Category: สรีระวิทยาการวิ่ง

การสร้างความแข็งแรงของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในนักวิ่ง

นักวิ่งส่วนใหญ่มักไม่ค่อยคิดถึงเนื้อเยื่อเกี่ยวพันจนกว่าจะเกิดอาการบาดเจ็บกัน หลายคนไม่รู้จักว่ามันคืออะไร แต่หลายคนก็รู้โดยทั่วไปอยู่แล้วว่าร่างกายเรามีโครงสร้างค้ำจุนอยู่ นั่นก็คือกระดูกแข็งๆและเอ็นยึดข้อต่อที่ยึดกระดูกอย่างน้อยหนึ่งชิ้นเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อประกอบเป็นโครงสร้างร่างกายขึ้นมา เพราะถ้าไม่มีพวกมันแล้ว พวกเราคงเป็นกองเนื้อหยุ่นๆเหลวๆกองหนึ่งบนพื้นเท่านั้นเอง และก็เพียงเท่านี้ ความอยากรู้อยากเห็นก็จบลงแค่เพียงตรงนี้ และก็เป็นอย่างนั้น จนกระทั่งมีคนที่เป็นเอ็นร้อยหวายอักเสบเกิดขึ้นมา หรือเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ หรือเส้นเอ็นกล้ามเนื้อด้านข้างขาบาดเจ็บ หรือจนกระทั่งเราเกิดข้อเท้าพลิก กระดูกอ่อนหัวเข่าฉีกขาด หรือทรมานจากกระดูกหักแบบล้า (Stress fracture) ขึ้นมา แล้วเราจึงกลายมาเป็นผู้เชี่ยวชาญ หลังจากไปพบแพทย์  หรือผู้เชี่ยวชาญเรื่องเท้า เรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพันตัวที่เราบาดเจ็บนั้น เริ่มต้นทำกายภาพบำบัดเป็นเวลานาน และสาบแช่งวันที่เรามองข้ามความสำคัญของการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อเหล่านี้ไป เป็นยังไงคะ ใครเคยได้ทำอย่างนี้ครบบ้างคะ และต่อไปนี้คือความจริงที่น่ากลัวอย่างหนึ่ง คือ “เมื่อเนื้อเยื่อเกี่ยวพันได้ถูกทำลายไปแล้ว มันยากมาก หรือบางครั้งก็ไม่สามารถทำให้มันกลับคืนมาเหมือนเดิมได้เลย” ค่ะ แล้วเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน คืออะไรล่ะคะ เรามารู้จักมันด้วยกันค่ะ เนื้อเยื่อเกี่ยวพันมีลักษณะคล้ายกับชื่อมันนั่นแหละค่ะ  มันคือเนื้อเยื่อที่เชื่อมกล้ามเนื้อ อวัยวะต่างๆ เส้นเลือด เส้นประสาท ให้รวมเข้าเป็นก้อนเดียวกัน ช่วยรองรับ โอบล้อม… Continue Reading “การสร้างความแข็งแรงของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในนักวิ่ง”

ทำไมกล้ามเนื้อมีขนาดเล็กลงจากการวิ่ง?

คนส่วนใหญ่มักคิดว่า “ความแข็งแรง” มีความหมายเหมือนกับ “กล้ามเนื้อที่ใหญ่ขึ้น” จะเป็นจริงอย่างนั้นหรือเปล่าคะ? เมื่อเพื่อนๆคิดไปถึงบางคนที่ร่างกายแข็งแรง เพื่อนๆก็มักจะคิดไปถึง ดเวย์น “เดอะ ร็อก” จอห์นสัน (Dwayne “The Rock” Johnson) ที่มีกล้ามใหญ่โตเป็นมัดๆ และเล่นมวยปล้ำ ไม่ใช่ จัสติน บีเบอร์ (Justin Bieber) ที่ดูตัวผอมบาง และเป็นนักร้อง แล้วถ้าเป็นอย่างนั้นจริง นักวิ่งระยะไกลชั้นนำที่ใช้เวลามากมายหมดไปกับการเพิ่มความแข็งแรงของเส้นใยกล้ามเนื้อ ทำไมพวกเขาถึงยังดูผอมอยู่ได้ล่ะ? การวิ่งหลายๆกิโลเมตร การวิ่งขึ้นลงเขา การเร่งวิ่งเร็ว การฝึกความคล่องตัวไม่ช่วยสร้าง “กล้ามเนื้อชายหาด” ให้กับร่างกายเลยหรือ? ขอตอบได้เลยค่ะว่า “ไม่” นักวิ่งระยะไกลระดับต้นของโลกได้ถูกนิยามโดยกล้ามเนื้อลำตัวด้านบนที่แทบจะไม่มีอยู่เลย กล้ามเนื้อต้นขาที่เรียวบาง และกล้ามเนื้อน่องที่เล็กกว่าปกติ และจริงๆแล้วมันเป็นเรื่องดีซะด้วยนะคะ ดีอย่างไรเรามาดูกันต่อไปค่ะ เมื่อเพื่อนๆวิ่ง และหลังจากที่เพื่อนๆได้เพิ่มความแข็งแรงให้เส้นใยกล้ามเนื้อโดยรีดเอาไมโอฟิลาเมนท์ออกแล้ว ดีเอ็นเอของเส้นใยกล้ามเนื้อจึงต้องตัดสินใจเลือกระหว่าง 1. … Continue Reading “ทำไมกล้ามเนื้อมีขนาดเล็กลงจากการวิ่ง?”

เส้นใยกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นได้อย่างไร?

กล้ามเนื้อไม่ได้บวมขึ้นและแข็งแรงขึ้นได้เองเหมือนมีเวทมนตร์นะคะ ไม่เหมือนกับของเล่นตุ๊กตาไดโนเสาร์ที่พอโยนลงน้ำแล้วตัวจะขยายมากกว่าเดิม 6 เท่า แต่การฝึกเส้นใยกล้ามเนื้อคือขบวนการฝึกอย่างเป็นลำดับขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการสลายและซ่อมแซม หรือการทดแทนองค์ประกอบของเส้นใยกล้ามเนื้อเองค่ะ เส้นใยกล้ามเนื้อแต่ละเส้นใย เมื่อขยายให้เล็กลงไป จะพบโครงสร้างที่มีรูปร่างเป็นแท่งเรียกว่า ไมโอไฟบริล (Myofibrils) และเล็กลงไปในไมโอไฟบริลนี้จะมี ซาโครเมีย (Sacromere) และในซาโครเมีย จะมี ไมโอฟิลาเมนท์ (Myofilament) ซึ่งประกอบด้วย แอคติน (Actin) และ ไมโอซิน (Myosin) ค่ะ ระหว่างที่มีการหดตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อ เส้นใยแอคติน และไมโอซินจะทำงานด้วยกันเพื่อให้กล้ามเนื้อหดตัวสั้นลง เส้นใยแอคติน และไมโอซินที่อ่อนแรงจะทำลายตัวมันเองเมื่อต้องออกแรงหดตัวมากเกินกำลังหรือเมื่อต้องหดตัวบ่อย ๆ อย่างเช่นที่เกิดกับกล้ามเนื้อขณะที่มีการฝึกซ้อมค่ะ การทำลายนี้จะรวมกับแรงเครียดอื่นๆที่เกิดที่เส้นใยบริเวณนั้น และเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้อง ส่งสัญญาณให้ร่างกายเพื่อนๆต้องเพิ่มขนาดและจำนวนของไมโอฟิลาเมนท์ขึ้นมาทดแทนค่ะ ในเส้นใยกล้ามเนื้อแบบหดตัวเร็ว การเพิ่มขึ้นนี้ส่วนใหญ่มาจากการเร่งสร้างโปรตีนใหม่ ในขณะที่เส้นใยกล้ามเนื้อแบบหดตัวช้ากระบวนการนี้จะเกิดได้โดยการลดการสลายของโปรตีนที่มีอยู่แล้วค่ะ ถ้าไมโอไฟบริลมีขนาดใหญ่เกินไปในเวลาต่อมา มันจะแตกออกค่ะ  (เกิดจากการเพิ่มขนาดและจำนวนของไมโอฟิลาเมนท์ดังที่กล่าวมาแล้ว) ดังนั้น การสร้างไมโอฟิลาเมนท์ใหม่และใหญ่ขึ้นนั้นจะนำไปสู่ไมโอไฟบริลใหม่ที่ใหญ่ขึ้นตามไปด้วย ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของขนาดเส้นใยกล้ามเนื้อ… Continue Reading “เส้นใยกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นได้อย่างไร?”

การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และความยืดหยุ่น

ในไม่นานมานี้ การยืดกล้ามเนื้อได้รับชื่อเสียงในทางที่ไม่ดีมากมายค่ะ ตัวอย่างเช่น การศึกษาแบบอภิมาน (Meta-analysis) ของชาวโครเอเชียเมื่อปี 2012 ที่ได้ทบทวนการศึกษามากกว่า 100 ฉบับแล้วพบว่า การยืดกล้ามเนื้อแบบคงค้างไว้ก่อนการออกกำลังกาย ลดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลง 5% และลดการระเบิดแรงของกล้ามเนื้อในระยะเวลาอันสั้นลง 3% ซึ่งเป็นเหตุผลที่ดีมากที่จะหลีกเลี่ยงการยืดกล้ามเนื้อก่อนการออกกำลังกายอย่างหนัก และก่อนการแข่งค่ะ แต่ไม่ใช่ว่าการยืดกล้ามเนื้อทั้งหมดคือการยืดแบบคงค้างอย่างเดียว ยังมีการยืดกล้ามเนื้อชนิดอื่นอีกนะคะ และข้อดีของการยืดกล้ามเนื้อแบบคงค้างไว้หลังการออกกำลังกายคือ สามารถลดความตึงตัวของร่างกายเพื่อนๆได้ในวันต่อไปหลังจากการฝึกซ้อมค่ะ วิธีการยืดกล้ามเนื้อให้ได้ผลดี คือการยืดเพื่อเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อได้ ซึ่งจะช่วยให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงที่มากขึ้นตลอดช่วงการเคลื่อนไหว และลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้ค่ะ การยืดกล้ามเนื้อมี 4 ชนิด เพื่อนๆต้องพิจารณาว่าจะนำไปประยุกต์ใช้ในโปรแกรมการฝึกซ้อมของเพื่อนๆได้อย่างไร 1. การยืดกล้ามเนื้อแบบคงค้างไว้ (Static stretching) 2. การยืดกล้ามเนื้อแบบเคลื่อนไหว (Dynamic stretching) 3. การยืดกล้ามเนื้อแบบกระตุ้นการรับรู้ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (Proprioceptive Neuromuscular Facilitation-PNF) 4. การกระตุ้นด้วยการยืดกล้ามเนื้อเดี่ยว… Continue Reading “การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และความยืดหยุ่น”

การฝึกกล้ามเนื้อด้วยแรงต้าน

การฝึกกล้ามเนื้อด้วยแรงต้านจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ โดยให้ออกแรงในทิศตรงข้ามกับแรงต้าน แรงต้านที่ใช้ได้ผล ประกอบด้วย น้ำหนักถ่วง เครื่องยกน้ำหนัก และการใช้น้ำหนักร่างกายเป็นแรงต้านค่ะ (Calisthenic exercise) การฝึกด้วยแรงต้าน สร้างร่างกายนักวิ่งได้ 5 ทาง คือ 1. “พัฒนาความสมดุลของกล้ามเนื้อ” เมื่อเพื่อนๆเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อฝั่งตรงข้ามกัน เช่น กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า และด้านหลัง จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อทำงานสมดุลกัน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้ 2. “พัฒนาความยาวก้าววิ่ง” การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้ก้าววิ่งยาวขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น นักวิ่งมือใหม่วิ่งก้าวสั้นเพราะขาดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อนั่นเอง 3. “พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว” หากกล้ามเนื้อลำตัวอ่อนแรงทำให้เกิดความไม่มั่นคงขณะวิ่ง ทำให้ต้องใช้กล้ามเนื้อขามากขึ้น เป็นการเปลืองพลังงาน และลดแรงโดยรวมลงได้ มันเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะออกแรงกล้ามเนื้อได้ดี หากลำตัวเพื่อนๆโยกไปมาขณะวิ่ง 4. “พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะโพก” กล้ามเนื้อสะโพกที่อ่อนแรงทำให้เกิดความไม่มั่นคงของลำตัว และรบกวนการทรงตัวของขา และแรงโดยรวมจะลดลงลงเช่นเดียวกับการที่กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวอ่อนแรง งานวิจัยจากออสเตรเลียในปี 2013 พบว่า… Continue Reading “การฝึกกล้ามเนื้อด้วยแรงต้าน”

การฝึกกล้ามเนื้อด้วยการวิ่ง

  ตอนนี้มารู้จักการฝึกเพื่อให้ถึงเป้าหมายคือการสร้างกล้ามเนื้อนักวิ่ง โดย “การฝึกด้วยการวิ่ง” กันค่ะ ความสวยงามของการวิ่งคือความเรียบง่ายของมันนั่นเองค่ะ ง่ายขนาดที่ว่าเพื่อนๆแค่ใส่รองเท้าวิ่ง เดินออกนอกประตูบ้าน และกีฬาของเพื่อนๆก็ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว! ไม่ต้องใช้ลูกบาสเกตบอล หรือไม้กอล์ฟ 7 ไม้ ไม่ต้องการทีม ไม่ต้องจำท่าทางการเคลื่อนไหวอย่างในศิลปะการต่อสู้คาราเต้หรือท่าทางการเต้นที่ซับซ้อน แต่การวิ่งนั้นคือการเคลื่อนไหวที่เรียบง่าย เป็นธรรมชาติ ทำซ้ำแล้วซ้ำอีก อีกครั้งและอีกครั้ง บางครั้งก็ด้วยอัตราที่เร็ว บางครั้งช้าลง บางครั้งต้องใช้ความพยายามมากขึ้น บางครั้งก็ไม่ต้อง บางครั้งก็วิ่งบนพื้นเรียบ และบางครั้งก็วิ่งบนพื้นขรุขระค่ะ แต่แค่เพราะว่ามันเป็นกิจกรรมที่ง่ายดาย ไม่ได้หมายความว่าการฝึกซ้อมจะง่ายเสมอไปนะคะ เราต้องใช้กฎของความเฉพาะเจาะจงค่ะ นั่นคือต้องฝึกซ้อมเฉพาะเส้นใยกล้ามเนื้อที่เพื่อนๆจะต้องใช้พวกมันในกีฬาที่คุณเล่นเอง โดยฝึกให้ถูกต้องค่ะ เพื่อนๆไม่สามารถฝึกซ้อมให้เป็นนักวิ่งได้โดยการว่ายน้ำอย่างเดียว และไม่สามารถฝึกเส้นใยกล้ามเนื้อแบบหดตัวเร็วเพื่อให้วิ่งเร็วระยะสั้นได้ด้วยการฝึกวิ่งช้าระยะไกล ไม่สามารถแม้แต่ฝึกเส้นใยกล้ามเนื้อแบบหดตัวช้าเพื่อกีฬาชนิดหนึ่งด้วยการฝึกเส้นใยกล้ามเนื้อแบบหดตัวช้าด้วยกีฬาอีกชนิดหนึ่งได้ค่ะ นักวิ่งแข่งขันในงานแข่งวิ่งมาราธอนบอสตันและงานแข่งจักรยานตูร์เดอฟร็องส์ทั้งสองงานนี้ต้องพึ่งพาการทำงานอย่างหนักของเส้นใยกล้ามเนื้อแบบหดตัวช้าเหมือนกัน แต่การฝึกสำหรับการวิ่งแข่งมาราธอนจะไม่ทำให้เพื่อนๆเป็นนักขี่จักรยานที่ดีได้ และในทางกลับกัน เพื่อนๆฝึกขี่จักรยานเพื่อให้เป็นนักวิ่งที่ดีไม่ได้ค่ะ ดังนั้นมีเพียงทางเดียวที่จะฝึกเส้นใยกล้ามเนื้อสำหรับการวิ่งระยะไกลของเพื่อนๆได้อย่างประสบผลสำเร็จคือการฝึกเส้นใยกล้ามเนื้อด้วยการวิ่งระยะไกลเท่านั้นค่ะ สิ่งที่ซับซ้อนมากไปกว่านั้นคือ ร่างกายจะดึงการทำงานของเส้นใยกล้ามเนื้อจำนวนน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นมาใช้ในการทำกิจกรรมหนึ่งๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเพื่อนๆกำลังวิ่งระยะไกลด้วยความหนักสบายๆเพื่อเริ่มสร้างความแข็งแรงของเส้นใยกล้ามเนื้อแบบหดตัวช้า ร่างกายสามารถดึงเส้นใยกล้ามเนื้อแบบหดตัวช้ามาใช้แค่บางตัวเท่านั้น ที่เหลือจะมีเส้นใยกล้ามเนื้อแบบหดตัวเร็วปานกลาง… Continue Reading “การฝึกกล้ามเนื้อด้วยการวิ่ง”

กล้ามเนื้อนักวิ่งแกร่งได้จริงสร้างได้เอง

นักวิ่งส่วนหนึ่งคิดว่าพวกเขาฝึกกล้ามเนื้อที่มีอยู่ไม่กี่มัดมากเกินไปจนขาดความยืดหยุ่น แต่ความจริงคือร่างกายมนุษย์มีกล้ามเนื้อทั้งหมดประมาณ 650 มัด และพวกเรานักวิ่งก็ใช้พวกมันทั้งหมดในเวลาเดียวกันขณะวิ่งค่ะ ถ้าเปรียบเทียบการทำงานของกล้ามเนื้อเหมือนการทำงานของรถ การดึงกล้ามเนื้อทั้ง 650 มัดนี้ให้ทำงานพร้อมกันหมดนั้นแตกต่างจากการขับรถใหม่ออกจากอู่นะคะ ถ้าต้องการขับรถคันใหม่ เพื่อนๆแค่บิดกุญแจและก็ขับออกไปเท่านั้นใช่ไหมคะ แต่ลองทำแบบเดียวกับกล้ามเนื้อที่ยังไม่ได้รับการฝึกดูสิคะ เพื่อนๆลองใส่รองเท้าวิ่ง และมุ่งหน้าไปที่ประตูบ้าน วิ่งออกไปบนถนนที่ขรุขระ และจะรู้ว่า ต้องใช้เวลาอีก 2-3 วันต่อมาบนเก้าอี้โซฟา ปวดร่างกายแทบตายจนทำให้การคลานไปที่ครัวเพื่อหยิบยาแก้ปวดมาทาน ทำให้เพื่อนๆต้องน้ำตาไหลออกจากตาได้เลยทีเดียวค่ะ ในทางตรงกันข้าม กล้ามเนื้อของเพื่อนๆมีประโยชน์ที่แตกต่างจากรถอย่างชัดเจน ชิ้นส่วนของรถใหม่จะดีเท่าที่มันสามารถทำได้ตามคุณสมบัติของมันเอง เช่น เครื่องยนต์สี่สูบ ก็จะได้ความแรงแบบสี่สูบ จะแปลงร่างไปเป็นเครื่องยนต์วี 8 ไม่ได้ ไม่เหมือนกับกล้ามเนื้อของเพื่อนๆ ซึ่งสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้จากการฝึกซ้อม ถ้ากล้ามเนื้อของเพื่อนๆเป็นเครื่องยนต์สี่สูบ มันจะสามารถเปลี่ยนมาเป็นเครื่องยนต์วี 8 ได้อย่างสบายๆค่ะ แต่เพื่อนๆไม่สามารถคาดหวังว่าเครื่องยนต์จะสามารถแปลงร่างกลายเป็นสิ่งมีชีวิตได้หรอกนะคะ ความสามารถของร่างกายที่สามารถพัฒนาขึ้นได้ด้วยการฝึกซ้อมนั้นดูเหมือนเป็นสิ่งที่น่ามหัศจรรย์มาก แต่จริงๆแล้วมันไม่ใช่เรื่องมหัศจรรย์แต่อย่างใดค่ะ เพราะมันคือผลจากการตั้งเป้าหมายที่ถูกต้อง เพื่อการฝึกกล้ามเนื้อที่ถูกมัดด้วยการฝึกที่ถูกต้องนั่นเองค่ะ กล้ามเนื้อนักวิ่งคืออะไร ร่างกายของเพื่อนๆประกอบด้วยกล้ามเนื้อ 3… Continue Reading “กล้ามเนื้อนักวิ่งแกร่งได้จริงสร้างได้เอง”

การสร้างร่างกายนักวิ่ง

สิ่งแรกที่เพื่อนๆต้องเข้าใจเกี่ยวกับการวิ่งนั่นก็คือทุกสิ่งทุกอย่างในร่างกายนั้นเชื่อมโยงถึงกันหมดค่ะ กล้ามเนื้อยึดติดกับกระดูกโดยเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ เมื่อกล้ามเนื้อหดตัว ก็จะดึงกระดูกให้เกิดการเคลื่อนไหว โดยแรงดึงจากเส้นเอ็นกล้ามเนื้อนั่นเองค่ะ ปอดของเพื่อนๆเชื่อมต่อกับเซลล์ต่างๆในร่างกายโดยการส่งต่อออกซิเจนผ่านทางกระแสเลือด สมองของเพื่อนๆเชื่อมต่อกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง กล้ามเนื้อน่อง และเอ็นร้อยหวาย โดยการสั่งการเคลื่อนไหวผ่านทางระบบประสาท และจริงๆแล้วยังมีเนื้อเยื่อที่ห่อหุ้มเกือบทุกเซนติเมตรของร่างกาย จนดูเหมือนร่างกายของเพื่อนๆถูกถักทอเป็นสิ่งเดียวกันทั้งหมดค่ะ ไม่มีส่วนใดในร่างกายนักวิ่งของเพื่อนๆเป็นอวัยวะที่ทำงานแยกกันอย่างโดดเดี่ยวเลยนะคะ แต่ร่างกายกลับเป็นทีมงานที่ดีที่สุด และผู้เล่นในทีมคือ “ส่วนประกอบ” การวิ่งของเพื่อนๆ ทั้งกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ระบบหัวใจและหลอดเลือด โรงงานพลังงาน (ไมโตคอนเดรีย) การควบคุมความเป็นกรดด่าง ระบบประสาท ระบบใช้พลังงาน ระบบฮอร์โมน และสมอง แต่ละส่วนประกอบนี้มีส่วนช่วยในการวิ่งทุกก้าวของเพื่อนๆ และเพื่อการวิ่งที่ดีที่สุด เพื่อนๆจะต้องฝึกแต่ละส่วนประกอบนั้นให้ได้ศักยภาพสูงสุดตามความสามารถของมัน และที่โชคร้ายก็คือ ไม่มีการฝึกแยกส่วนประกอบเดี่ยวๆใด ที่ได้ประโยชน์สำหรับทุกส่วนประกอบอย่างเท่าเทียมกันค่ะ เพื่อนๆต้องตั้งเป้าหมายการฝึกเฉพาะเจาะจงในแต่ละส่วนประกอบให้เหมาะกับบทบาทการวิ่งของเพื่อนๆค่ะ โดยธรรมชาติแล้ว จะมีการคาบเกี่ยวกันในแต่ละการฝึกค่ะ เป้าหมายของเพื่อนๆจะไม่สามารถเสร็จสมบูรณ์เดี่ยวๆได้โดยแยกฝึกแต่ละส่วนประกอบ แต่มันคือการฝึกในทุกส่วนประกอบจนถึงเต็มศักยภาพ 100% แล้วจึงค่อยรวมทั้งหมดเข้าสู่การฝึกรวมที่ทำให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวอย่างเป็นธรรมชาติค่ะ ยกตัวอย่างเช่น การลงซ้อมวิ่ง 1 ครั้ง… Continue Reading “การสร้างร่างกายนักวิ่ง”

คำศัพท์นักวิ่ง

เรามารู้จักคำศัพท์นักวิ่งกันเถอะค่ะ เริ่มต้นด้วยการทำแบบทดสอบกันค่ะ จากคำพูดต่อไปนี้ “ฉันคิดว่าฉันควรออกกำลังกล้ามเนื้อลำตัวเพื่อเพิ่มวีโอทูแมกซ์” คำตอบใดต่อไปนี้เป็นการตอบคำพูดดังกล่าวที่ถูกต้อง ก. อะไรคือวีโอทูแมกซ์เหรอ ข. ฟังดูดีนะ ค. ฉันไม่คิดว่าวีโอทูแมกซ์เป็นตัวบอกถึงสมรรถนะที่สำคัญของการวิ่งมากเท่ากับพลังงานที่ใช้ในการวิ่งในความหนักเกือบสูงสุด คำตอบที่ถูกต้องคือข้อ ค. คำถามนี้เป็นการทดสอบความรู้ในคำศัพท์ 2 คำ และปฏิเสธว่าการออกกำลังกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้ผลในการเพิ่มวีโอทูแมกซ์ค่ะ คำตอบข้อ ก. ได้คะแนนความซื่อสัตย์ไปเลยค่า คำตอบข้อ ข. เป็นคำสารภาพว่าเพื่อนๆไม่รู้ภาษาเฉพาะของนักวิ่ง และอาจจบลงด้วยการถูกกันออกจากกลุ่มสนทนาเกี่ยวกับการวิ่งได้ค่ะ คำศัพท์เฉพาะของนักวิ่งไม่ใช่แค่คำศัพท์ในจินตนาการแบบฉาบฉวยนะคะ แต่มันเป็นคำศัพท์ทางการกีฬาเลยทีเดียว ถ้าคุณต้องการเข้าใจกีฬา คุณจำเป็นต้องพูดภาษาของกีฬานั้นค่ะ คำศัพท์นักวิ่งคืออะไร คำศัพท์นักวิ่งประกอบด้วย คำศัพท์ วลี และคำศัพท์เฉพาะที่ไม่เหมือนใคร ที่เพื่อนๆจะพูดและได้ยินเมื่อสนทนาเกี่ยวกับกีฬาการวิ่ง เนื่องจากการรวบรวมคำศัพท์นักวิ่งมารวมไว้ทุกคำจะใช้พื้นที่หน้ากระดาษจำนวนมาก เราจึงขอเริ่มต้นการศึกษาของเพื่อนๆด้วยการก้าวกระโดดไปศึกษาคำศัพท์ที่ใช้บ่อยที่สุด 12 คำค่ะ คำศัพท์เหล่านั้นประกอบไปด้วย 1. แอโรบิค (Aerobic) 2.… Continue Reading “คำศัพท์นักวิ่ง”