Tag: Marathon

ความผิดพลาดประจำของนักวิ่ง

ประสบการณ์ได้บอกเราว่านักวิ่งจำนวนน้อยมากที่จะสามารถวิ่งด้วยความเร็วคงที่ในการแข่งขันตั้งแต่เริ่มต้นจนจบอย่างสมบูรณ์แบบ นักวิ่งจำนวนมากเกินไปละทิ้งแผนการแข่งขันของพวกเขาเวลาที่เกิดความตื่นเต้น หรือความกังวลเข้ามาแทนที่ และเมื่อเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดการทำผิดพลาดดังต่อไปนี้ เปลี่ยนแปลงการอบอุ่นร่างกายในวันแข่งขัน: ตัวอย่างเช่น เพื่อนๆมองเห็นนักวิ่งแชมป์โอลิมปิกระยะ 5,000 และ 10,000 เมตรนามว่า โม ฟาราห์ (Mo Farah) ที่นำการวิ่งเป็นช่วงสั้นๆมาเป็นส่วนหนึ่งของการอบอุ่นร่างกาย และเพื่อนๆก็ตัดสินใจว่าเพื่อนๆต้องการทำเหมือนกัน อย่าทำอย่างนั้น มันมีอะไรบางอย่างที่ไม่ธรรมดาที่ทำให้เพื่อนๆสงบก่อนการแข่งขันได้ หากทำสิ่งที่เคยทำมาอย่างซ้ำๆ จากการฝึกซ้อมในช่วงอบอุ่นร่างกาย อย่างการวิ่งเหยาะๆ การวิ่งสไตรด์ และการยืดกล้ามเนื้อที่เพื่อนๆได้ฝึกฝนมาในการฝึกซ้อมก่อนหน้านี้อย่างหนัก วิ่งออกตัวเร็วเกินไป: กฎหลักทางสรีระวิทยาที่ใช้ในการแข่งขัน คืออย่าวิ่งช่วงไมล์แรกในระยะแข่งขัน 10 ไมล์ด้วยความเร็วของการแข่งขัน 1 ไมล์ และเพื่อนๆจะไม่สามารถวิ่งช่วงไมล์แรกของการแข่งขันระยะ 5 กิโลเมตรได้ด้วยความเร็วของการวิ่งแข่งขัน 1 ไมล์เช่นกัน ที่ความเร็วอย่างนั้น เพื่อนๆจะสามารถวิ่งได้เพียงแค่ 1 ไมล์ วิ่งด้วยความเร็วที่ไม่แน่นอน: นักวิ่งระยะไกลแนวหน้าชาวเคนย่ามีชื่อเสียงในเรื่องของการวิ่งความเร็วการแข่งขันในช่วงแรก การเพิ่มความเร็วขึ้นอย่างรวดเร็วดุดัน… Continue Reading “ความผิดพลาดประจำของนักวิ่ง”

ทำไมใครๆจึงหันมาวิ่งมาราธอน

ก่อนที่เพื่อนๆจะเริ่มเตรียมตัววิ่งมาราธอน เพื่อนๆควรรู้ว่าทำไมเพื่อนๆจึงหันมาวิ่ง นอกเหนือจากนั้น การตัดสินใจวิ่งมาราธอนก็ไม่เหมือนกับการตัดสินใจว่าจะทานอะไรเป็นอาหารค่ำ หรือจะสั่งอะไรที่ชื่นชอบในร้านกาแฟ แต่มันคือการตัดสินใจที่ค่อนข้างจะยิ่งใหญ่ที่ต้องใช้ความรับผิดชอบ ดังนั้นเหตุผลที่จะลงมือทำจึงเป็นคำถามแรกที่สำคัญที่ควรจะถามตัวเอง เพื่อนๆอาจต้องการวิ่งมาราธอนด้วยเหตุผลที่หลากหลายดังต่อไปนี้ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง: การฝึกซ้อมเพื่อการวิ่งมาราธอนเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายทางด้านแอโรบิค (ไม่ใช่การมีบั้นท้ายที่ใหญ่ขึ้น) ไม่มีอะไรทำให้เพื่อนมีสมรรถภาพทางแอโรบิคได้ดีขึ้นเท่ากับการวิ่งอีกแล้ว นั่นเป็นเพราะว่าการวิ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของร่างกายทั้งหมด มันฝึกกล้ามเนื้อทุกมัด สามารถทำให้ชีพจรสูงขึ้นมากกว่ากิจกรรมอื่นๆซึ่งเป็นสิ่งเร้าที่มีพลังต่อการพัฒนาสมรรถภาพระบบหัวใจและหลอดเลือด เพื่อลดน้ำหนัก: การวิ่งเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการลดน้ำหนัก เนื่องจากการวิ่งสามารถเผาผลาญพลังงานได้มากกว่ากิจกรรมอื่นๆ และเพราะว่าการฝึกซ้อมเพื่อการวิ่งมาราธอนคือการวิ่งจำนวนมาก ซึ่งก็คือจำนวนพลังงานที่ถูกเผาผลาญจึงมีมาก คนส่วนใหญ่แม้แต่นักวิ่งที่แข่งขันตามฤดูกาลมักจะน้ำหนักลดลง 1 – 2 กิโลกรัมระหว่างการฝึกซ้อมเพื่อการวิ่งมาราธอน เพื่อท้าทายตัวเอง: มนุษย์มักชอบผูกตัวเองอยู่กับความพยายามที่ยาก จึงตั้งเป้าหมายให้ยากและเอาชนะให้ได้ แล้วจะมีอะไรที่ดีกว่าในการท้าทายให้วิ่ง 42 กิโลเมตรได้ล่ะ? การลงมือทำเช่นนี้จะได้ทั้งความท้าทายต่อร่างกายและการทดสอบความแข็งแรงของจิตใจ เพื่อทำบางอย่างให้สำเร็จและพัฒนาความเคารพตนเอง: การพยายาม และที่ดีไปกว่านั้นก็คือการประสบความสำเร็จในบางสิ่งที่เพื่อนๆคิดว่ายากเป็นความรู้สึกที่ดี ช่วยให้อาหารกับอัตตาของเพื่อนๆและทำให้เพื่อนๆรู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้น แม้ว่าการวิ่งมาราธอนจะเป็นสิ่งที่เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่คนที่สามารถทำได้สำเร็จก็ยังมีจำนวนน้อยอยู่ เพื่อสร้างสัมพันธ์กับเพื่อนๆและครอบครัว: การวิ่งมาราธอนสามารถสร้างสังคมได้ดีมาก เพราะทำให้เพื่อนๆและกลุ่มเพื่อนและครอบครัวสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน หลายๆคนฝึกซ้อมเพื่อวิ่งมาราธอนด้วยกัน การสนับสนุนจากกลุ่มเพื่อนและครอบครัวที่วิ่งด้วยกัน สามารถเป็นแรงผลักดันที่รุนแรงมาก… Continue Reading “ทำไมใครๆจึงหันมาวิ่งมาราธอน”

การแข่งขันอุ่นเครื่อง (Tune-up Races)

ตารางซ้อมจะไม่สมบูรณ์แบบถ้าขาดการอุ่นเครื่องแข่งขัน เพื่อเตรียมให้ร่างกายรับรู้ถึงพลังที่มากถึง 100% ของร่างกาย จะซ้อมกันอย่างไรดี ตรงนี้มีคำแนะนำค่ะ

การค้นหาสนามแข่งขันของตัวเอง

การแข่งขันแต่ละสนาม ไม่ได้เป็นของใครทั้งนั้น แต่การแข่งขันสนามนั้นจะเป็นของเพื่อนๆหรือเปล่า ขึ้นอยู่่กับว่าได้ค้นพบสนามแข่งขันในใจตัวเองแล้วหรือยัง นี่คือลายแทงของการค้นหานั้น ไปดูกันเลยค่ะ

ความหนัก (Effort) และความเร็ว (Pace) ของการวิ่ง

นักวิ่งถามกันมากเหลือเกินว่า จะใช้อะไรเป็นตัวกำหนดเวลาของการวิ่ง บ้างก็ว่าดูที่เพซสิ บ้างก็ว่าดูที่ความหนักสิ เรามาดูกันว่า 2 คำนี้แตกต่างกันอย่างไร จะใช้ตัวไหนกันดีค่ะ

การวิ่งไม่เคยทรยศคนขยันและมีวินัย

ช่วงนี้การงานทำให้ไม่สามารถไปร่วมงานวิ่งได้อย่างสบายใจ แถมวันวิ่งซ้อมยาวในโปรแกรมฟูลมาราธอนช่วงนี้ก็เกินกว่า 16 กิโลเมตรขึ้นไป จะให้ลงงานฮาล์ฟมาราธอน ก็ไม่ค่อยมีงาน และเวลาก็ไม่ตรงกับวันทำงาน เลยต้องวิ่งเองตอนเย็นหลังเลิกงาน วันนี้เลิกงานตอนบ่ายสี่โมง ต้องวิ่ง 16 กิโลเมตร กลับถึงบ้านแล้ว เลยสะพายเป้น้ำ ออกวิ่ง กะว่าจะ City run วิ่งจากบ้านที่ถนนจันทน์ ไปสวนลุม ต่อทางวิ่งลอยฟ้า ไปสวนเบญจกิตติ วิ่งวนรอบสวน 1 รอบ แล้ววิ่งกลับ เลยถือโอกาสรีวิวทางเท้าที่วิ่งมาให้เพื่อนๆดูค่ะ เราตั้งต้นจากถนนจันทน์แถวที่เค้าเรียกกันว่า สะพาน 3 คือแยกถนนจันทน์ตัดกับเซ็นต์หลุยส์ แล้วออกวิ่งไปทางถนนนราธิวาส มุ่งหน้าสาทร ตอนแรกไม่ได้กะจะรีวิวเลยไม่ได้ถ่ายรูปมา แต่พอนึกได้ว่าจะรีวิวให้เพื่อนๆดู ก็เลยเริ่มถ่ายรูปตรงทางเดินรถไฟฟ้าช่องนนทรีเป็น checkpoint แรก ทางเท้าบริเวณถนนนราธิวาสเป็นกระเบื้องที่พะเยิบพะยาบ ต้องเลือกวางเท้าดีๆ การวิ่งบนพื้นผิวแบบนี้ต้องมีสมาธิมากๆค่ะ ไม่งั้นอาจเหยียบพลาดและข้อเท้าพลิกได้ง่าย โผล่มาสาทร แล้วก็วิ่งเลาะถนนไปทางสวนลุม… Continue Reading “การวิ่งไม่เคยทรยศคนขยันและมีวินัย”

ไม่ถึงต้องเขย่ง ไม่เก่งต้องขยัน

คำพูดที่จั่วหัวข้อนี้มาจากพี่เอียด ส.อ.สุพิศ จันทรัตน์ นักวิ่งขาเก๋าและขาแรงในวงการวิ่งที่นักวิ่งหลายท่านรู้จักกันดี แถมเป็นนักวิ่งบอดี้การ์ดให้กับพี่ตูน บอดี้สแลม ในงานวิ่งก้าวคนละก้าวซะด้วย พี่เอียดเป็นนักวิ่งที่เริ่มวิ่งตั้งแต่เด็กๆ เป็นนักวิ่งของโรงเรียน และสามารถพูดได้เต็มปากว่าพี่เอียดวิ่งเพื่อปากท้องโดยแท้ พีเอียดวิ่งเก่งถึงขนาดได้รับทุนเรียนฟรีตั้งแต่โรงเรียนยันมหาวิทยาลัย แต่ละงานที่ลงวิ่ง หวังรางวัลที่เป็นจำนวนเงินมากกว่าถ้วย เพราะหมายถึงเงินค่าข้าวที่พี่เอียดจะสามารถเลี้ยงปากท้องตัวเองให้รอดไปได้อีกหลายมื้อ แทนที่จะต้องรบกวนเงินทองจากทางบ้าน พี่เอียดมีความขยันในการฝึกซ้อมมาก นอกจากใจรักแล้ว ยังมีเหตุผลดังที่กล่าวมาสนับสนุน จนทำให้พี่เอียดกลายเป็นนักวิ่งแนวหน้า ไปสนามไหนก็กวาดรางวัลมาได้หมด พี่เอียดเคยทำชื่อเสียงให้กับประเทศไทยมามากมาย พี่เอียดเคยคว้ารางวัลชนะเลิศรองอันดับ 1 ประเภททีมชาติ ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาครองด้วยสถิติ 02:40:13 ในการแข่งขันวิ่งมาราธอน “เดอะ เกรทเทส เรส ออน เอิร์ธ” ณ สนามที่ 3 เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย พี่เอียดมีคติประจำใจ นั่นคือ “ไม่ถึงต้องเขย่ง ไม่เก่งต้องขยัน” นั่นหมายความว่า พี่เอียดไม่ใช่คนที่นั่งรอรับผลประโยชน์จากพรสวรรค์เพียงอย่างเดียว… Continue Reading “ไม่ถึงต้องเขย่ง ไม่เก่งต้องขยัน”

โปรแกรมการฟื้นตัวหลังการวิ่งฟูลมาราธอน

การฟื้นตัวหลังการวิ่งฟูลมาราธอนทำได้อย่างไร จากนี้ไปคือโปรแกรมการฟื้นตัวคร่าวๆ ที่บอกถึงการทานอาหาร การบำบัดฟื้นฟู การออกกำลังชนิดอื่น และการวิ่งเป็นเวลา 3 สัปดาห์หลังการวิ่งฟูลมาราธอน แผนการฟื้นฟูนี้รับประกันได้ว่าจะช่วยให้เพื่อนๆฟื้นตัวเร็วขึ้น และสามารถกลับไปฝึกซ้อมได้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ค่ะ หลังการแข่งขันทันที โปรแกรมการฟื้นตัวหลังการแข่งขันทันทีค่อนข้างที่จะวางแผนไว้ล่วงหน้าได้ยาก ดังนั้นเพื่อนๆจึงควรให้ความสำคัญกับการทานอาหารก่อนแข่ง และแผนการแข่งขันเป็นหลัก เพื่อที่จะได้แนวทางสำหรับการพักทันทีหลังแข่งได้ค่ะ หลังจากที่เพื่อนๆวิ่งเข้าเส้นชัยแล้ว แม้จะเป็นวันที่ร้อนขนาดไหนก็ตาม เพื่อนๆอาจจะมีอาการหนาวสั่น และเย็นได้ หากทำได้ควรเปลี่ยนเสื้อให้แห้งและอุ่น หรือไม่ก็พยายามหาอะไรที่อุ่นเอาไว้ และสวมเสื้อทับไว้ เพื่อนๆอาจติดเชื้อหวัดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งแม้ไม่ได้ช่วยในเรื่องของการฟื้นตัว แต่การที่ตัวอุ่นก็จะรู้สึกดีกว่ามาก รวมไปถึงเปลี่ยนรองเท้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับเท้าที่บวมขึ้นจากการวิ่งระยะยาว และแห้งพอจากความชื้น นอกจากนั้นยังช่วยรองรับเท้าที่อ่อนล้าจากการวิ่งระยะยาว ป้องกันการบาดเจ็บได้ ดังนั้น จึงไม่ควรใส่เป็นรองเท้าแตะนะคะ หลังจากเปลี่ยนเสื้อผ้าแห้งแล้ว ให้หาที่ที่จะนอนลงได้ เพื่อการยกขาให้สูง หลังจากที่ร่างกายทำงานมานานหลายชั่วโมง ร่างกายต้องการความช่วยเหลือเพื่อให้มีการไหลเวียนเลือดได้ดี และยังช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายแบบง่ายๆได้ด้วย เลือกสถานที่ที่ปลอดภัยว่าเพื่อนๆจะได้นอนลงสบายๆ ไม่มีใครมาจ้องมอง ตามหลักการแล้ว เพื่อนๆต้องยกขาสูงเป็นเวลา 15-25 นาทีในครั้งแรก… Continue Reading “โปรแกรมการฟื้นตัวหลังการวิ่งฟูลมาราธอน”

ทำไมต้องพักเพื่อการฟื้นตัวหลังการวิ่งฟูลมาราธอน?

การฟื้นตัวหลังการวิ่งฟูลมาราธอนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากในแผนการฝึกซ้อมที่สมบูรณ์ไร้ที่ติ ชนิดที่นักวิ่งไม่ควรจะละเลยค่ะ การพักฟื้นหลังการวิ่งฟูลมาราธอนไม่เพียงแต่เป็นส่วนประกอบของมาราธอนที่สำคัญที่สุด แต่เป็นที่น่าเสียดายมากที่มักจะถูกมองข้ามไป พูดตรงๆเลยก็คือ เพื่อนๆมักมีความคิดแค่อยากจะวิ่งฟูลมาราธอนให้เสร็จไปเท่านั้น โดยไม่แม้แต่จะคิดว่าจะต้องตั้งเครื่องร่างกายใหม่ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการกลับไปฝึกซ้อมในโปรแกรมได้อีกครั้งหนึ่ง นักวิ่งหลายคนมีความกลัวว่า สมรรถภาพร่างการจะถดถอย หลังจากหยุดพักการวิ่งไปสัก 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ซ้ำร้ายยังใช้เวลาที่ขอหยุดงานหลังจากการวิ่งฟูลมาราธอนให้หมดไปกับการออกเดินทางไปหาหมอฟันเพื่อทำรากฟัน หรือออกไปทำธุระอื่นๆที่ค้างคานอกบ้าน แทนที่จะนอนพักอยู่ในบ้าน มากไปกว่านั้น การหยุดฝึกซ้อมก็ช่างขัดกับสัญชาตญาณเหลือเกิน หลังจากเสร็จสิ้นจากการแข่งขันใหญ่แล้ว เพื่อนๆคงอยากจะป่าวประกาศความสำเร็จของตัวเองให้คนอื่นรับรู้ และก็ตั้งเป้าหมายใหม่ให้ดีกว่าเดิมใช่ไหมล่ะคะ ในทางกลับกัน หลังจากการแข่งขันที่แสนจะน่าผิดหวัง สิ่งสุดท้ายที่จะอยู่ในใจเพื่อนๆก็คือ การพัก เพื่อนๆต้องการที่จะล้างแค้น และกระวนกระวายใจกับการกลับไปที่จุดเริ่มต้นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ใช่ไหมคะ ออกจะแย่หน่อยถ้าเพื่อนๆไม่มีช่วงเวลาที่ฟื้นตัวอย่างเหมาะสมหลังการวิ่งฟูลมาราธอน เพื่อนๆกำลังเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บโดยไม่จำเป็นค่ะ แถมจะยิ่งทำให้เวลาที่ต้องใช้พักหลังการวิ่งมาราธอนนานเนิ่นออกไปอีก และซ้ำร้ายกว่านั้นคือ ทำให้จำกัดศักยภาพของร่างกายเพื่อนๆในระยะยาว การฝึกให้กลับไปทำลายสถิติส่วนตัว และมีสุขภาพดีจะทำได้ยากยิ่งขึ้นไปอีกค่ะ การพักเพียง 7 – 10 วันไม่ใช่เพียงแค่จะมีผลลบต่อสมรรถภาพร่างกายน้อยมากในปัจจุบันเท่านั้น แต่ในระยะยาวแล้วมันจะช่วยป้องกันสมรรถภาพที่ลดลงได้ด้วย ในฐานะผู้รักษา เราได้ยินการโต้เถียงกันระหว่างทั้งผู้รักษาและโค้ชกับนักกีฬาที่ต้องการกลับไปฝึกซ้อมหรือแข่งขันทันที ทั้งที่เพิ่งจบการแข่งขันหนึ่งมา… Continue Reading “ทำไมต้องพักเพื่อการฟื้นตัวหลังการวิ่งฟูลมาราธอน?”

วิ่งเร็วหรือช้า มาดูค่าเฉลี่ยกัน

เห็นคำถามจากเพื่อนนักวิ่งหลายๆท่านถึงเวลาที่วิ่งได้ในระยะ 10 กิโลเมตรบ้าง ฮาล์ฟบ้าง ฟูลบ้าง ว่าดีไหม คนอื่นวิ่งได้เท่าไรบ้าง เราเลยไปหาข้อมูลมาให้ดูกันค่ะ ที่อเมริกามีการเก็บข้อมูลในนักวิ่ง 10,000 คน ในปี 2010 แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ยแต่ละระยะเอาไว้ แต่จะไม่บอกเป็นเวลาที่วิ่งได้ แต่จะบอกเป็นความเร็วที่วิ่งได้ หน่วยเป็นนาทีต่อไมล์แทนนะคะ หากเพื่อนๆต้องการทราบความเร็วเป็นเวลาต่อกิโลเมตรแบบบ้านเรา ก็สามารถคำนวณกลับมาได้นะคะ เดี๋ยวจะมีลิงค์ให้กดไปดูเลยค่ะ สำหรับค่าเฉลี่ยของคนไทย ยังหาไม่ได้นะคะ เรามาดูวิธีการดูค่าเฉลี่ยกันก่อนนะคะ ให้เพื่อนๆเข้าไปที่เวปไซท์ http://www.pace-calculator.com จะเจอหน้าตาให้เติมเวลาที่วิ่งได้ เลือกระยะทางที่ใช้ในการแข่งขัน หรือจะเติมระยะทางวิ่งก็ได้ค่ะ และถ้าเกิดเราเลือกระยะทางในการแข่งขันแล้ว ระยะทางวิ่งจะเด้งขึ้นมาเองอัตโนมัติค่ะ อย่างเราก็เติมเวลาที่ดีที่สุดที่เราเคยทำได้ในการวิ่ง 5 กิโลเมตร ก็คือ 27:05 นาทีค่ะ หลังจากนั้นให้กดตรงคำว่า Calculate Pace เพื่อคำนวณความเร็วในการวิ่งค่ะ และแล้วโปรแกรมก็จะคำนวณความเร็วการวิ่งมาให้เพื่อนๆ อย่างของเราก็จะขึ้นมาเลยว่าได้ความเร็วอยู่ที่ 8.43 นาทีต่อไมล์… Continue Reading “วิ่งเร็วหรือช้า มาดูค่าเฉลี่ยกัน”

ยิ่งวิ่งน้อย ยิ่งได้มาก

  จริงๆวันที่ 5 ธันวาคมที่ผ่านมาเราลงสมัครงาน Run for Sea เอาไว้ แต่ทางผู้จัดงานได้ย้ายสถานที่จัดงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปที่ตลาดนัดเลียบด่วนรามอินทรา ซึ่งไกลสำหรับเรามาก ค่ารถไปกลับก็สามารถนำมาลงงานวิ่งใหม่ได้อีกงานหนึ่งเลย เราเลยตัดสินใจไม่ไปดีกว่า และก็เข้าใจทางผู้จัดว่ามีเหตุจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนสถานที่จัดงานจริงๆ แม้จะแจ้งล่วงหน้าเพียง 5 วัน ขนาดนักวิ่งยังรู้สึกว่าเตรียมตัวไม่ทัน นี่ไม่ต้องนึกถึงผู้จัดเลย คงวิ่งจัดการแก้ปัญหากันหูตูบแล้ว เราก็ไม่อยากเป็นเสียงหนึ่งที่ทำให้ผู้จัดเครียดมากขึ้น เลยคิดซะว่าทำบุญแล้วกัน เสียดายแค่ว่าจะไม่ได้เหรียญที่น่ารักมากๆ เลยส่งข้อความถามทางผู้จัดว่า สำหรับคนที่ไม่ได้ไปร่วมงานจะขอเหรียญได้ไหม ยังไงเราก็ต้องออกไปวิ่งอยู่แล้ว และทางผู้จัดก็แจ้งกลับมาว่า สามารถไปรับเหรียญได้ที่โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท แต่ต้องหลังจากวันที่ 6 เป็นต้นไป แค่นั้นก็สบายใจค่ะ วันที่ 5 ธันวาคม เราเลยเปลี่ยนจุดหมายไปวิ่งที่สวนลุมแทนค่ะ และตารางวิ่งวันนี้ก็ยังคงอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากวิ่งฟูลมาราธอน แต่เป็นช่วงท้ายๆแล้วค่ะ จึงมีการวิ่งเร่งเพิ่มมาตอนท้ายค่ะ     เป้าหมายการวิ่งคือ 8 กิโลเมตร ด้วยความเร็วแบบวิ่งสบายๆ จากการคำนวณความเร็วที่ดีที่สุดของ 5 กิโลเมตรคือ 29 นาที เราจึงได้ความเร็วเพซที่ต้องวิ่งอยู่ในช่วง 8.08-9.23 นาทีต่อกิโลเมตร แบบว่าช้ามากๆจนจะหลับอีกแล้ว แต่ก็ต้องฝืนใจวิ่งไปค่ะ เพราะยังไม่อยากเร่งอะไรเราเองก็รู้ตัวว่าแรงหลังจากการวิ่งฟูลมาราธอน เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนหน้านั้น มันถดถอยไปขนาดไหน ใครเป็นอย่างเราหรือเปล่าก็ไม่รู้ รู้สึกขาล้าไปเลย 1 สัปดาห์เต็ม ขนาดที่ว่าเดินขึ้นลงบันไดยังต้องเกาะราวบันไดแล้วค่อยๆเดิน พอเข้าสัปดาห์ที่ 2 เริ่มมีเรี่ยวแรงขึ้น แต่ก็ยังรู้สึกข้อขึ้นสนิม มันไม่ลื่น ยังติดๆขัดๆอยู่ จะก้าวจะเดินให้เร็วก็เหมือนต้องใช้แรงมากกว่าปกติ ต้องเข้าสัปดาห์ที่ 3 นี่ล่ะค่ะ ที่เริ่มจะวิ่งเหยาะเพซ 8 ได้สบายๆหน่อย พอมาวิ่งวันนี้เลยเป็นช่วงที่ขาเริ่มก้าวไปข้างหน้าได้สบายขึ้น การวิ่งสไตรด์ 4 รอบทำให้รู้ตัวว่า อ้าว กำลังขากลับมาแล้วนี่นา เย้! การวิ่งสไตรด์เป็นการฝึกที่ช่วยเพิ่มความเร็วการวิ่งได้ ง่ายที่สุด และใช้เวลาไม่นาน โดยเริ่มจากการวิ่งเร่งเครื่อง ใช้เวลา 10 วินาที เร่งให้ถึงความรู้สึกหนักของนักวิ่ง 95% (ไม่ใช่ 95% ขออัตราการเต้นหัวใจสูงสุดนะคะ ให้ใช้ความรู้สึกของเราเป็นหลักค่ะ) หรือใช้ความเร็วที่วิ่งได้ดีที่สุดใน 5 กิโลเมตรแทนก็ได้ค่ะ และคงไว้ 15 วินาที แล้วจึงผ่อนเครื่อง 5 วินาที รวมแล้วได้ 30 วินาที หลังจากนั้นพักด้วยการเดินหรือวิ่งเหยาะๆ  60 วินาที ทำอย่างนี้ 4 รอบค่ะ เราอาจฝึกวิ่งสไตรด์ได้โดยการกำหนดระยะทาง 100-150 เมตรได้ แต่ก็สามารถกำหนดด้วยเวลาได้เหมือนกันค่ะ อย่างที่เราทำให้ดูเป็นตัวอย่างค่ะ การวิ่งสไตรด์ง่ายกว่าการวิ่งแบบอินเทอร์วอล จึงทำให้ปรับฟอร์มการวิ่งได้ง่าย และไม่เหนื่อยเท่า เหมาะกับนักวิ่งมือใหม่ที่อยากจะเพิ่มความเร็วอย่างง่าย และเป็นระบบค่ะ เพื่อนๆสามารถเพิ่มการวิ่งสไตรด์เข้าไปในวันวิ่งแบบสบายๆ ช่วง 3/4 หลังของเวลาวิ่ง เช่น วิ่ง 45 นาที ให้ทำสไตรด์ 4 รอบหลังจากวิ่งไปแล้ว 30 นาทีค่ะ สไตรด์มีความสำคัญในการฝึกซ้อม และการแข่งขันค่ะ เพื่อนๆอาจใช้สไตรด์เป็นการอบอุ่นร่างกายได้โดยทำสไตรด์ 3-4 รอบเป็นอย่างสุดท้ายของการอบอุ่นร่างกายก่อนการฝึกความเร็วอื่นๆ หรือทำสไตรด์ 3-4 รอบก่อนเวลาปล่อยตัวการแข่งขัน เพื่อให้ร่างกาย “ตื่นตัว” มากเพียงพอด้วยการกระตุ้นระบบประสาทและกล้ามเนื้อให้พร้อมเพื่อการแข่งขัน การวิ่งสไตรด์ด้วยท่าทางที่ถูกต้องคือ ให้โน้มตัวไปข้างหน้าประมาณ 1-2 องศา ควรรู้สึกข้อเท้าเด้งได้ และให้เหวี่ยงแขนมากกว่าตอนวิ่งช้าๆเล็กน้อยเพื่อให้ได้แรงเหวี่ยงถึงขาที่วิ่งเร็วขึ้น สำหรับนักวิ่งส่วนใหญ่ จะรู้สึกสนุกกับสไตรด์ เป็นประสบการณ์ที่ดี   และที่สำคัญอย่าคิดว่าสไตรด์คือการวิ่งเร่งให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้นะคะ ให้วิ่งเท่าที่ความรู้สึกเราบอกว่าเกือบสุด และต้องมีช่วงเร่งและช่วงผ่อนค่ะ เมื่อจบสไตรด์แล้ว เพื่อนๆไม่ควรรู้สึกล้านะคะ เพื่อให้การวิ่งสไตรด์ได้ผลตามสโลแกน ยิ่งวิ่งน้อยยิ่งได้มากค่ะ และแล้วในที่สุดเราก็ได้รับเหรียญจากการที่ทางผู้จัดงาน Run for Sea ส่งแบบลงทะเบียนมาให้แบบไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมค่ะ แบบว่าน่ารักอย่างนี้ ปีหน้าไม่พลาดค่ะ ขอให้เพื่อนๆสนุกกับการวิ่งสไตรด์กันลนะคะ  

อย่ารอให้หมดแรงก่อนวิ่ง แต่จงออกไปวิ่งให้หมดแรง

อย่ารอให้หมดแรงก่อนวิ่ง แต่จงออกไปวิ่งให้หมดแรง เมื่อคืนนอนหลับๆตื่นๆทั้งคืน ได้หลับจริงคือ 4 ชั่วโมง ตอนนาฬิกาปลุกก็ยังลังเลว่าจะไปงาน Run for Right ดีหรือไม่ งานนี้ลงระยะ 10.5 กิโลเมตรเอาไว้วิ่ง Recovery จากฟูลมาราธอนช่วงท้ายๆแล้วค่ะ ก่อนจะเข้าสู่โปรแกรมซ้อมเพื่อการแข่งขัน 10 กิโลเมตรของแท้ในช่วงเดือนมกราคม 61 พลิกตัวลังเลไปมาสักพักก็คิดว่า ไหนๆก็นอนไม่หลับมาทั้งคืนแล้ว ถ้าไม่ไปงาน จะนอนต่อก็คงไม่หลับอยู่ดี เลยตัดสินใจลุกขึ้นมาแต่งตัวออกมาที่งานซึ่งจัดขึ้นที่ศาลาแปดเหลี่ยม สวนลุมพินีค่ะ เจ้าภาพจัดงานนี้คือ สหภาพยุโรป (European Union) ร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม และควบคุมการแข่งขัน โดย JOG&JOY ซึ่งมีความชำนาญในการจัดการแข่งขันค่ะ รายได้จากการจัดงาน มอบให้สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย และมูลนิธิรามาธิบดีค่ะ ซึ่งมีการประกาศก่อนการปล่อยตัวชัดเจนค่ะ แรกๆเรานึกว่าจะเป็นการวิ่งในสวน ไม่ได้ดูเส้นทางวิ่งมาเลย ดีนะคะที่ได้ยินพิธีกรประกาศเส้นทางวิ่ง เลยทำให้รู้ว่า… Continue Reading “อย่ารอให้หมดแรงก่อนวิ่ง แต่จงออกไปวิ่งให้หมดแรง”

งานวิ่งดีๆมีเยอะ … รู้ได้ยังไง?

จากที่วิ่งมานานประมาณ 4 ปี ได้เข้าร่วมงานวิ่งปีละไม่ต่ำกว่า 15 งาน ได้รับทั้งประสบการณ์ทั้งดีและแย่ ดีก็เรียกได้ว่าไม่มีที่ติ แย่ก็เรียกได้ว่าแทบจะเอาชีวิตไม่รอด เราเลยลองรวบรวมหัวข้อสำคัญๆที่จะให้เพื่อนๆนักวิ่งหน้าใหม่ใช้เป็นแนวทางในการเลือกลงสมัครงานวิ่งกันนะคะ ทั้งนี้ทั้งนั้น คงต้องยืนอยู่บนพื้นฐานที่ว่า มาตรฐานในการจัดงานวิ่งบ้านเรายังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงเป็นการยากที่จะบอกว่าสิ่งที่เราสรุปมาเล่านี้จะเป็นมาตรฐานระดับโลกหรือเปล่า อันนี้ขอบอกไว้ก่อนว่า มาจากประสบการณ์ล้วนๆนะคะ 1. ดูผู้จัดสักหน่อย ดูว่าเป็นงานที่ผู้จัดจัดกันเอง หรือจ้างทีมจัดมืออาชีพ อันนี้ค่อนข้างสำคัญค่ะ ค่อนข้างเป็นตัวบอกลักษณะงานเลยค่ะ ถ้าจัดกันเอง และมือใหม่จัดครั้งแรก เราคงไม่สามารถคาดหวังความสมบูรณ์แบบได้เลยค่ะ แต่ก็เคยเจองานที่จัดกันเอง แต่สมบูรณ์แบบมาแล้ว อาจเพราะเคยจัดมานานหลายปีแล้วนั่นเอง ดังนั้นถ้าเจอผู้จัด จัดกันเอง ครั้งแรก และเป็นอาสาสมัครล่ะก็ ให้ทำใจไว้ส่วนหนึ่งเลยค่ะ ส่วนการจ้างทีมจัดมืออาชีพ ก็เป็นอันแน่นอนว่าเราจะได้ความเป็นมืออาชีพ เช่น เส้นทางวิ่งที่ปิดอย่างเป็นระบบ คนยืนคุมทางมีมากเพียงพอ และมีประสบการณ์ในการจัดการจราจรให้กับนักวิ่ง อุปกรณ์ต่างๆ ณ จุดปล่อยตัวและเส้นชัยเชื่อถือได้ มีกรวยมากเพียงพอในการกั้นทาง และรายละเอียดอื่นๆอีกมากมายที่ผู้ที่จัดกันเอง… Continue Reading “งานวิ่งดีๆมีเยอะ … รู้ได้ยังไง?”

ถ้ามัวแต่อยู่ในโลกแห่งความฝัน โลกแห่งความจริง จะปลุกคุณตื่นขึ้นมาเอง

นาฬิกาปลุกตอนตีสี่ครึ่ง แต่เรายังอยากจะนอนกลิ้งอยู่ เพราะระยะซ้อมวันนี้ ทำเอาอยากนอนต่อจริงๆ นั่นคือ 19.2 กิโลเมตรค่ะ แต่ในเมื่อเราลงสมัครงานวิ่งราคาแสนถูก และหลายๆคนยื้อแย่งและลงสมัครไม่ทันเอาไว้ แถมใกล้บ้านอีกต่างหาก เลยดูจะไม่มีเหตุผลใดๆที่จะไม่ลุกจากเตียงค่ะ วันนี้ (27 ส.ค.60) เราเข้าร่วมงานวิ่งที่มีชื่อว่า “กอช.มินิมาราธอน Run for the Blind” ที่สวนรถไฟ จัดโดยกองทุนการออมแห่งชาติ และกระทรวงการคลังค่ะ เค้าว่ากันว่า งานวิ่งแต่ละงานที่เราไปร่วมนั้น มีเรื่องราวเสมอ ถ้าจะถามเรื่องราวงานวิ่งวันนี้ ก็คงจะหนีไม่พ้นการสมัครค่ะ เราเองมองหางานวิ่งทุกวันอาทิตย์ไว้ เพื่อช่วยกระตุ้นการซ้อมไปมาราธอน แต่วันที่ 27 ก.ย. นี้ หายังไงก็ยังไม่มีใครจัดงานที่เราอยากไปและใกล้บ้าน และแล้วประมาณ 2 อาทิตย์ก่อนหน้านี้ ก็เห็นประกาศของงานนี้ในเพจวิ่งไหนดี และเห็นว่ายังไม่เปิดรับสมัคร แต่สิ่งที่น่าสนใจมากๆคือราคาค่าสมัครเพียงแค่ 100 บาทเท่านั้นเอง แถมมีเงินรางวัลให้กับนักวิ่งที่วิ่งเข้าเส้นชัย… Continue Reading “ถ้ามัวแต่อยู่ในโลกแห่งความฝัน โลกแห่งความจริง จะปลุกคุณตื่นขึ้นมาเอง”

จงฝึกตนให้อย่าหยุดวิ่ง

ในวันที่อากาศไม่เป็นใจ วันที่ร่างกายไม่เป็นใจ วันที่จิตใจไม่เป็นใจ ก็ทำให้ไม่อยากจะทำอะไรสักอย่าง อย่างวันนี้ก็เป็นอีกวันที่ทำงานเยอะมา 2 วันติด แถมอาการแพ้อากาศกำเริบ เวลานอนไม่พอ ตื่นมาตอนเช้าแม้ฝนเพิ่งหยุดตกไม่นาน แต่อากาศร้อนอบอ้าวอย่าบอกใคร ดีที่ลงสมัครงานวิ่งเอาไว้ ด้วยความตั้งใจว่าเราอยากจะไปตั้งแต่ต้นเดือน เลยยอมขยับตัวลุกขึ้นจากเตียงตอนตี่สี่ครึ่ง เมื่อวานไม่ได้ไปรับบิบและเสื้อไว้ วันนี้ (20 ส.ค.60) จึงไปก่อนเวลาเล็กน้อยเผื่อเวลารับเสื้อและบิบค่ะ วันนี้ลงสมัครงานวิ่งชื่อว่า School Supply Drive Fun Run ที่สวนรถไฟ จัดโดย Adventist Youth Association และ Seventh Day Adventist ร่วมกับทีมจัด Run Around Thailand รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายการจัดงานจะมอบเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายอาหารและอุปกรณ์การศึกษาในโรงเรียนที่ห่างไกล และมอบให้กับมูลนิธิ SafeHaven เพื่อเด็กกำพร้าที่บ้านท่ายาง จังหวัดตาก และโรงเรียนที่ยากจนในพื้นที่กรุงเทพฯ… Continue Reading “จงฝึกตนให้อย่าหยุดวิ่ง”

ไม่ใช่แค่ตั้งใจชนะ แต่ตั้งใจเตรียมตัวชนะต่างหาก ที่จะสร้างความแตกต่างได้

ถึงวันอาทิตย์อันแสนสุขอีกครั้ง และก็ถึงเวลาที่เราจะได้วิ่งอีกครั้งหนึ่ง ใจนี่กระโดดไปถึงสวนแล้วแต่เมื่อคืนนอนดึกไปหน่อย รวมกับระยะซ้อมที่มากขึ้น และโปรแกรมซ้อมที่เข้มข้นขึ้นในช่วงเดือนที่ผ่านมา ทำให้ร่างกายไม่อยากจะลุกขึ้นมาจากเตียงเลย แต่เนื่องจากนัดคุณพ่อคุณแม่ไว้แล้วว่าจะไป เลยทำให้ลุกขึ้นมาได้ค่ะ ไปถึงสวนลุมก็ตีห้าครึ่ง เริ่มวอร์ม เริ่มวิ่งก็เมื่อตีห้าสี่สิบห้า วันนี้เราต้องซ้อมระยะ 17.6 กิโลเมตร นับได้คร่าวๆก็ 7 รอบสวนลุมเอ๊ง! ว่าแล้วก็รีบวิ่งก่อนแดดออกจนร้อนทำให้พลังงานตอนท้ายยิ่งหดหายไปอีกดีกว่าค่ะ วันนี้เรามีร่วมงานที่จัดที่สวนลุมด้วยค่ะ ชื่องาน Give Charity Run 2nd 2017 เป็นงานวิ่งที่จัดโดยมูลนิธิกระจกเงา และใช้ผู้จัดหน้าใหม่หน่อย ชื่อ Runrhythm มูลนิธิกระจกเงานี่ก็เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางแล้วนะคะ ในเรื่องของการช่วยเหลือเด็กหายเป็นหลัก และยังมีการช่วยเหลือเรื่องอื่นๆให้กับสังคมด้วย ทั้งงานด้านสิทธิมนุษยชน งานด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ งานพัฒนาอาสาสมัครและการแบ่งปันทรัพยากร เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้และการใช้ชีวิต โดยมีพื้นที่ปฏิบัติงานทั้งบนสังคมออนไลน์ (Internet) สังคมเมืองและสังคมชนบท โดยทำหน้าที่เป็นกระจกเงา ที่สะท้อนเรื่องราว ความเป็นจริงของสังคมและให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมค่ะ นี่ไปหาข้อมูลมาซะยาวเลย เอาเป็นว่า… Continue Reading “ไม่ใช่แค่ตั้งใจชนะ แต่ตั้งใจเตรียมตัวชนะต่างหาก ที่จะสร้างความแตกต่างได้”

ยิ่งฝึกมาก ยิ่งแพ้ยาก

เมื่อถึงเวลาต้องลุกออกไปซ้อม เราก็ต้องออกไปซ้อมนะคะ อย่าโอ้เอ้อยู่บนเตียงนาน ความขี้เกียจจะเริ่มเกาะตัวค่ะ วันนี้ (6 ส.ค. 60) ก็เป็นวันซ้อม 16 กิโลเมตรของเราเช่นกันค่ะ จากที่เคยกลัวว่าจะไม่ลุกจากเตียงตอนนี้ไม่ค่อยเป็นปัญหาเท่าไหร่ แต่ที่เป็นปัญหาก็คือกลัวว่าจะวิ่งไม่ถึงระยะซ้อม เพราะระยะซ้อมที่ยาวนานมากขึ้นนี่สามารถบั่นทอนกำลังใจและความตั้งใจได้เลยค่ะเลยต้องลงงานวิ่งเอาไว้ช่วยกระตุ้นตัวเองค่ะ หาไปหามาก็เจองานนี้นะคะ ชื่องานน่ารักว่า “วิ่งนี้เพื่อแมวจร ปี 2” หรือ “Kingdom of Tigers Run 2017” ค่ะ ชื่องานก็บอกจุดประสงค์งานละค่ะว่าวิ่งเพื่อเอาเงินไปช่วยเหลือแมวจรจัดค่ะ และงานนี้ก็จัดที่สวนลุมซึ่งเป็นสนามซ้อมเราพอดีค่ะ แต่เรามาเจองานนี้ช้าไปจึงพบว่า แพคเกจค่าสมัครที่ถูกที่สุดได้เต็มแล้ว เหลือแต่ค่าสมัครที่แพงขึ้น แต่จะได้หมวกเพิ่ม หากแพงกว่านั้น ก็จะได้กระเป๋าด้วย คิดไปคิดมา เอาตามกำลัง ลงราคาที่พอจ่ายได้ คือแค่พอได้หมวกดีกว่าค่ะ และอีกอย่างที่สำคัญและทำให้อยากได้ไปงานนี้ก็คือ เหรียญน่ารักมากค่ะ เป็นรูปรอยพิมพ์เท้าแมวสีส้ม เลยทำให้การตัดสินใจเข้าร่วมงานง่ายขึ้นค่ะ เราไปถึงสวนลุมก่อนเวลาปล่อยตัว 40… Continue Reading “ยิ่งฝึกมาก ยิ่งแพ้ยาก”

ความพยายามไม่เคยทำให้ใครพ่ายแพ้ ความท้อแท้ไม่เคยทำให้ใครชนะ

สโลแกนนี้ไปพบใน Facebook ของพี่นักวิ่งท่านหนึ่ง ชอบในความหมายเลยพิมพ์เก็บไว้ค่ะ พอดีวันนี้ไปวิ่งมา และทำให้นึกถึงคำพูดนี้ จึงหยิบมาเป็นหัวข้อในวันนี้ซะเลยค่ะ วันนี้ไปร่วมวิ่งกับงานชื่อว่า “Actionaid Action Run วิ่งด้วยกัน Run เพื่อโรงเรียนเล็ก” ซึ่งจัดขึ้นที่สวนหลวง ร.9 งานนี้มีระยะวิ่งที่ไม่เหมือนใครคือ 4.6 และ 13.2 กิโลเมตร เพราะเป็นระยะทางที่น้องนักเรียนต้องเดินไกลขึ้นเพื่อไปโรงเรียนใหม่ เนื่องจากโรงเรียนเดิมถูกยุบไปค่ะ บางบ้านจึงไม่ให้ลูกไปเรียนหนังสือ ทำให้เด็กๆมีโอกาสเข้าใกล้ความยากจน ความไม่มีอนาคต และความไม่มีจริยธรรมมากขึ้นค่ะ ทางมูลนิธิ Actionaid จึงจะนำรายได้จากงานวิ่งครั้งนี้ไปรักษาโรงเรียนของเด็กๆ ในโครงการโรงเรียนขนาดเล็กไม่ให้ถูกปิดนะคะ โดยที่ทางมูลนิธิจะสอนวิธีการให้โรงเรียนขนาดเล็กมีระบบการเรียนรู้และการสอน เพื่อต่อยอดในการพัฒนาตนเอง และเติบโตเป็นแม่แบบให้กับโรงเรียนขนาดเล็กต่อไปค่ะ โดยส่วนตัวชื่นชอบที่มาของงานนี้มาก เพราะไม่เคยเห็นด้วยกับนโยบายควบรวมโรงเรียนเลยค่ะ รู้สึกว่ามันขัดต่อรัฐธรรมนูญเลยด้วยซ้ำที่ตอกย้ำว่าทางรัฐจะต้องให้ประชาชนได้เรียนอย่างทั่วถึง การยุบโรงเรียนจำนวนมากแสดงถึงความไม่ใส่ใจในการศึกษาของเด็กๆที่อยู่ห่างไกลความเจริญ เด็กที่อยู่ในหุบเขา ควรมีโรงเรียนในหุบเขาให้เค้าได้เรียน ไม่ใช่ให้เด็กเดินลงจากเขา 20 กิโลเมตรเพื่อไปเรียนในโรงเรียนที่ใหญ่กว่า แล้วอ้างว่าเด็กจะได้เรียนรู้มากขึ้นค่ะ… Continue Reading “ความพยายามไม่เคยทำให้ใครพ่ายแพ้ ความท้อแท้ไม่เคยทำให้ใครชนะ”

บาปหนัก 7 ประการของมาราธอนแรก

และแล้ว…ก็ถึงวันที่เพื่อนๆได้สมัครลงแข่งมาราธอนครั้งแรกใช่ไหมคะ เพื่อนๆตื่นเต้นเหลือเกิน และก็ยังกลัวซะด้วย เป็นเรื่องธรรมดานะคะที่เพื่อนๆจะรู้สึกกังวลนิดหน่อย ปิศาจแห่งการวิ่งมักจะทำงานด้วยวิธีการลึกลับเสมอ และถ้าระยะทาง 42 กิโลเมตรยังไม่หนักมากพอ มันจะโยนสิ่งกีดขวางเล็กๆน้อยๆมาทำให้เพื่อนๆต้องออกจากการแข่งขันไปเลยล่ะค่ะ แต่ถ้าเพื่อนๆตั้งใจฟังดีๆ เพื่อนๆจะสามารถหลีกเลี่ยงบาปหนักเหล่านั้นได้ และสามารถจบมาราธอนแรกได้โดยไม่มีอาการบาดเจ็บแต่อย่างใดค่ะ มาลองดูกันนะคะว่า บาปหนักเหล่านี้มีอะไรบ้าง ลองคิดดูนะคะว่า เพื่อนๆเพิ่งเสียเงินหลักพันเพื่อให้ได้วิ่งในการแข่งขันที่จะทำให้เหนื่อยมากเกินกว่าจะจินตนาการได้ค่ะ และนักการตลาดก็ชอบเห็นอารมณ์เหนื่อยของเพื่อนๆซะด้วยสิคะ เพราะมันเห็นได้อย่างชัดเจนเลย และสามารถหาประโยชน์จากเพื่อนๆได้อย่างง่ายดายซะด้วย อย่าปล่อยให้เขาทำได้นะคะ เพื่อนๆไม่ได้ต้องการพลังงานสำรองที่ห้อยอยู่ที่สายรัดเอวของเพื่อนๆ หรือแม้กระทั่งนาฬิกาจับเวลา นาฬิกาจับความฟิตใดๆ หรอกค่ะ แต่สิ่งเดียวที่เพื่อนๆต้องการจริงๆก็คือ ความตั้งใจจริงและความมีวินัยในตัวเองที่จะลงมือฝึกซ้อมเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ และรองเท้าสักคู่หนึ่งที่พอดีกับเท้าของเพื่อนๆ แค่นั้นเองค่ะ เพื่อนๆไม่ต้องการแม้แต่เสื้อที่ใส่บอกคนอื่นว่า “ฉันกำลังฝึกซ้อมเพื่อมาราธอน” หรอกนะคะ ทุกๆคนรู้อยู่แล้วล่ะค่ะว่าเพื่อนๆกำลังฝึกซ้อมเพื่อวิ่งมาราธอนค่ะ เชื่อเถอะค่ะ เพื่อนๆอาจดาวน์โหลดแผนการฝึกซ้อม 16 สัปดาห์และมีความมุ่นมั่นที่จะออกไปทำให้ได้ตามที่ตั้งใจ แต่หลังจากวันอันยาวนานของการฝึกซ้อม เพื่อนๆรู้สึกว่าไม่มีพลังงานเอาซะเลย แล้วจะให้ทำอย่างนี้ไปถึง 4 เดือนน่ะเหรอ ไม่ดูเหมือนว่าบ้าไปหน่อยเหรอ กับการฝึกซ้อมอันยาวนานเพื่อการแข่งขันครั้งเดียว ดังนั้น… Continue Reading “บาปหนัก 7 ประการของมาราธอนแรก”

แพทริก ดาวเนส คนขาขาดคนแรกที่วิ่งจบบอสตันมาราธอน

3 ปีที่แล้ว แพทริกสูญเสียขาซ้ายจากเหตุการณ์วางระเบิดงานบอสตันมาราธอนในขณะที่ยืนดูภรรยาของเขาใกล้จะวิ่งถึงเส้นชัยแล้ว ภาพของดาวเนสที่ใส่ขาเทียมและยกมือเหนือศีรษะขณะวิ่งข้ามเส้นชัยเส้นเดียวกันกับเพื่อนๆ ทำให้เขากลายมาเป็นคนขาขาดคนแรกที่วิ่งเข้าเส้นชัยบอสตันมาราธอนได้ด้วยเท้าของเขาเองทั้งหมดจนครบระยะทาง เขาเข้าเส้นชัยที่เวลา 14:46น. ซึ่งเป็นเวลาที่เกิดการระเบิดที่เส้นชัยในปี 2013 ด้วยเวลารวม 5:56:46 ชั่วโมง เขาเข้าสวมกอดภรรยาของเขา และยังเป็นเพื่อนที่เป็นเหยื่อระเบิดด้วยกันชื่อว่า เจสซิก้า เคนสกี้ (Jessica Kensky) “ผมวิ่งเพื่อเมืองนี้ด้วยหัวใจ” ดาวเนสบอกกับ WBZ ซึ่งเป็นรายการโทรทัศน์ของ สตีฟ เบอร์ตัน (Steve Burton) ด้วยความรู้สึกที่เต็มไปด้วยอารมณ์ต่างๆหลังจากวิ่งเข้าเส้นชัย ก่อนที่จะเติมคำพูดใดๆ เขายังคงคิดถึงเหยื่อที่เสียชีวิตในเหตุการณ์วางระเบิดและเอ่ยชื่อพวกเขาออกมา คือ มาร์ติน ริชาร์ด (Martin Richard) ลิงซี่ ลู (Ringzi Lu) คริสเทิล แคมพ์เบลล์ (Krystle Campbell) และ ซีน… Continue Reading “แพทริก ดาวเนส คนขาขาดคนแรกที่วิ่งจบบอสตันมาราธอน”