Tag: Full Marathon

10 อย่างที่ต้องทำในวันแข่งขันฟูลมาราธอน

พอถึงวันแข่งขัน เพื่อนๆคงมีหลายอย่างที่อยากทำตามแต่ความต้องการของแต่ละคน แต่มีรายการอีก 10 อย่างต่อไปนี้ที่เราขอแนะนำให้เพื่อนๆทำ เรียกว่า “ต้องทำ” เลยจะดีกว่า ให้เวลาตัวเองให้มากพอก่อนการวิ่งมาราธอน ถึงแม้เพื่อนๆจะเหมือนเราและเกลียดการลุกขึ้นจากเตียงนอนก่อนฟ้าจะสว่าง แต่เพื่อนๆก็คงไม่ต้องการที่จะตื่นในเวลาที่ใกล้จะปล่อยตัวแน่ๆ ไม่ว่าเพื่อนๆตั้งใจจะวิ่งแบบเต่าคลานขนาดไหน ไม่ว่าจะเป็นงานเล็กขนาดไหน จะในรอสเวลล์ นิวเม็กซิโก (งานมาราธอนที่เล็กที่สุดในอเมริกา ที่มีนักวิ่งวิ่งจบเพียงแค่ 47 คนในปี 2011) เพื่อนๆยังคงต้องมีเวลาก่อนการแข่งขันให้กับตัวเองเพื่อทำทุกอย่างที่เพื่อนๆต้องการทำ ไม่ว่าจะทานอาหาร ดื่มน้ำ แต่งตัว ขับรถไปที่จุดปล่อยตัว เข้าห้องน้ำ อบอุ่นร่างกาย ยืดกล้ามเนื้อ และเตรียมจิตใจให้พร้อม ดังนั้น จงลุกขึ้นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เอาอาหารเข้าไปในร่างกาย และปลุกตัวเองให้ตื่นให้ได้ ทานอาหารเช้า เพื่อนๆอาจจะเคยได้ยินมาแล้วว่า อาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดของวัน ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงแล้ว อาหารเช้าในเช้าก่อนการแข่งขันฟูลมาราธอนจึงมีความสำคัญไม่แพ้กัน ไม่เหมือนกับการแข่งขันที่ระยะสั้นกว่าฟูลมาราธอน การแข่งขันฟูลมาราธอนท้าทายระบบพลังงานสำรองในร่างกาย เมื่อเพื่อนๆตื่นขึ้นมาในเช้าวันแข่งขัน ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เพราะว่าเพื่อนๆไม่ได้ทานอาหารมาเลย 9… Continue Reading “10 อย่างที่ต้องทำในวันแข่งขันฟูลมาราธอน”

รุ้งงามทาบทับขอบฟ้า ต่อเมื่อฟ้าหลั่งฝนลงมาแล้ว (Laguna Marathon 2019)

พยากรณ์อากาศแจ้งผ่านมือถือว่า ภูเก็ตจะเจอฝน 90-100% ในวันที่ 9 มิ.ย. 62 นี้ ความเป็นไปได้แบบนี้ เราทำใจยอมรับให้ได้เลยดีกว่า งาน Laguna Marathon เป็นงานอันเลื่องชื่อของภูเก็ตในเรื่องของความร้อนและเนิน เป็นอีกหนึ่งสนามที่เราอยากจะได้ลิ้มลอง เราพอจะรับมือกับแดดได้ แต่ฝนนี่สิ ถ้าตกหนักมากจริงๆก็ไม่สู้เหมือนกัน ส่วนเนินเหรอ เดี๋ยวก็รู้กัน ซ้อมเนินสักหน่อยก็น่าจะโอเค เราสมัครงานนี้ตั้งแต่ช่วงแรกที่เพิ่งเปิดรับ จองเที่ยวบินและที่พักล่วงหน้า 1 ปี เลยได้ราคาค่อนข้างถูก แล้วก็จัดตารางซ้อม แต่สุดท้ายตารางซ้อมช่วงวิ่งยาวก็พ่ายแพ้ต่อภารกิจจุกจิก เลยไม่ได้วิ่งยาวเลย ซ้อมยาวสุดคือ 25 กิโลเมตร นอกนั้นใช้วิธีวิ่ง 10 กิโลเมตรติดกันหลายๆวัน แต่บอกได้เลยว่าไม่ช่วยอะไร อาการล้าต่างกันมากกับการวิ่งต่อกันยาวๆ วันเสาร์ที่ 8 มิ.ย. เราเดินทางสู่ภูเก็ตตัวคนเดียวด้วยนกแอร์ที่เลื่อนเวลาไปมาไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง เหนื่อยใจกับนกแอร์มาก แถมเลทไป 1 ชั่วโมงอีกวันนี้ ไปรับรถของ Avis แถวก็ยาวไม่ต่ำกว่า 10 คิว ในขณะที่ร้านเช่ารถอื่น คนน้อยมาก นี่ถ้าไม่มีคูปองเหลือจากทริปอื่นและต้องรีบใช้ให้หมด ไม่งั้นจะหมดอายุ เราคงเดินไปหารถเช่ารถร้านอื่นแล้ว รวมเวลารอรถหมดไปอีก 1.30 ชั่วโมง เหมือนจะโดนแซงคิวต่อหน้า เราเลยท้วง น้องเลยอัพรถจาก Civic เป็น Accord ให้ แต่รถใหญ่ไปสำหรับเรานะ ขับนี่ต้องระวังมากๆเลย แต่ก็ยอมแล้วเพราะเราหิวข้าวมาก ตอนนั้นบ่ายโมงเข้าไปแล้ว เราขับออกมาหาร้านอาหารแถวสนามบินทาน แล้วค่อยขับเข้าที่พัก Laguna Holiday Club Phuket ซึ่งอยู่ใกล้จุดจัดงานเดินประมาณ 10 นาที มีดราม่าเรื่องที่พักนิดหน่อย สองสัปดาห์ก่อนหน้าติดต่อมาบอกเราว่า Overbook จะย้ายเราไปโรงแรมอื่นซึ่งห่างออกไปประมาณ 10 นาที มีรถรับส่งตามเรียก ได้ห้องหรูเหมือนเดิม แต่เราไม่โอเคด้วย เพราะเราต้องการที่พักที่ใกล้งาน และมีความเสี่ยงที่จะเกิดการล่าช้าตอนวิ่งเสร็จ เพราะเราต้องรีบขับรถกลับมาสนามบิน คืนรถ ในช่วงบ่าย เราจองผ่าน Agoda แต่ Agoda ทำอะไรไม่ได้ บอกแต่ว่าถ้าโรงแรมทำผิดสัญญา Agoda ปรับโรงแรมหลายเท่า แต่มีตัวเลือกให้ลูกค้าอย่างเราคือเลื่อนไปวันอื่น กับหาโรงแรมอื่นให้ ซึ่งไม่ช่วยอะไรเราเลย การแก้ปัญหาของ Agoda เป็นลักษณะชุบมือเปิบ มีแต่ได้กับได้ เพราะได้ทั้งค่าปรับ และไม่ต้องทุ่มเถียงแทนลูกค้าเลย ความรู้สึกเราคือ ควรจะยืนยันให้เราไหม เราจองตั้งแต่ ก.ย. ปี 61 กลายเป็นเราต้องโทรไปที่โรงแรมแล้วก็ยืนยันอย่างแข็งกร้าวว่าจะรับเฉพาะห้องเดิม เราไม่อยากรับความเสี่ยงเรื่องรถติด และก็คิดถูกด้วย เพราะงานนี้เท่าที่ดู ไม่มีที่จอดรถ หรือมีก็น้อยมาก ถนนเข้ามาในบริเวณงานมีขนาดเล็ก และเมื่อถึงเวลางาน จะโดนปิดไป 1 เลน เท่านี้ก็เพียงพอที่จะให้เราไม่ยินยอมที่จะยกห้องที่เราจองมานานมากให้ใคร ทางโรงแรมต้องรับเรื่องไปจัดการเอาเอง ทางโรงแรมแจ้งว่าใช้ระบบ First come. First serve. แต่เท่าที่เห็น โรงแรมไม่ได้ทำอย่างนั้น ก็เป็นเรื่องราวที่จะบอกกล่าวเพื่อนๆ หากจองห้องพักแล้ว ยังไงลองโทรเชคอีกทีก็ดี เรานิ่งนอนใจเองแหละ… Continue Reading “รุ้งงามทาบทับขอบฟ้า ต่อเมื่อฟ้าหลั่งฝนลงมาแล้ว (Laguna Marathon 2019)”

มาราธอนแรกของเพื่อน ดีใจยิ่งกว่ามาราธอนแรกของตัวเอง

“อย่าเรียกความฝัน เพราะมันคือเป้าหมาย ความฝันมีไว้สำหรับคนที่ยังไม่ลงมือทำ แต่แกทำแล้ว ที่เหลือขึ้นอยู่กับการเดินทางที่จะไปให้ถึงเป้าหมายนั้น ผลมันก็มีแค่สำเร็จ กับไม่สำเร็จน่ะนะ แต่ชั้นไม่เคยเห็นคนที่วางแผนไว้ แล้วทำตามแผนอย่างมีวินัย ไม่ประสบความสำเร็จนะ และอย่างน้อยระหว่างทาง แกก็มีชั้นเป็นเพื่อนด้วยไง มาราธอนจะสอนเราเอง สู้ๆ” นี่คือคำให้กำลังใจของเรา ส่งไปให้เพื่อนปุ้ย ผ่านหน้า Facebook ในวันที่เพื่อนปุ้ยโพสข้อความกึ่งแนวตั้งความหวังอย่างท้อแท้ ใช่ค่ะ “เพื่อนปุ้ย” คือเพื่อนสนิทสมัยมอปลายที่หันมาชื่นชอบการวิ่ง จนทำให้เราหันมาวิ่งอย่างจริงจังตามไปด้วย แต่พอเราวิ่งจริงจัง ปุ้ยก็หยุดวิ่งไปเพราะงานยุ่ง จนเห็นปุ้ยเริ่มกลับมาวิ่งอีกครั้งหนึ่ง และตั้งเป้าว่าอยากจะไปมาราธอน เป้าหมายสำคัญจึงเกิดขึ้น แรกๆเราบอกปุ้ยเล่นๆว่าไปด้วยกัน แต่เนื่องจากปุ้ยไม่มีความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมการวิ่งมาก และเราได้ไปเรียนได้ใบประกาศของ Running Revolution มา จึงร้อนวิชา จัดตารางซ้อมเฉพาะให้ปุ้ยเลย ปุ้ยมีเวลาให้เราถึง 8 เดือน นับจากวันที่ตัดสินใจว่าจะจบฟูลมาราธอน และปุ้ยเพิ่งกลับมาวิ่งได้เพียงไม่กี่เดือน ดังนั้น 2 เดือนแรก เราจึงเน้นให้ปุ้ยวิ่งเพื่อปรับพื้นฐานร่างกายใหม่ ให้เริ่มกลับมาคุ้นเคยกับการเคลื่อนไหวในท่าวิ่ง และปรับตารางเวลาของปุ้ยให้ลงตัวกับการวิ่ง 4 วันต่อสัปดาห์ หลังจากนั้นตารางฝึกซ้อมวิ่ง 6 เดือนจึงเริ่มต้นขึ้น เพื่อนปุ้ยขยันขันแข็ง ส่งการบ้านทุกครั้ง ผ่านไป 2 เดือนเราก็รู้แล้วว่าปุ้ย “ติดลม” แล้ว และพอเข้าช่วงเดือนที่ 3 ถ้าเป็นว่าว เราก็เรียกได้แล้วว่า “ลอยลมบน” เพราะโซนชีพจรของปุ้ยดีขึ้นเรื่อยๆ จนแม้แต่เจ้าตัวเองก็รู้สึกได้ ถึงความเหนื่อยที่น้อยลง ชีพจรที่เหวี่ยงแกว่งน้อยลงแม้จะวิ่งที่ความหนักเท่าเดิม แต่แล้วก่อนวันแข่งเพียง 1 เดือน ปุ้ยเริ่มมีอาการปวดสะโพกซ้าย เรานัดเจอกันเพื่อตรวจดูอาการ พบว่าปุ้ยมีอาการข้อต่อกระเบนเหน็บอักเสบ และกล้ามเนื้อสะโพกอักเสบร่วมด้วย อาการปวดมากจนจำเป็นต้องให้หยุดวิ่งไป 1 สัปดาห์ พร้อมรับการรักษาทางกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง สาเหตุที่พอสรุปได้ก็คงจะเป็นระยะวิ่งที่เพิ่มมากขึ้นถึงจุดสูงสุดของตารางซ้อม บวกกับการออกกำลังเพิ่มความแข็งแรงไม่มากพอจะเสริมกล้ามเนื้อให้ทำงานได้ทันกับระยะทางวิ่งที่เพิ่มขึ้น ปุ้ยกังวลเป็นอย่างมาก เราเองก็แอบกังวลไม่ใช่น้อย พอเข้าสัปดาห์ที่ 2 อาการปวดดีขึ้น จึงให้เริ่มวิ่งเหยาะๆ แต่ไม่เข้าโปรแกรมเดิม เราถือว่าปุ้ยได้เข้าช่วงผ่อนโปรแกรมเร็วกว่ากำหนด จึงบอกให้ปุ้ยค่อยๆวิ่งช้า แต่เพิ่มเวลาไปเรื่อยๆจนได้ 60 นาที ค่อยๆเพิ่มวันวิ่งให้ได้ 4 วันต่อสัปดาห์เหมือนเดิม เพื่อคงสภาพร่างกายที่สะสมมาให้ยังคงอยู่ได้  เมื่ออาการดีขึ้นเรื่อยๆ เราก็เริ่มเบาใจ แต่กลายเป็นว่า ปุ้ยไปรับการฝังเข็มมาโดยที่ไม่ได้บอกเราก่อน ผลที่ได้คือต้องหยุดวิ่งอีก 1 สัปดาห์ และเมื่อพ้นมาแล้ว จึงพบว่า อาการเก่าหายไปแล้ว แต่ได้อาการเจ็บกล้ามเนื้อบริเวณที่ฝังเข็มมาใหม่ เราก็แอบบ่นปุ้ยว่านี่ไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม แพทย์ที่ฝังให้ก็เสี่ยงเกินไป ไม่รู้จักเวลาของนักกีฬา ยังดีที่ปุ้ยไปทำกายภาพบำบัดกับรุ่นน้องที่เราแนะนำสม่ำเสมอ พร้อมออกกำลังกล้ามเนื้อลำตัวและสะโพกตามที่เราแนะนำอย่างเคร่งครัด มาถึงจุดนี้เราจึงหวังว่าผลการกระทำทั้งหมดจะช่วยเสริมมาจนถึงวันแข่งได้ทัน ปุ้ยมีดวงเรื่องเสี่ยงโชค ได้ล็อตโตตัวสำรอง ในขณะที่เราชวดทุกงาน จนต้องวิ่งเต้นหาซื้อบิบต่อมาจนได้ ในราคาที่โดนโก่งถึง 300 บาท แต่ก็ถือว่าได้ไปงานมาราธอนที่เก่าแก่ที่สุด และยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งประเทศไทย นั่นคือ จอมบึงมาราธอน 2019 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 20 มกราคม 2562 และขอบอกเลยว่าเราไม่เสียใจที่เลือกงานนี้เป็นงานฟูลแรกของเพื่อน และฟูลแรกของเราที่จะได้พาเพื่อนเข้าเส้นชัย เราออกเดินทางไปก่อนวันงานหนึ่งวันเพื่อรับเบอร์วิ่ง รอบนี้มาฟูลมาราธอน มีคนข้างตัวมาเป็นกำลังใจด้วย เราเลยรู้สึกสดชื่นหน่อย บรรยากาศการรับเบอร์วิ่งของงานถือว่าคึกคัก มีจุดให้ถ่ายรูปหลายจุด เราถือโอกาสถ่ายเก็บไว้เพราะไม่คิดว่าวันรุ่งขึ้นจะมีแรงเหลือมาถ่ายอีก พบเจอเพื่อนๆในงาน ก็ถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึกกัน เสื้อวิ่งที่ได้มาขนาดเล็กมาก ใส่ไม่ได้ เราเลยซื้อเสื้อที่ระลึกจากงานมาใส่แทน เผอิญได้สีและลายที่ชอบพอดี เราแวะวัดมหาธาตุในตัวเมืองไหว้พระเล็กน้อย แล้วรีบเข้าโรงแรม นัดปุ้ยมาดูอาการ เราตรวจสอบพบว่า เหลืออาการตึงด้านข้างต้นขา ซึ่งเป็นอาการใหม่หลังฝังเข็มอีกเล็กน้อย เราจึงทำการพันเทปประคองกล้ามเนื้อให้ และรีบแยกย้ายกันไปนอน พรุ่งนี้เป็นวันยิ่งใหญ่ของทั้งเราและปุ้ย ควรจะได้นอนพักผ่อนให้เพียงพอ เวลาปล่อยตัวของฟูลคือ 4.00 น. เราพักกันในตัวเมือง เพราะตัดสินใจช้า ที่พักแถวจอมบึงจึงเต็มหมด เราจึงต้องตื่นตั้งแต่ 2.00 น. และออกเดินทางจากโรงแรมเวลา 2.30 น. ไปถึงงานก็ประมาณ 3.10 น. ที่จอดรถกว้างขวาง ไม่ต้องหานาน ไม่อึดอัด เจ้าหน้าที่เตรียมพร้อม ข้อดีอีกอย่างของการวิ่งฟูลมาราธอนก็คือ มาถึงก่อนมีที่จอดรถ เสร็จทีหลังขากลับรถหายติดแล้ว  เมื่อมาถึงก่อนเวลานาน เราจึงมีเวลาไปต่อคิวเข้าห้องน้ำ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และเมื่อใกล้เวลา จึงเดินเข้า Block D ซึ่งเป็นจุดปล่อยตัวตามเวลาที่เราคาดว่าจะวิ่งจบ คือ 5-6 ชั่วโมง แต่บอกตามตรงนะว่า น่าจะเป็น 6-7 ชั่วโมง โดยดูจากอาการของปุ้ย และความไม่มั่นใจของปุ้ยอย่างยิ่งแล้ว แต่ทำไมไม่รู้ ลึกๆแล้วเรามั่นใจว่าปุ้ยทำได้ เวลา 6-7 เดือนที่สะสมร่างกายที่แข็งแรงมา ยังไงมันต้องส่งผลช่วยปุ้ยไม่ทางใดก็ทางหนึ่งแน่ๆ ความรู้สึกนี้คงได้มาจากประสบการณ์ส่วนตัวแน่ๆ ปุ้ยถึงกับเอ่ยปากก่อนมาเลยว่า ตั้งใจมา DNF เพราะซ้อมไม่ถึง ยังมีอาการปวดเล็กน้อย แต่อย่างน้อยก็ได้มาสัมผัสกับบรรยากาศงานใหญ่ของประเทศ เราได้แต่บอกปุ้ยว่า อย่าเพิ่งนับศพทหารทั้งที่สงครามยังไม่ได้เริ่มต้นขึ้น และแล้วสัญญาณปล่อยตัวก็เริ่มต้น ตรงเวลา แต่กว่านักวิ่ง Block D อย่างเราจะวิ่งไปถึงเส้นปล่อยตัว นาฬิกาก็เดินไป 3 นาทีนิดๆแล้ว สงครามครั้งนี้กำลังเริ่มขึ้น เป็นสงครามทางจิตวิทยาที่อยู่ในใจนักวิ่งแต่ละคน