กรดแลคติค เพื่อนหรือศัตรู?

เป็นเวลาหลายปีแล้วที่กรดแลคติคทำหน้าที่เป็นปิศาจร้ายของสังคมนักวิ่ง มันได้ถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุของอาการปวดล้ากล้ามเนื้อ อาการกล้ามเนื้อแข็งตัวในช่วงสุดท้ายของการแข่งขัน หรือแม้กระทั่งเป็นต้นเหตุของอาการกล้ามเนื้อปวดเมื่อยหลังการออกกำลังกาย (DOMS: Delay Onset Muscle Soreness)
และต่อไปนี้คือการสรุปปัญหาที่กรดแลคติคเป็นสาเหตุ คำตอบก็คือไม่มีเลยค่า
แล้วกรดแลคติคนั้นได้รับสัญลักษณ์รูปกะโหลกไขว้มาได้อย่างไรคะเนี่ย? มันเริ่มต้นมาจากต้นศตวรรษที่ 20 เมื่อผู้ได้รับรางวัลโนเบลในปี 1922 ด็อกเตอร์ออตโต เมเยฮอฟ (Dr. Otto Meyehof) และด็อกเตอร์อาร์ชิบาลด์ ฮิลล์ (Dr. Archibald Hill) ได้นำเสนอการทดลองแยกกัน โดยที่พวกเขาได้ทำการช็อตไฟฟ้าไปที่ขากบที่แยกออกมาจากตัวแล้วพบว่าขากบจะกระตุกในตอนแรก และยังกระตุกอย่างต่อเนื่องจนหยุดลง เมื่อตรวจสอบหลังการกระตุก ก็พบว่าขากบนั้นเต็มไปด้วยกรดแลคติค จากการทดลองนี้จึงได้ข้อสรุปว่าเป็นเพราะกระบวนการสร้างพลังงานโดยไม่ใช้ออกซิเจนนั่นเอง เพราะขากบที่แยกออกมาจากตัวแล้ว คงไม่สามารถที่จะนำส่งออกซิเจนไปใช้ได้ ดังนั้นจึงนำไปสู่การสร้างกรดแลคติคและได้ชื่อเรียกว่า “ภาวะกรด” (Acidosis) ซึ่งปิดการหดตัวของกล้ามเนื้อโดยสิ้นเชิง ทั้งนักวิ่งและโค้ชต่างก็ยอมรับในการค้นพบครั้งนี้ และใช้เวลาอีกกว่า 6 ทศวรรษต่อมาหาทางฝึกซ้อมเพื่อเอาชนะผลของกรดแลคติคค่ะ

ทัศนคติต่อกรดแลคติคได้ถูกทำให้สั่นสะเทือนครั้งใหญ่ในปี 1985 เมื่อนักสรีระวิทยาจากเบิร์กลีย์ ด็อกเตอร์จอร์จ เอ บรู๊คส์ (Dr. George A. Brooks) ได้แสดงให้เห็นว่าแลคเตท (กรดแลคติคที่ตัดไฮโดรเจนอิออนออก) ในความเป็นจริงแล้วควรได้รับรางวัลว่าเป็นพลังงานให้กับเส้นใยกล้ามเนื้อ ไม่ใช่เพชรฆาตการหดตัวของกล้ามเนื้อค่ะ
ในขณะที่ก่อนหน้านี้กรดแลคติคได้รับการยอมรับว่าเป็นผลิตผลที่เกิดจากกระบวนการสร้างพลังงานแบบไม่ใช้ออกซิเจน แต่ในปัจจุบันได้ยอมรับแล้วว่ากรดแลคติคนั้นจะสลายออกเป็นแลคเตท และไฮโดรเจนอิออนโดยทันที แลคเตทนั้นเป็นของดี ส่วนไฮโดรเจนอิออนนั้นอยู่เบื้องหลังภาวะกรดซึ่งเป็นส่วนไม่ดีนั่นเอง แต่กรดแลคติคนั้นอาจยังคงเป็นตัวร้ายในทางอ้อมได้ค่ะ
งานวิจัยในปี 2004 ด็อกเตอร์โรเบิร์ต เอ โรเบิร์กส์ (Dr.Robert A. Robergs) และกลุ่ม ได้สั่นสะเทือนความเชื่อเดิมครั้งที่สองของกรดแลคติค ด็อกเตอร์โรเบิร์ตกล่าวว่ากรดแลคติคไม่ได้ถูกสร้างขึ้นในช่วงการสร้างพลังงานโดยไม่ใช้ออกซิเจน นอกเหนือจากนั้น ไฮโดรเจนอิออนก็ยังเพิ่มจำนวนขึ้นแยกต่างหากจากแลคเตท มากไปกว่านั้นอีก ก็คือ จริงๆแล้วแลคเตทช่วยลดภาวะกรดโดยการบริโภคไฮโดรเจนอิออน และจับคู่กับพวกมันและนำส่งโดยโปรตีนออกไปที่เส้นใยกล้ามเนื้อด้วย นักชีวเคมีและผู้เขียนตำรานามว่าด็อกเตอร์ลอเรนซ์ เอ โมแรน (Dr.Laurence A. Moran) ได้สนับสนุนผลสรุปนี้และเขียนลงในบล็อคของเขาเองที่ชื่อ Sandwalk ว่า “จุดสำคัญคือกรดแลคเตทไม่ได้ถูกสร้างในกล้ามเนื้อ ดังนั้นมันจึงไม่สามารถเป็นต้นเหตุของภาวะกรดได้”
เร็วๆนี้ โดยตัวภาวะกรดเองนั้นได้ถูกท้าทายว่าเป็นสาเหตุของอาการล้า ในงานวิจัยปี 2008 แมคเคนน่า (McKenna) และฮากรีฟ (Hargreaves) ได้เขียนไว้ว่า “อาการล้าระหว่างการออกกำลังกายสามารถมองว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายๆอวัยวะ หลายๆเซลล์ และหลายๆโมเลกุลในร่างกาย”
ไม่ว่าคำตัดสินเกี่ยวกับอาการล้าจะเป็นอย่างไร ผลสรุปหนึ่งที่เชื่อได้คือ กรดแลคติคไม่ใช่ไม่ดี แต่จริงๆแล้วเป็นแหล่งพลังงาน ส่วนไฮโดรเจนอิออนเป็นสาเหตุของภาวะกรด และนักวิ่งที่ฉลาดจะต้องฝึกซ้อมเพื่อใช้ประโยชน์จากมัน และจนกว่าจะมีงานวิจัยที่ดีและเข้มแข็งพอที่จะยืนยันความเป็นจริง อย่างน้อยก็เชื่อสิ่งที่มีอยู่ไปก่อนค่ะ
ขอให้เพื่อนนักวิ่งได้ฝึกการบริโภคแลคเตทกันให้มากๆนะคะ

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: