เส้นเอ็นไขว้หน้าเข่า (ACL) บาดเจ็บ
Posted on May 17, 2017
by joylyrunning
Leave a Comment
เส้นเอ็นไขว้หน้าเข่า เป็น
1 ใน 4 เส้นเอ็นที่ทำหน้าที่หลักในการสร้างความมั่นคงให้ข้อเข่า
เส้นเอ็นไขว้หน้าเข่าอยู่ตรงกลางด้านในของข้อเข่า ยึดระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้งให้อยู่ติดกัน
เส้นเอ็นไขว้หน้าเข่ามีลักษณะเป็นเส้นใยเหนียวแข็งและทำหน้าที่จำกัดการเคลื่อนไหวของข้อเข่าไม่ให้แอ่นจนเกินไป
การบาดเจ็บของข้อเข่าที่พบบ่อยที่สุดมักเกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บเส้นเอ็นไขว้หน้าเข่า
ดังนั้น การบาดเจ็บหรือการฉีกขาดของเส้นเอ็นไขว้หน้าเข่า จึงพบได้บ่อยที่สุด
สาเหตุ
การบาดเจ็บของเส้นเอ็นไขว้หน้าเข่ามักเกิดขณะที่มีกิจกรรมทางการกีฬา
หรือกิจกรรมการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีแรงเครียดต่อเส้นเอ็นไขว้หน้าเข่าได้มากค่ะ
การบาดเจ็บเกิดจากการยืดถูกเส้นเอ็นมากเกินไปจนทำให้ฉีกขาดตั้งแต่ระดับน้อยไปจนถึงขาดหมด
หากมีการบาดเจ็บน้อย เส้นเอ็นจะเพียงถูกยืดออก ในขณะที่ยังยึดติดอยู่กับกระดูกอยู่ค่ะ
80% ของการฉีกขาดจากการเล่นกีฬานั้น มาจากการไม่ได้มีการกระแทกเกิดขึ้นโดยอาจเกิดจากการเคลื่อนไหวลักษณะดังต่อไปนี้
- จากการค่อยๆหยุดวิ่ง
และเปลี่ยนทิศทางการวิ่งกะทันหัน ทำให้ข้อเข่างัดกันและล็อค
- การบิดตัวเปลี่ยนทิศทางขณะที่เท้าวางติดอยู่บนพื้น
และใช้เท้านั้นเป็นจุดหมุนในการบิดตัว
- การกระโดดขึ้นแล้วลงยืนบนพื้นในท่าที่ไม่ถูกต้อง
- การหยุดวิ่งกะทันหัน
- มีแรงกระแทกต่อข้อเข่าทันทีและรุนแรงในทิศทางด้านหน้า
เช่น การเข้าสกัดบอลในกีฬาฟุตบอล
อาการ
- มีเสียงดัง
“ป๊อป” ที่ข้อเข่า หรือความรู้สึก
“ป๊อป” ในข้อเข่า
- มีอาการปวดรุนแรงจนไม่สามารถทำกิจกรรมนั้นๆต่อไปได้
- มีอาการบวมหลังจากนั้นอีก
2-3 ชั่วโมงต่อมา
- ขยับเข่าไม่ได้เต็มช่วงการเคลื่อนไหว
(เทียบกับข้างปกติ)
- มีความรู้สึกว่าเข่าไม่มั่นคง
เข่าหลวม เข่าหวาม เมื่อมีการยืนลงน้ำหนักขาข้างที่เจ็บ
ปัจจัยเสี่ยง
ผู้หญิงมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากมีแนวโน้มว่ากล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าแข็งแรงกว่ากล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังมีส่วนช่วยให้กระดูกหน้าแข้งไม่เคลื่อนไปด้านหน้ามากเกินไป ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเส้นเอ็นไขว้หน้าเข่า
การออกกำลังกายตัวอย่าง (ควรปรึกษานักกายภาพบำบัดหากทำหลังการบาดเจ็บ)
- ท่าออกกำลังด้วยยางยืดเดินวิ่งไปทางด้านหน้า
2. ท่าออกกำลังด้วยยางยืดเดินวิ่งถอยหลัง
3. ท่าออกกำลังด้วยยางยืดกระโดดไปด้านหน้า
4. ท่าออกกำลังด้วยยางยืดกระโดดไปทางด้านข้าง
นอกจากนี้งานวิจัยยังค้นพบว่าเทคนิคการกระโดดและการวางเท้าลงหลังกระโดดของผู้หญิงนั้นมีโอกาสเกิดแรงเครียดต่อข้อเข่ามากกว่าผู้ชาย
งานวิจัยจึงแนะนำว่าให้เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา กล้ามเนื้อสะโพก และกล้ามเนื้อลำตัว
และฝึกเพิ่มเทคนิคการกระโดดและการวางเท้าลงหลังกระโดดให้ถูกต้อง ซึ่งช่วยลดโอกาสเกิดการบาดเจ็บต่อเส้นเอ็นไขว้หน้าเข่าได้
การดูแลเพิ่มเติม
- ควรพบผู้เชี่ยวชาญทางด้านข้อเข่าเมื่อสงสัยว่ามีอาการบาดเจ็บของเส้นเอ็นไขว้หน้าเข่า
เนื่องจากข้อเข่าเป็นข้อที่มีโครงสร้างซับซ้อน มีหลายโครงสร้างที่ทำงานร่วมกัน การได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรวดเร็ว
พร้อมกับทราบระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บ จึงมีความสำคัญมากในการพิจารณาการรักษาได้อย่างเหมาะสม
หลังการตรวจข้อเข่าแล้ว ควรได้รับการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญทางด้านข้อเข่า ทั้งแพทย์
และนักกายภาพบำบัดทางการกีฬาเพื่อพิจารณาขั้นตอนการรักษาต่อไป การรักษาแบ่งเป็น
2 อย่าง คือรักษาด้วยการไม่ผ่าตัด และรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งในตอนนี้จะขอพูดถึงภาพรวมของการรักษาแบบไม่ผ่าตัดก่อนนะคะ
เพราะเมื่อผ่าตัดแล้ว จะมีรายละเอียดของการฟื้นฟูอีกมากค่ะ
- ชนิดของการรักษาว่าจะผ่าตัดหรือไม่ผ่าตัดจะพิจารณาจาก
- ความรุนแรงของการฉีกขาดของเส้นเอ็นไขว้หน้าเข่า
(เกรด 1, 2 หรือ 3)
- ระยะเวลาของการบาดเจ็บ และความมั่นคงของข้อเข่า
- มีส่วนอื่นของข้อเข่าบาดเจ็บร่วมด้วยหรือไม่ หากมี อาจทำให้ส่วนอื่นของเข่าที่ไม่บาดเจ็บทำงานชดเชยโครงสร้างที่บาดเจ็บได้อย่างไม่เพียงพอ
- เข่ามีปัญหามาก่อนหน้านี้หรือไม่
เช่น โรคที่ทำให้เป็นปวดแบบเรื้อรังได้ ตัวอย่างคือเส้นเอ็นไขว้หน้าเข่าหลวม หรือโรคข้ออักเสบ
- เพื่อนๆเป็นคนคล่องแคล่วขนาดไหน
- อายุและความสมบูรณ์ของสุขภาพโดยรวม
- ความสมัครใจและความสามารถในการเข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูอย่างเข้มงวดระยะยาว
- หากต้องทำการรักษา
เป้าหมายการรักษาคือ
- เพื่อให้เข่ามีความมั่นคงตามปกติ
- เพื่อให้สามารถใช้งานเข่าได้เท่ากับระดับก่อนการบาดเจ็บ
- จำกัดการสูญเสียความสามารถการทำงานของเข่าให้น้อยที่สุด
- ป้องกันการบาดเจ็บหรือการทำลายโครงสร้างอื่นบริเวณหัวเข่า
- ลดปวด
- หากบาดเจ็บเฉียบพลันให้ปฐมพยาบาลเบื้องต้น
คือ
- หยุดการเคลื่อนไหวและใช้งานข้อเข่า
โดยการไม่ลงน้ำหนักกับข้อเข่า
- ประคบเย็นทุก
2 ชั่วโมง ครั้งละ 20 นาที
- ใช้ผ้ายืดพันรัดหัวเข่าไว้
- นอนยกขาสูง และกระดกข้อเท้าขึ้นลงเพื่อลดบวม
- รับประทานยาแก้อักเสบและแก้ปวดตามแพทย์สั่ง
- อาจต้องใช้ไม้ค้ำยัน
และใส่เครื่องดามเข่าช่วยเดินในช่วง 2-3 วันแรก
หากใช้นานเกินไป จะทำให้กล้ามเนื้อเข่าอ่อนแรงลงจากการใช้งานน้อยเกินไป และข้อเข่าจะเกิดการยึดติด
จากการไม่ได้ขยับนาน
- การฟื้นฟูข้อเข่ากับนักกายภาพบำบัด
คือการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรง และเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวข้อเข่า ช่วยเพิ่มสมรรถภาพการใช้งานเข่าและลดแรงเครียดต่อข้อเข่าให้น้อยที่สุด
นอกจากนี้ยังสามารถใช้เครื่องมือช่วยลดปวดได้ด้วย การทำกายภาพบำบัดเหมาะสมกับทั้งคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายเลย
คนที่ออกกำลังกายระดับปานกลาง เพื่อเป็นงานอดิเรก ไปจนถึงคนที่เป็นนักกีฬาเพื่อการแข่งขัน
การทำกายภาพบำบัดจะได้ผลดีมากหากสามารถเข้าร่วมโปรแกรมการฟื้นฟูโดยนักกายภาพบำบัดอย่างเข้มงวดและสม่ำเสมอ
นอกจากจะช่วยเลี่ยงการผ่าตัดหรือยืดการผ่าตัดออกไปได้แล้ว ยังช่วยฝึกฝนให้กล้ามเนื้อสามารถทำงานเฉพาะเจาะจงต่อกิจกรรมที่ต้องการทำได้
จึงเป็นการป้องกันการบาดเจ็บของเส้นเอ็นไขว้หน้าเข่าระยะยาวได้ด้วย
เป้าหมายของการทำกายภาพบำบัด
- ลดปวดและลดอักเสบ
- เพิ่มมุมการเคลื่อนไหวของข้อเข่าจนปกติ
- เพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อข้อเข่า
โดยเฉพาะกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าและด้านหลัง
- เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาสองข้างตั้งแต่ข้อเท้าถึงสะโพก
และกระดูกเชิงกราน
- จัดแนวกระดูกลูกสะบ้าต่อการวางตัวกับกระดูกต้นขาใหม่
- เพิ่มความยาวกล้ามเนื้อจนปกติ
- พัฒนาการทรงตัว ความคล่องตัว
และการรับรู้ตำแหน่งข้อต่อ
- พัฒนาเทคนิค และการทำงานอื่นๆของขา เช่น การเดิน การวิ่ง การยืนย่อเข่า การกระโดด การวางขาลงจากการกระโดด
- ลดโอกาสการเกิดการบาดเจ็บซ้ำ
- การผ่าตัดจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
โดยพิจารณาได้จากเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- เพื่อนๆเป็นนักกีฬาระดับจริงจัง
และต้องการเล่นกีฬาต่อ โดยเฉพาะเมื่อกีฬานั้น เกี่ยวข้องกับการกระโดด
การวิ่งตัด และการหมุนตัว
- มีการบาดเจ็บเส้นเอ็นยึดข้อมากกว่าหนึ่งเส้นหรือมีการบาดเจ็บของกระดูกอ่อนร่วมด้วย
- อายุน้อย และเป็นคนคล่องแคล่ว
- ข้อเข่าแอ่นเมื่อใช้งานในชีวิตประจำวัน
แพทย์จะทำการผ่าตัดด้วยการนำเอ็นที่ขาดออกและใส่เส้นเอ็นกล้ามเนื้อแทนที่
หลังการผ่าตัดจะต้องทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูข้อเข่าให้สามารถกลับมาใช้งานในชีวิตประจำวัน
และเล่นกีฬาได้ โดยการผ่าตัดที่ดีร่วมกับโปรแกรมกายภาพบำบัดที่เข็มงวดและสม่ำเสมอเท่านั้นจึงจะสามารถฟื้นฟูให้ข้อเข่ากลับมาทำงานได้เต็มที่
ค่ะ นักกีฬาจะสามารถหลับไปเล่นกีฬาได้ในช่วง 8 – 12 เดือนค่ะ
เป็นอย่างไรบ้างคะ เพื่อนๆคงพอจะเห็นแล้วว่า
การบาดเจ็บต่อเส้นเอ็นข้อเข่านั้น ค่อนข้างเป็นเรื่องที่ใหญ่โต เพราะข้อเข่าของเราเป็นข้อต่อที่ใหญ่
และเป็นข้อต่อหลักในการรับน้ำหนักเมื่อเรายืน และเดิน และยังต้องรับน้ำหนักเพิ่มอีกหลายเท่าเมื่อมีการวิ่ง
การกระโดด การวิ่งตัด และการบิดหมุนตัวอีก หากเพื่อนๆฝึกกล้ามเนื้อขาให้แข็งแรงอย่างไม่เพียงพอแล้ว
ก็อาจจะเกิดการบาดเจ็บกันได้ง่ายๆ ดังนั้น หากสงสัยว่ามีอาการบาดเจ็บที่เส้นเอ็นไขว้หน้าเข่า
ควรรีบไปพบแพทย์ค่ะ
ขอให้เพื่อนนักวิ่งไม่มีการบาดเจ็บต่อเส้นเอ็นไขว้หน้าเข่ากันนะคะ
Like this:
Like Loading...
Recent Comments