ไม่มีอาวุธอะไรที่จะดีไปกว่าสติ ที่ทำงานสัมพันธ์ได้ดีกับร่างกายที่ถูกเตรียมพร้อมมาอย่างดีแล้ว กองเชียร์สองข้างทางคึกคักมากจนไม่อยากจะเชื่อว่านี่คือตีสี่ แสดงว่ากองเชียร์ได้มาเตรียมตัวกันก่อนหน้าพอสมควรเช่นกัน ส่วนตัวเรายังไม่เคยเจองานไหนเป็นอย่างนี้มาก่อน จึงรู้สึกประทับใจมากๆในความทุ่มเทของชาวจอมบึง แผนการวิ่งที่เราตกลงกับปุ้ยไว้ก็คือระยะทางครึ่งแรก ให้คิดซะว่าวิ่งฮาล์ฟ เราจะเป็นคนคุมเวลาให้ เรางัดวิชา Pacer ออกมาใช้ คุมเวลาให้ปุ้ย ต้องจบฮาล์ฟภายใน 3 ชั่วโมง คือเวลา 7.00น. ให้ได้ แล้วหลังจากนั้นก็ต้องวิ่งๆเดินๆรักษาเวลาให้พ้นการ Cut off ซึ่งจะมี 2 จุดคือ 24 กิโลเมตร เวลา 8.00น. และ 35 กิโลเมตร ที่เวลา 9.50 น. ถ้าหารเฉลี่ยระยะทางต่อเวลา cut off 7 ชม เราจะต้องวิ่ง Pace เฉลี่ยอยู่ที่ 9.57 หมายความว่า เรื่องที่ใครคิดว่าจะมาเดินแล้วจบ เลิกคิดได้เลย ยังไงก็ต้องวิ่งด้วย แถมถ้าจะเดินผสมวิ่ง ก็ต้องวิ่งแบบเร็วหน่อย ประมาณ Pace 8 เรียกได้ว่าเป็นความเร็วที่ปุ้ยซ้อมมานั่นแหละ แต่ปัญหาคือ ไม่รู้ว่าปุ้ยจะอึดได้ยาวนานขนาดไหน ถนนเส้นทางตรงจากจุดปล่อยตัวมาถือว่ากว้างขวาง วิ่งกันได้สบายมาก เราต้องแวะเข้าห้องน้ำเพราะทนไม่ไหวจริงๆ เลยทำให้เสียเวลาไปเกือบ 10 นาที แต่ก็ได้เจอเพื่อนข้างทางเป็นรางวัลการแวะ สองข้างทางคือกองเชียร์ตามหน้าสถานที่สำคัญต่างๆ เท่าที่สังเกตก็จะเป็นหน้าโรงเรียนหรือหน่วยงานราชการ พอพ้นช่วง 2-3 กิโลเมตรแรกมา กลุ่มกองเชียร์ก็เริ่มห่างกันไป เราเริ่มวิ่งเข้าถนนสู่หมู่บ้าน อากาศเย็นสบายมากจริงๆ ทำให้เรื่องอากาศไม่ใช่อุปสรรคของการวิ่งวันนี้เลย เราสามารถคุมเวลาให้ปุ้ยได้ใน 21 กิโลเมตรแรก ได้ Pace อยู่ประมาณ 8-9 นาทีต่อกิโลเมตร เดินกันเล็กน้อย เราใช้เวลาจบฮาล์ฟไป 3:07:50 เกินจากที่ตั้งเป้ามานิดหนึ่ง ผ่านมาครึ่งทาง ผ่านหน้าวัดหนองปรือใหญ่พลายงาม มีป้ายตั้งอยู่หน้าวัดให้กำลังใจนักวิ่ง  และหลวงพ่อในตำนานที่คอยพรมน้ำมนต์ให้นักวิ่ง ปากก็อวยพรตลอดเวลา เป็นกำลังใจให้นักวิ่งได้ดี ตอนวิ่งขากลับมา แดดร้อนส่องโดนท่านโดยตรง ท่านก็ยังคงนั่งอยู่ที่เดิม นี่คือตัวอย่างของชาวจอมบึงจริงๆ นับถือมากๆ เราหันไปมองปุ้ย ปุ้ยเริ่มหน้ายุ่ง เราคอยถามปุ้ยตลอดว่าจะเอายังไง ถ้าไปต่อ ต้องยอมรับความเคี่ยวเข็ญของเรา เพราะการไปต่อจะให้คุ้มก็คือต้องทันเวลา Cut off เป็นหลัก เรียกว่า ไปก็ไปให้สุด ได้ก็ได้เลย ไม่ได้ก็ไม่ได้เลย เราเอาหลักการใช้ชีวิตของเรามาใช้กับปุ้ยซะเลย All or Nothing น่ะนะเพื่อน หลักง่ายๆแต่ทำยากหน่อย ปุ้ยหยุดคิดเล็กน้อย พร้อมกับพยักหน้าแล้วบอกลองดู ส่วนตัวเราชอบใช้กฎแห่งการย่อยเป้าหมายให้เล็กลง อย่างวิ่งมาราธอน เราก็จะย่อยว่า เรามาวิ่งหนึ่งฮาล์ฟ หนึ่งมินิ สองฟันรัน แล้วเราก็จะจินตนาการว่าเราเคยวิ่งอย่างไรในแต่ละระยะนั้น ก็จะทำให้เรามีแรงเหลือถึงตอนท้าย เพราะปกติฮาล์ฟเราจะวิ่งช้ากว่ามินิแน่นอน เราบอกปุ้ยอย่างนี้เช่นกัน ไม่รู้ว่าปุ้ยจินตนาการอย่างนี้หรือเปล่า หรือปุ้ยอาจมีวิธีคิดที่แตกต่างไปก็ได้ ปุ้ยเริ่มเดินมากขึ้นเมื่อผ่าน 21 กิโลเมตรมา เรายังสามารถเรียกปุ้ยถ่ายรูปด้วยกันได้แบบหน้าตายังยิ้มแย้มอยู่… Continue Reading “มาราธอนแรกของเพื่อน ดีใจยิ่งกว่ามาราธอนแรกของตัวเอง”

ไม่มีน้ำตา ไม่มีดราม่า เพราะรู้ว่าผลที่ได้มันสมควร

หลังจากชวดฟูลมาราธอนงานนี้ปีที่แล้วเพราะเจ็บหนักจนต้องลดระยะลงเหลือฮาล์ฟและซ้อมไม่ทัน มาปีนี้จึงตั้งใจเป็นมั่นเหมาะว่าจะคว้าเหรียญ Finisher สวยๆมาครองให้ได้ แต่ก็เหมือนฟ้าลงโทษ อาการเจ็บเท้าแบบที่เลี่ยงไม่ได้เพราะโครงสร้างเท้ามีปัญหามาแต่เกิดทำให้หมองดให้วิ่งยาวระยะหนึ่งและต้องหลุดจากโปรแกรมซ้อมกลางทาง แต่เมื่อความฝันเรียกหา จึงทำให้ต้องมายอมรับความจริง และหาทางว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง เพื่อไปให้ถึงจุดนั้น ฟูลที่ 2 กับการต่อสู้กับอาการเจ็บเท้าที่ทำให้ซ้อมยาวไม่ได้ ระยะไกลสุดที่วิ่งถึงคือ 22 กิโลเมตร ซ้อมด้วยการถนอมตัวเอง แต่ยังคงวิ่ง 4 วันต่อสัปดาห์ ไม่ต่ำกว่า 40 กิโลเมตรต่อสัปดาห์มานาน 6 เดือน เอาเวลาที่เหลือไปเล่นกล้ามท้อง สะโพก เข่าและเท้ามากขึ้น สลับกับคาร์ดิโออื่นๆวนไป แล้วมารอดูว่า ร่างกายให้รางวัลอะไรบ้าง และแล้ววันที่เฝ้ารอก็มาถึง เราขับรถออกจากกรุงเทพเวลา 11.30 แต่เจอรถติดหนาแน่นที่ด่านเก็บเงินด่านหนึ่งจนต้องระเห็ดระเหินหาทางอื่นไป ไปๆมาๆก็ถึงจุดรับบิบเวลา 16.00 และกลุ่มน้องๆที่ขับรถตามมาสมทบเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนรถเจ้าถิ่น ไอ้ที่วางแผนว่าจะไปกินบุฟเฟ่ต์ก็เป็นอันต้องล้มเลิกไป ไปนั่งปัดยุงที่โรงพักแทน กว่าจะได้กลับบ้าน จัดข้าวของเสร็จ ก็ปาเข้าไป 23.00… Continue Reading “ไม่มีน้ำตา ไม่มีดราม่า เพราะรู้ว่าผลที่ได้มันสมควร”

โปรแกรมการฟื้นตัวหลังการวิ่งฟูลมาราธอน

การฟื้นตัวหลังการวิ่งฟูลมาราธอนทำได้อย่างไร จากนี้ไปคือโปรแกรมการฟื้นตัวคร่าวๆ ที่บอกถึงการทานอาหาร การบำบัดฟื้นฟู การออกกำลังชนิดอื่น และการวิ่งเป็นเวลา 3 สัปดาห์หลังการวิ่งฟูลมาราธอน แผนการฟื้นฟูนี้รับประกันได้ว่าจะช่วยให้เพื่อนๆฟื้นตัวเร็วขึ้น และสามารถกลับไปฝึกซ้อมได้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ค่ะ หลังการแข่งขันทันที โปรแกรมการฟื้นตัวหลังการแข่งขันทันทีค่อนข้างที่จะวางแผนไว้ล่วงหน้าได้ยาก ดังนั้นเพื่อนๆจึงควรให้ความสำคัญกับการทานอาหารก่อนแข่ง และแผนการแข่งขันเป็นหลัก เพื่อที่จะได้แนวทางสำหรับการพักทันทีหลังแข่งได้ค่ะ หลังจากที่เพื่อนๆวิ่งเข้าเส้นชัยแล้ว แม้จะเป็นวันที่ร้อนขนาดไหนก็ตาม เพื่อนๆอาจจะมีอาการหนาวสั่น และเย็นได้ หากทำได้ควรเปลี่ยนเสื้อให้แห้งและอุ่น หรือไม่ก็พยายามหาอะไรที่อุ่นเอาไว้ และสวมเสื้อทับไว้ เพื่อนๆอาจติดเชื้อหวัดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งแม้ไม่ได้ช่วยในเรื่องของการฟื้นตัว แต่การที่ตัวอุ่นก็จะรู้สึกดีกว่ามาก รวมไปถึงเปลี่ยนรองเท้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับเท้าที่บวมขึ้นจากการวิ่งระยะยาว และแห้งพอจากความชื้น นอกจากนั้นยังช่วยรองรับเท้าที่อ่อนล้าจากการวิ่งระยะยาว ป้องกันการบาดเจ็บได้ ดังนั้น จึงไม่ควรใส่เป็นรองเท้าแตะนะคะ หลังจากเปลี่ยนเสื้อผ้าแห้งแล้ว ให้หาที่ที่จะนอนลงได้ เพื่อการยกขาให้สูง หลังจากที่ร่างกายทำงานมานานหลายชั่วโมง ร่างกายต้องการความช่วยเหลือเพื่อให้มีการไหลเวียนเลือดได้ดี และยังช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายแบบง่ายๆได้ด้วย เลือกสถานที่ที่ปลอดภัยว่าเพื่อนๆจะได้นอนลงสบายๆ ไม่มีใครมาจ้องมอง ตามหลักการแล้ว เพื่อนๆต้องยกขาสูงเป็นเวลา 15-25 นาทีในครั้งแรก… Continue Reading “โปรแกรมการฟื้นตัวหลังการวิ่งฟูลมาราธอน”

ทำไมต้องพักเพื่อการฟื้นตัวหลังการวิ่งฟูลมาราธอน?

การฟื้นตัวหลังการวิ่งฟูลมาราธอนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากในแผนการฝึกซ้อมที่สมบูรณ์ไร้ที่ติ ชนิดที่นักวิ่งไม่ควรจะละเลยค่ะ การพักฟื้นหลังการวิ่งฟูลมาราธอนไม่เพียงแต่เป็นส่วนประกอบของมาราธอนที่สำคัญที่สุด แต่เป็นที่น่าเสียดายมากที่มักจะถูกมองข้ามไป พูดตรงๆเลยก็คือ เพื่อนๆมักมีความคิดแค่อยากจะวิ่งฟูลมาราธอนให้เสร็จไปเท่านั้น โดยไม่แม้แต่จะคิดว่าจะต้องตั้งเครื่องร่างกายใหม่ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการกลับไปฝึกซ้อมในโปรแกรมได้อีกครั้งหนึ่ง นักวิ่งหลายคนมีความกลัวว่า สมรรถภาพร่างการจะถดถอย หลังจากหยุดพักการวิ่งไปสัก 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ซ้ำร้ายยังใช้เวลาที่ขอหยุดงานหลังจากการวิ่งฟูลมาราธอนให้หมดไปกับการออกเดินทางไปหาหมอฟันเพื่อทำรากฟัน หรือออกไปทำธุระอื่นๆที่ค้างคานอกบ้าน แทนที่จะนอนพักอยู่ในบ้าน มากไปกว่านั้น การหยุดฝึกซ้อมก็ช่างขัดกับสัญชาตญาณเหลือเกิน หลังจากเสร็จสิ้นจากการแข่งขันใหญ่แล้ว เพื่อนๆคงอยากจะป่าวประกาศความสำเร็จของตัวเองให้คนอื่นรับรู้ และก็ตั้งเป้าหมายใหม่ให้ดีกว่าเดิมใช่ไหมล่ะคะ ในทางกลับกัน หลังจากการแข่งขันที่แสนจะน่าผิดหวัง สิ่งสุดท้ายที่จะอยู่ในใจเพื่อนๆก็คือ การพัก เพื่อนๆต้องการที่จะล้างแค้น และกระวนกระวายใจกับการกลับไปที่จุดเริ่มต้นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ใช่ไหมคะ ออกจะแย่หน่อยถ้าเพื่อนๆไม่มีช่วงเวลาที่ฟื้นตัวอย่างเหมาะสมหลังการวิ่งฟูลมาราธอน เพื่อนๆกำลังเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บโดยไม่จำเป็นค่ะ แถมจะยิ่งทำให้เวลาที่ต้องใช้พักหลังการวิ่งมาราธอนนานเนิ่นออกไปอีก และซ้ำร้ายกว่านั้นคือ ทำให้จำกัดศักยภาพของร่างกายเพื่อนๆในระยะยาว การฝึกให้กลับไปทำลายสถิติส่วนตัว และมีสุขภาพดีจะทำได้ยากยิ่งขึ้นไปอีกค่ะ การพักเพียง 7 – 10 วันไม่ใช่เพียงแค่จะมีผลลบต่อสมรรถภาพร่างกายน้อยมากในปัจจุบันเท่านั้น แต่ในระยะยาวแล้วมันจะช่วยป้องกันสมรรถภาพที่ลดลงได้ด้วย ในฐานะผู้รักษา เราได้ยินการโต้เถียงกันระหว่างทั้งผู้รักษาและโค้ชกับนักกีฬาที่ต้องการกลับไปฝึกซ้อมหรือแข่งขันทันที ทั้งที่เพิ่งจบการแข่งขันหนึ่งมา… Continue Reading “ทำไมต้องพักเพื่อการฟื้นตัวหลังการวิ่งฟูลมาราธอน?”

วิ่งเร็วหรือช้า มาดูค่าเฉลี่ยกัน

เห็นคำถามจากเพื่อนนักวิ่งหลายๆท่านถึงเวลาที่วิ่งได้ในระยะ 10 กิโลเมตรบ้าง ฮาล์ฟบ้าง ฟูลบ้าง ว่าดีไหม คนอื่นวิ่งได้เท่าไรบ้าง เราเลยไปหาข้อมูลมาให้ดูกันค่ะ ที่อเมริกามีการเก็บข้อมูลในนักวิ่ง 10,000 คน ในปี 2010 แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ยแต่ละระยะเอาไว้ แต่จะไม่บอกเป็นเวลาที่วิ่งได้ แต่จะบอกเป็นความเร็วที่วิ่งได้ หน่วยเป็นนาทีต่อไมล์แทนนะคะ หากเพื่อนๆต้องการทราบความเร็วเป็นเวลาต่อกิโลเมตรแบบบ้านเรา ก็สามารถคำนวณกลับมาได้นะคะ เดี๋ยวจะมีลิงค์ให้กดไปดูเลยค่ะ สำหรับค่าเฉลี่ยของคนไทย ยังหาไม่ได้นะคะ เรามาดูวิธีการดูค่าเฉลี่ยกันก่อนนะคะ ให้เพื่อนๆเข้าไปที่เวปไซท์ http://www.pace-calculator.com จะเจอหน้าตาให้เติมเวลาที่วิ่งได้ เลือกระยะทางที่ใช้ในการแข่งขัน หรือจะเติมระยะทางวิ่งก็ได้ค่ะ และถ้าเกิดเราเลือกระยะทางในการแข่งขันแล้ว ระยะทางวิ่งจะเด้งขึ้นมาเองอัตโนมัติค่ะ อย่างเราก็เติมเวลาที่ดีที่สุดที่เราเคยทำได้ในการวิ่ง 5 กิโลเมตร ก็คือ 27:05 นาทีค่ะ หลังจากนั้นให้กดตรงคำว่า Calculate Pace เพื่อคำนวณความเร็วในการวิ่งค่ะ และแล้วโปรแกรมก็จะคำนวณความเร็วการวิ่งมาให้เพื่อนๆ อย่างของเราก็จะขึ้นมาเลยว่าได้ความเร็วอยู่ที่ 8.43 นาทีต่อไมล์… Continue Reading “วิ่งเร็วหรือช้า มาดูค่าเฉลี่ยกัน”

มาราธอนแรก…ศิลปะการเดินทางระหว่างใจกับกาย

ในที่สุดก็มาถึงวันแห่งการรอคอยที่ยาวนาน หลังจากที่สมัครงานมาราธอนของนาวิกโยธินแล้วต้องลดระยะเหลือฮาล์ฟ เพราะเกิดเจ็บ ITB ทำให้ซ้อมไม่ทัน เรายังไม่หมดหวังกับมาราธอนภายในปีนี้ตามที่ตั้งใจไว้ จึงลงงานล้านนามาราธอนในวันที่ 19 พ.ย. 60 เอาไว้ และเริ่มต้นเข้าโปรแกรมซ้อมสำหรับนักวิ่งเริ่มต้นเป็นเวลานาน 6 เดือน ระหว่างโปรแกรมซัอม ป่วยหนักเข้าโรงพยาบาลไป 2 ครั้ง ผ่าตัดเล็ก 1 ครั้ง แต่ละครั้งต้องพักฟื้นไม่ต่ำกว่า 1 สัปดาห์ ยังโชคดีที่ช่วงป่วยนั้น เป็นช่วงผ่อนโปรแกรมซ้อมพอดี จึงยังได้ซ้อมวิ่งยาวเพิ่มระยะมาเรื่อยๆ จริงๆควรได้ซ้อมเพิ่มระยะถึง 35 กิโลเมตร แต่ด้วยป่วยรอบสุดท้าย จึงทำให้ต้องข้ามไป ได้ระยะซ้อมสูงสุดที่ 30 กิโลเมตร ที่เหลือค่อยไปคว้าเอา แต่ก็ตกลงกับตัวเองไว้แล้ว ว่าถ้าไม่ไหวก็ DNF ไป ในเมื่อร่างกายไม่พร้อม เรามาเที่ยวเชียงใหม่ล่วงหน้าก่อนวันวิ่ง 4 วัน… Continue Reading “มาราธอนแรก…ศิลปะการเดินทางระหว่างใจกับกาย”

งานวิ่งดีๆมีเยอะ … รู้ได้ยังไง?

จากที่วิ่งมานานประมาณ 4 ปี ได้เข้าร่วมงานวิ่งปีละไม่ต่ำกว่า 15 งาน ได้รับทั้งประสบการณ์ทั้งดีและแย่ ดีก็เรียกได้ว่าไม่มีที่ติ แย่ก็เรียกได้ว่าแทบจะเอาชีวิตไม่รอด เราเลยลองรวบรวมหัวข้อสำคัญๆที่จะให้เพื่อนๆนักวิ่งหน้าใหม่ใช้เป็นแนวทางในการเลือกลงสมัครงานวิ่งกันนะคะ ทั้งนี้ทั้งนั้น คงต้องยืนอยู่บนพื้นฐานที่ว่า มาตรฐานในการจัดงานวิ่งบ้านเรายังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงเป็นการยากที่จะบอกว่าสิ่งที่เราสรุปมาเล่านี้จะเป็นมาตรฐานระดับโลกหรือเปล่า อันนี้ขอบอกไว้ก่อนว่า มาจากประสบการณ์ล้วนๆนะคะ 1. ดูผู้จัดสักหน่อย ดูว่าเป็นงานที่ผู้จัดจัดกันเอง หรือจ้างทีมจัดมืออาชีพ อันนี้ค่อนข้างสำคัญค่ะ ค่อนข้างเป็นตัวบอกลักษณะงานเลยค่ะ ถ้าจัดกันเอง และมือใหม่จัดครั้งแรก เราคงไม่สามารถคาดหวังความสมบูรณ์แบบได้เลยค่ะ แต่ก็เคยเจองานที่จัดกันเอง แต่สมบูรณ์แบบมาแล้ว อาจเพราะเคยจัดมานานหลายปีแล้วนั่นเอง ดังนั้นถ้าเจอผู้จัด จัดกันเอง ครั้งแรก และเป็นอาสาสมัครล่ะก็ ให้ทำใจไว้ส่วนหนึ่งเลยค่ะ ส่วนการจ้างทีมจัดมืออาชีพ ก็เป็นอันแน่นอนว่าเราจะได้ความเป็นมืออาชีพ เช่น เส้นทางวิ่งที่ปิดอย่างเป็นระบบ คนยืนคุมทางมีมากเพียงพอ และมีประสบการณ์ในการจัดการจราจรให้กับนักวิ่ง อุปกรณ์ต่างๆ ณ จุดปล่อยตัวและเส้นชัยเชื่อถือได้ มีกรวยมากเพียงพอในการกั้นทาง และรายละเอียดอื่นๆอีกมากมายที่ผู้ที่จัดกันเอง… Continue Reading “งานวิ่งดีๆมีเยอะ … รู้ได้ยังไง?”

บาปหนัก 7 ประการของมาราธอนแรก

และแล้ว…ก็ถึงวันที่เพื่อนๆได้สมัครลงแข่งมาราธอนครั้งแรกใช่ไหมคะ เพื่อนๆตื่นเต้นเหลือเกิน และก็ยังกลัวซะด้วย เป็นเรื่องธรรมดานะคะที่เพื่อนๆจะรู้สึกกังวลนิดหน่อย ปิศาจแห่งการวิ่งมักจะทำงานด้วยวิธีการลึกลับเสมอ และถ้าระยะทาง 42 กิโลเมตรยังไม่หนักมากพอ มันจะโยนสิ่งกีดขวางเล็กๆน้อยๆมาทำให้เพื่อนๆต้องออกจากการแข่งขันไปเลยล่ะค่ะ แต่ถ้าเพื่อนๆตั้งใจฟังดีๆ เพื่อนๆจะสามารถหลีกเลี่ยงบาปหนักเหล่านั้นได้ และสามารถจบมาราธอนแรกได้โดยไม่มีอาการบาดเจ็บแต่อย่างใดค่ะ มาลองดูกันนะคะว่า บาปหนักเหล่านี้มีอะไรบ้าง ลองคิดดูนะคะว่า เพื่อนๆเพิ่งเสียเงินหลักพันเพื่อให้ได้วิ่งในการแข่งขันที่จะทำให้เหนื่อยมากเกินกว่าจะจินตนาการได้ค่ะ และนักการตลาดก็ชอบเห็นอารมณ์เหนื่อยของเพื่อนๆซะด้วยสิคะ เพราะมันเห็นได้อย่างชัดเจนเลย และสามารถหาประโยชน์จากเพื่อนๆได้อย่างง่ายดายซะด้วย อย่าปล่อยให้เขาทำได้นะคะ เพื่อนๆไม่ได้ต้องการพลังงานสำรองที่ห้อยอยู่ที่สายรัดเอวของเพื่อนๆ หรือแม้กระทั่งนาฬิกาจับเวลา นาฬิกาจับความฟิตใดๆ หรอกค่ะ แต่สิ่งเดียวที่เพื่อนๆต้องการจริงๆก็คือ ความตั้งใจจริงและความมีวินัยในตัวเองที่จะลงมือฝึกซ้อมเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ และรองเท้าสักคู่หนึ่งที่พอดีกับเท้าของเพื่อนๆ แค่นั้นเองค่ะ เพื่อนๆไม่ต้องการแม้แต่เสื้อที่ใส่บอกคนอื่นว่า “ฉันกำลังฝึกซ้อมเพื่อมาราธอน” หรอกนะคะ ทุกๆคนรู้อยู่แล้วล่ะค่ะว่าเพื่อนๆกำลังฝึกซ้อมเพื่อวิ่งมาราธอนค่ะ เชื่อเถอะค่ะ เพื่อนๆอาจดาวน์โหลดแผนการฝึกซ้อม 16 สัปดาห์และมีความมุ่นมั่นที่จะออกไปทำให้ได้ตามที่ตั้งใจ แต่หลังจากวันอันยาวนานของการฝึกซ้อม เพื่อนๆรู้สึกว่าไม่มีพลังงานเอาซะเลย แล้วจะให้ทำอย่างนี้ไปถึง 4 เดือนน่ะเหรอ ไม่ดูเหมือนว่าบ้าไปหน่อยเหรอ กับการฝึกซ้อมอันยาวนานเพื่อการแข่งขันครั้งเดียว ดังนั้น… Continue Reading “บาปหนัก 7 ประการของมาราธอนแรก”

แพทริก ดาวเนส คนขาขาดคนแรกที่วิ่งจบบอสตันมาราธอน

3 ปีที่แล้ว แพทริกสูญเสียขาซ้ายจากเหตุการณ์วางระเบิดงานบอสตันมาราธอนในขณะที่ยืนดูภรรยาของเขาใกล้จะวิ่งถึงเส้นชัยแล้ว ภาพของดาวเนสที่ใส่ขาเทียมและยกมือเหนือศีรษะขณะวิ่งข้ามเส้นชัยเส้นเดียวกันกับเพื่อนๆ ทำให้เขากลายมาเป็นคนขาขาดคนแรกที่วิ่งเข้าเส้นชัยบอสตันมาราธอนได้ด้วยเท้าของเขาเองทั้งหมดจนครบระยะทาง เขาเข้าเส้นชัยที่เวลา 14:46น. ซึ่งเป็นเวลาที่เกิดการระเบิดที่เส้นชัยในปี 2013 ด้วยเวลารวม 5:56:46 ชั่วโมง เขาเข้าสวมกอดภรรยาของเขา และยังเป็นเพื่อนที่เป็นเหยื่อระเบิดด้วยกันชื่อว่า เจสซิก้า เคนสกี้ (Jessica Kensky) “ผมวิ่งเพื่อเมืองนี้ด้วยหัวใจ” ดาวเนสบอกกับ WBZ ซึ่งเป็นรายการโทรทัศน์ของ สตีฟ เบอร์ตัน (Steve Burton) ด้วยความรู้สึกที่เต็มไปด้วยอารมณ์ต่างๆหลังจากวิ่งเข้าเส้นชัย ก่อนที่จะเติมคำพูดใดๆ เขายังคงคิดถึงเหยื่อที่เสียชีวิตในเหตุการณ์วางระเบิดและเอ่ยชื่อพวกเขาออกมา คือ มาร์ติน ริชาร์ด (Martin Richard) ลิงซี่ ลู (Ringzi Lu) คริสเทิล แคมพ์เบลล์ (Krystle Campbell) และ ซีน… Continue Reading “แพทริก ดาวเนส คนขาขาดคนแรกที่วิ่งจบบอสตันมาราธอน”

ความซื่อสัตย์ของนักวิ่งระยะไกล

ชัยชนะคือทุกสิ่งจริงหรือ เพื่อนๆแน่ใจว่าอย่างนั้นหรือคะ มาลองอ่านเหตุการณ์นี้กันค่ะ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2016 นักวิ่งชาวสเปนชื่อ อีวาน เฟอร์นานเดซ อนันยา (Ivan Fernandez Anaya) ได้ลงแข่งขันวิ่งวิบากในเมืองเบอร์ลาดา จังหวัดนาวาร์เร่ (Burlada, Navarre) ประเทศสเปน เขากำลังเป็นที่ 2 อยู่ในขณะนั้น ซึ่งห่างจากอันดับ 1 ที่นำเขาอยู่ นักวิ่งคนนั้นชื่อว่า เอเบล มูไท (Abel Mutai) ซึ่งเป็นนักวิ่งเหรียญทองแดงจากการแข่งขันโอลิมปิกที่ลอนดอนประเภทวิ่งข้ามสิ่งกีดขวางระยะทาง 3,000 เมตร เมื่อพวกเขาวิ่งเข้ามาถึงทางตรงก่อนถึงเส้นชัย อีวานเห็นนักวิ่งชาวเคนยา คนที่แน่นอนแล้วว่าจะเข้าเส้นชัยได้อันดับ 1 หยุดวิ่งก่อนถึงเส้นชัยประมาณ 10 เมตร ด้วยความเข้าใจผิดคิดว่าตนเองได้ข้ามเส้นชัยไปแล้ว อีวานรีบวิ่งเข้าไปหามูไท แต่แทนที่เขาจะเอาเปรียบความผิดพลาดของมูไทด้วยการวิ่งแซงและเข้าเส้นชัยได้ชัยชนะที่ไม่ใช่ของจริง เขากลับวิ่งอยู่ข้างหลังมูไท… Continue Reading “ความซื่อสัตย์ของนักวิ่งระยะไกล”