถึง50% และในเส้นใยกล้ามเนื้อแบบหดตัวเร็วปานกลาง 29% ค่ะ

คำพูดที่ใช้กันบ่อยนั่นก็คือ “การฝึกซ้อมทำให้วิ่งได้สมบูรณ์แบบ” ซึ่งเป็นความจริง และเหมาะสมกับขาสองข้างของเราเท่านั้นนะคะ โดยการผสมผสานความเร็วของการวิ่งที่หลากหลาย ลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่าง และการออกกำลังกายชนิดอื่นๆเข้าไปในตารางการฝึกซ้อมของเพื่อนๆ จะทำให้เพื่อนๆเพิ่มความสามารถในการระดมเส้นใยกล้ามเนื้อที่มีประโยชน์ต่อการวิ่งให้ทำงานอย่างเต็มที่ได้ และยังเพิ่มแรงการหดตัวของกล้ามเนื้อ เพิ่มการทำงานประสานสัมพันธ์กันระหว่างเส้นใยกล้ามเนื้อต่างชนิดกัน รวมถึงการใช้กล้ามเนื้อที่แตกต่างกันในการวิ่งที่ความเร็วหลากหลายระดับ และลดระดับของอาการล้าได้ด้วย ผลสุดท้ายเป็นการช่วยสร้างการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อการวิ่งให้มีประสิทธิภาพให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ค่ะ

43 - 3 ความเร็วการหดตัวของกล้ามเนื้อ 2

คำแนะนำการฝึกซ้อมเพื่อเพิ่มความเร็วการหดตัวของกล้ามเนื้อ

การฝึกซ้อมเพื่อปรับรูปแบบการระดมเส้นใยกล้ามเนื้อให้ทำงานมากนั้น ต้องอาศัยความหนักของการวิ่ง ความเร็วของการวิ่ง สภาพพื้นที่วิ่ง และระยะเวลาของการวิ่งที่หลากหลาย การเพิ่มอัตราเร็วของกระแสประสาท (Rate coding) ต้องใช้การออกกำลังด้วยแรงต้านอย่างหนัก และการฝึกแบบพลัยโอเมตริก (Plyometrics) การลดการหดตัวของกล้ามเนื้อฝั่งตรงข้าม (Reduced inhibition) สามารถฝึกให้ดีขึ้นได้ด้วยการฝึกซ้อมแบบดริว (Drill) การวิ่งเร่งขึ้นเนิน (Hill Sprints) และการวิ่งเร็วอื่นๆ ส่วนการพัฒนาความเร็วในการหดตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อแบบหดตัวช้าสามารถทำได้โดยการฝึกซ้อมเพื่อเน้นการวิ่งมาราธอน (วิ่งปริมาณมาก, เทมโป, และการวิ่งเป็นช่วงระยะยาว) และการผ่อนการฝึกซ้อมช่วงก่อนการแข่งขันสามารถเพิ่มความเร็วการหดตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อแบบความเร็วปานกลางได้ค่ะ

ขอให้เพื่อนนักวิ่งมีความเร็วการหดตัวของกล้ามเนื้อในการวิ่งดีขึ้นกันนะคะ

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: