เอ็นร้อยหวายอักเสบจากความเสื่อม (Achilles Tendinosis)

เอ็นร้อยหวายเป็นเส้นเอ็นที่มีความแข็งแรง และหนาที่สุดในร่างกาย เชื่อมระหว่างกล้ามเนื้อน่องและด้านหลังส้นเท้า จริงๆแล้วแรงที่เกิดขึ้นในช่วงของการยกส้นเท้าและถีบเท้าไปบนพื้นเพื่อยกขาก้าวไปข้างหน้านั้น ต้องใช้แรงจากกล้ามเนื้อน่องมาก ทำให้มีแรงส่งต่อไปยังเอ็นร้อยหวายมาก และแรงนี้อาจมีมากกว่าน้ำหนักตัวสามเท่า ยิ่งเพื่อนๆวิ่งเร็วขึ้นเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีแรงดึงต่อเอ็นร้อยหวายมากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากตำแหน่งการวางตัวของเอ็นร้อยหวายและการรับแรงกระชากอย่างต่อเนื่องจากการวิ่ง ทำให้การวิ่งเป็นความเสี่ยงต่อการเกิดเอ็นร้อยหวายอักเสบจากความเสื่อมได้มากถึง 30 เท่าเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้วิ่ง การบาดเจ็บจะเกิดขึ้นเมื่อจำนวนของแรงเครียดต่อเอ็นร้อยหวายมากกว่าความสามารถของเส้นเอ็นที่จะปรับตัวต่อแรงเครียดนั้น การบาดเจ็บของเอ็นร้อยหวายในนักวิ่งพบได้ 5-12% และมักจะเกิดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง อาจเป็นเพราะว่าผู้ชายมักจะใช้เวลาและมีความหนักในการฝึกซ้อมมากกว่าผู้หญิง

การเกิดความเสื่อมของเอ็นร้อยหวายนี้ สามารถทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรังโดยที่ไม่มีการอักเสบได้ เอ็นร้อยหวายจะมีพังผืดเกิดขึ้นและง่ายต่อการฉีกขาด อาการนี้พบเจอได้บ่อยในนักกีฬา นักวิ่ง และคนที่มีกล้ามเนื้อน่องตึง หากมีอาการที่ตรงกลางของเอ็นร้อยหวาย จะเรียกว่า Midsubstance Achilles Tendinosis และหากมีอาการที่บริเวณใกล้กับจุดเกาะส้นเท้า จะเรียกว่า Insertional Achilles Tendinosis ถ้าไม่สามารถวินิจฉัยได้เร็ว การบาดเจ็บนี้จะรักษาได้ยากมาก แต่ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และการออกกำลังเพิ่มความแข็งแรงแบบให้กล้ามเนื้อยืดยาวออก การฟื้นตัวเต็มที่ก็มีความเป็นไปได้ค่ะ พังผืดที่เกิดขึ้นในเอ็นร้อยหวายจะทำให้ร่างกายหยุดกระบวนการหาย การรักษาจึงควรเน้นให้มีการไหลเวียนของเลือดที่ดีขึ้น เพื่อให้เกิดกระบวนการหายอีกรอบหนึ่ง

อาการ

ปวดและตึงขัดที่เอ็นร้อยหวายด้านหลังข้อเท้า โดยที่ไม่มีการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุใดๆมาก่อน แต่มักจะค่อยๆมีอาการปวดเพิ่มขึ้นช้าๆ อาการปวดอาจมากจนทำให้ขึ้นลงบันได กระโดด หรือวิ่งไม่ได้ วิ่งเร็วไม่ได้ วิ่งขึ้นเขาไม่ได้ และอาจแย่ลงในช่วงเช้าหลังตื่นนอน หรือตอนลุกขึ้นยืนหลังจากนั่งนาน จำนวนนักวิ่ง 2 ใน 3 มักเป็นแบบ Midsubstance Achilles Tendinosis ซึ่งอาจพบก้อนที่ตรงกลางเอ็นร้อยหวาย และจำนวน 1 ใน 3 ที่เหลืออาจพบก้อนเหนือส้นเท้าขึ้นมา 1 นิ้ว เนื่องจากเป็นแบบ Insertional Achilles Tendinosis ซึ่งแบบหลังจะรักษาได้ยากกว่า บางคนจะเจ็บที่ก้อนหากใส่รองเท้าหุ้มข้อและมีการเสียดสี ถ้าใส่รองเท้าที่ไม่คลุมส้นจะรู้สึกสบายกว่า และมักจะรู้สึกปวดลดลงเมื่อใส่รองเท้าที่มีส้นสูงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับรองเท้าแบนราบ อาจมีอาการได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง หากเป็นแบบเฉียบพลันจะปวดมากกว่า และเพิ่งเป็นมาไม่นาน อาการแบบเรื้อรังจะเป็นมานานหลายสัปดาห์ หรืออาจเกิดตามหลังแบบเฉียบพลันที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี อาการแบบเรื้อรังนี้อาจไม่จำกัดกิจกรรมที่ทำได้อยู่ แต่สามารถลดสมรรถนะของการออกกำลังได้

สาเหตุ

สาเหตุหลักของอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบจากความเสื่อม คือ กล้ามเนื้อน่องตึง มากไปกว่านั้น อาการที่เกิดในแบบ Insertional Achilles Tendinosis มักจะเกี่ยวข้องกับภาวะกระดูกงอกที่ส้นเท้า ซึ่งกระดูกที่งอกนี้จะไปสีกับเอ็นร้อยหวายจนทำให้เกิดการฉีกขาดน้อยๆได้ เปรียบเทียบเหมือนกับเชือกที่ถูกับหินแหลม ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Huglund’s Syndrome อาการปวดและบวมจะเกิดจากการสะสมการเสียดสีที่เกิดกับเอ็นร้อยหวายเป็นเวลานาน

สาเหตุอื่นที่เกี่ยวข้อง คือ กล้ามเนื้อน่องอ่อนแรง การวิ่งขึ้นลงเนิน การมีช่วงเวลาพักฟื้นตัวหลังการฝึกซ้อมไม่เพียงพอ การเพิ่มระยะทางวิ่งไม่เหมาะสม ภาวะเท้าแบน ฝึกอินเทอร์วอลมากเกินไป

การออกกำลังกาย (ควรปรึกษานักกายภาพบำบัด)

  1. ท่าหย่อนส้นเท้า

62-3 เอ็นร้อยหวายอักเสบจากความเสื่อม 2

  1. การยืดกล้ามเนื้อน่องแบบ AIS

62-3 เอ็นร้อยหวายอักเสบจากความเสื่อม 3

  1. ท่าโยกกระดานโยกไปทางด้านหน้าและด้านหลัง

62-3 เอ็นร้อยหวายอักเสบจากความเสื่อม 4

การดูแลเพิ่มเติม

  1. ไม่ควรใช้น้ำแข็งหรือยาต้านการอักเสบ เพราะไม่มีการอักเสบเกี่ยวข้อง และจะกลายเป็นการยับยั้งกระบวนการหายซึ่งควรจะกระตุ้นให้เกิดขึ้นมากกว่า
  2. ให้ประคบร้อนบริเวณกล้ามเนื้อน่อง โดยให้ความรู้สึกอุ่นประมาณ 15 นาที ทุก 2 – 3 ชั่วโมง
  3. นวดเอง หรือใช้โฟมโรลเลอร์ช่วยนวดช่วยบรรเทาอาการได้
  4. การพิจารณาประเมินแนวการวางตัวของกระดูกข้อต่อใต้ข้อเท้า (Subtalar joint) โดย แพทย์ทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ นักบาทานามัย (podiatrist) หรือนักกายภาพบำบัด เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด
  5. อาจพบนักกายภาพบำบัดเพื่อการพิจารณาใช้เครื่องมือช่วยลดปวดและแนะนำท่ายืดกล้ามเนื้อและออกกำลังกายที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งควรเป็นการออกกำลังที่เน้นออกแรงขณะที่กล้ามเนื้อยืดยาวออก ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงต่อเอ็นร้อยหวายได้ดี
  6. ยืดกล้ามเนื้อหน้าแข้งช่วยด้วยการนั่งทับบนเท้าและเอนไปด้านหลัง ช่วยเพิ่มมุมการเคลื่อนไหวของข้อเท้าร่วมด้วย จะทำให้เอ็นร้อยหวายทำงานลดลง
  7. หากเพื่อนๆเป็นนักวิ่งที่ใส่รองเท้าวิ่งแบบไม่มีส้น แบบมินิมัลลิสต์ หรือวิ่งแบบเท้าแบน อาจต้องเปลี่ยนเป็นรองเท้าที่ยกส้นแบบรองเท้าวิ่งดั้งเดิมไปก่อน จนกว่าเอ็นร้อยหวายจะแข็งแรงอีกครั้งหนึ่ง เมื่อหายแล้วค่อยกลับมาวิ่งกับรองเท้าแบน หรือไม่ก็วิ่งเท้าเปล่าได้เลย เพื่อกระตุ้นการทำงานของเอ็นร้อยหวายอีกครั้งหนึ่ง
  8. หากเพื่อนๆเป็นคนเท้าแบน ควรหารองเท้าที่สามารถเสริมโค้งเท้าเพื่อใช้ในการวิ่ง สามารถช่วยลดอาการได้
  9. การแช่เท้าในน้ำอุ่นสลับกับน้ำเย็น ให้เตรียมถังสองถังที่ลึกพอจะแช่เท้าได้ถึงน่อง ถังหนึ่งใส่น้ำอุ่นที่อุณหภูมิเครื่องทำน้ำอุ่นในห้องน้ำทำได้ ส่วนอีกถังหนึ่งใส่น้ำเย็นที่ความเย็นน้ำแข็งไม่สามารถละลายได้ เริ่มจุ่มเท้าลงมนน้ำเย็นก่อนเป็นเวลา 5 นาที แล้วสลับแช่ในน้ำอุ่น 5 นาที ทำ 2-3 รอบ และจบที่น้ำเย็น การทำอย่างนี้จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดให้มากขึ้น และช่วยกระตุ้นกระบวนการหายได้
  10. ถอยชนิดการฝึกซ้อมที่ทำอยู่และทำให้เกิดอาการลง โดยเฉพาะ การวิ่งขึ้นเนิน หรือการวิ่งอินเทอร์วอล การวิ่งที่ใช้ความเร็วเหล่านี้ทำให้เพื่อนๆต้องออกแรงดันเท้าสู้กับพื้นเยอะมากขึ้น และข้อเท้าที่กระดกขึ้นมากกว่าปกติเวลาที่วิ่งขึ้นเนิน สามารถเพิ่มแรงเครียดต่อเอ็นร้อยหวายได้

ขอให้เพื่อนนักวิ่งมีเอ็นร้อยหวายที่แข็งแรง ไม่เสื่อมสภาพกันง่ายๆนะคะ

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: