Category: ชีวกลศาสตร์การวิ่ง

การวิ่งเท้าเปล่าลดการบาดเจ็บได้จริงหรือ?

การวิ่งเท้าเปล่าไม่ใช่เรื่องใหม่ค่ะ นักวิ่งที่วิ่งตามเส้นทางชนบทและป่าเขายังวิ่งเท้าเปล่าเพื่อท่องเที่ยวข้ามทุ่งหญ้า วิ่งในสนามกอล์ฟในช่วงฤดูใบไม้ร่วงมาเป็นเวลาร่วมร้อยปีแล้ว และนักวิ่งชาวเอธิโอเปีย อาเบเบ บิกิลา (Abebe Bikila) แชมป์มาราธอนโอลิปิกที่โรมในปี 1960 ก็วิ่งชนะได้ด้วยเท้าเปล่าค่ะ สิ่งที่ใหม่ก็คือการบอกว่าการวิ่งเท้าเปล่านั้นดีกว่าการวิ่งใส่รองเท้าค่ะ การศึกษาในปี 2010 นักมานุษยวิทยาจากฮาวาร์ด เดเนียล ไลเบอร์แมน (Daniel Lieberman) ได้เสนอว่ามนุษย์โบราณชาวแอฟริกันที่ใช้ชีวิตอยู่กับการล่า (ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเดินและการวิ่งเป็นระยะทางไกลๆ) ได้สร้างสรรค์วิวัฒนาการในเรื่องของความทนทานให้มีมากขึ้น การศึกษาระบุถึงนักวิ่งเท้าเปล่าที่วางกลางเท้าหรือปลายเท้าลงบนพื้นจะมีแรงกระแทกน้อยกว่านักวิ่งที่ใส่รองเท้า ที่มีแนวโน้มว่าจะวางส้นเท้าลงบนพื้น คำแนะนำของเขานำมาซึ่งการดิ้นรนของผู้ที่สนับสนุนการวิ่งเท้าเปล่าและรองเท้าแบบมินิมัลลิสต์ ซึ่งกล่าวว่าจะมีแรงกระแทกน้อยกว่าและเป็นการเคลื่อนไหวแบบธรรมชาติมากกว่า และอาจลดการบาดเจ็บได้ แต่มันเป็นอย่างนั้นจริงหรือเปล่าคะ? การกล่าวว่าการวิ่งด้วยเท้าเปล่าลดการบาดเจ็บได้นั้นขึ้นอยู่กับว่านักวิ่งจำนวน 80 – 85% ที่วางส้นเท้าลงก่อนจะต้องเปลี่ยนการวางเท้าไปเป็นแบบวางกลางเท้าไล่ไปถึงปลายเท้าแทน เมื่อวิ่งด้วยเท้าเปล่า แต่ในความเป็นจริงเแล้ว พวกเขาก็ไม่ได้ทำอย่างนั้น ข้อเท็จจริงก็คือ นักวิ่ง 80% ที่วางส้นเท้าลงก่อนยังคงวิ่งแบบเดิม เพียงแต่เขาวิ่งด้วยเท้าเปล่าเท่านั้นเอง ดังที่ รอส ทัคเกอร์… Continue Reading “การวิ่งเท้าเปล่าลดการบาดเจ็บได้จริงหรือ?”